กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see

มาใหม่อีกลูก "เฟืองท้ายแต่ง Skyline R32 nismo lsd 4.1"

  • เริ่มกระทู้โดย เริ่มกระทู้โดย A31418
  • วันที่เริ่มกระทู้ วันที่เริ่มกระทู้

A31418

Moderator
Registered
"เฟืองท้าย Skyline R32 nismo lsd 4.1" เพลาข้าง 5 แฉก ตรูด 4 น๊อต มาอีกแล้ว ลูกละ (ขายแล้ว)
new2.gif

Cef@non ลอง/'/
085-000-0042
 

ไฟล์แนบ

  • DSC09108.JPG
    DSC09108.JPG
    102.7 KB · อ่าน: 419
แก้ไขล่าสุดเมื่อ:


สนใจครับพี่ ว่าแต่เต็ดกี่เปอร์เซ็นครับ ส่งไปรษณีย์จะได้รึเปล่าครับพี่
 
สนใจครับพี่ ว่าแต่เต็ดกี่เปอร์เซ็นครับ ส่งไปรษณีย์จะได้รึเปล่าครับพี่

จากที่รู้จับกี่เปอร์เซนต์ อันนี้คงตอบไม่ได้ เพราะโดยเอกสารที่ศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้บอกว่าเต็ดแต่ละลูกหรือแต่ละยี่ห้อจับเป็นเปอร์เซนต์เท่าไหร่ เพียงแต่บอกว่าเป็นลักษณะ 1 WAY 1.5 WAY 2 WAY ก่อนตัดสินใจลองมาทำความเข้าใจหลักคร่าวของ LSD ก่อนดีกว่า

หลักการทำงานของลิมิตเต็ดสลิป lsd ใช้สำหรับให้ล้อหลังทั้งสองล้อซ้ายและขวามีแรงเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน หมายถึงเมื่อล้อข้างใดข้างหนึ่งหมุนฟรีกำลังขับเคลื่อนจะถูกส่งจากล้อที่หมุนเร็วกว่าไปยังล้อที่หมุนช้ากว่า ทำให้ล้อที่หมุนฟรีอยู่มีลดกำลังขับเคลื่อนลง ขณะที่ล้ออีกข้างหนึ่งจะมีกำลังขับเคลื่อนมากกว่า ทำให้สามารถพารถเคลื่อนตัวต่อไปได้ โดยมีการออกแบบมาหลายลักษณะ แต่โดยรวมจะให้มีการส่งกำลังขับมายังล้อที่อยู่ตรงข้ามกับล้อที่หมุนฟรี เพื่อช่วยพยุงซึ่งกันและกันระหว่างล้อซ้ายและขวา วิธีที่ใช้คือใช้ความฝืดของแผ่นครัทซ์เปียกซ้อนกันหลายแผ่นเป็นตัวควบคุมกำลังขับเคลื่อนไปยังล้อทั้งคู่โดยออกแบบภายในชุดตัวเรือนเฟืองดอกจอกให้มีชุดครัทซ์เป็นตัวส่งกำลังร่วมอยู่ที่ด้านหลังเฟืองดอกจอกตัวใหญ่หรือเฟืองหัวเพลาขับทั้ง2ข้างแทนที่จะส่งกันโดยตรงเพียงอย่างเดียวในเฟืองท้ายปกติทั่วไป และมีกลไกที่ทำให้ครัทซ์จับตัวเช่น ใช้สปริงกดเมื่อมีการลื่นไถลของล้อข้างใดข้างหนึ่งทำให้เกิดการส่งกำลังขับเคลื่อนไปที่ล้อทั้งคู่ หรือใช้แรงบิดจากระบบส่งกำลังมาทำให้ครัทซ์จับตัว หรือ แบบสปริงกดกระทำกับเฟืองแบบจานประกบกันและสวมกับหัวเพลาขับ เมื่อมีการเลี้ยวหรือล้อทั้ง2ข้างหมุนไม่เท่ากัน เฟืองที่ประกบกันอยู่จะแยกออกจากกัน ซึ่งจะทำให้เกิดเสียงดังจากการที่ร่องฟันเฟืองหมุนเสียดสีกัน

ทีนี้เวลาเต็ดจับตลอดเวลาคือล้อซ้ายและขวาหมุนเท่ากันตลอดเวลาคือเต็ดล๊อคตลอด เรามักเข้าใจเอาเองว่าเป็นเต็ด 100 % ข้อดีคือไม่มีการสูญเสียกำลังให้ล้อฟรีทั้ง 2 ล้อ แต่ข้อเสียคือ ถ้าใช้ในชีวิตประจำวันคงลำบากหน่อย เลี้ยวยาก มีเสียง ดัง ยางสึก โดยไม่จำเป็น แต่เหมาะสำหรับการแข่งขันทั้งดริฟท์ทั้งควอเตอร์ไมล์ แหล่มสุด

แต่ถ้าเต็ดมีการคลายการจับบ้างเราก็เข้าใจเอาเองว่าเป็นเต็ด 80 % หรือเป็นเต็ด 30% 40% หรือบางคนก็บอก 25% สุดท้ายเลยจริงๆ แล้วมันมาจากอะไรที่บอกว่าเต็ดกี่ % เอาอะไรบ่งชี้ % ของเต็ด ปัจจุบันไม่มีใครยืนยันได้ แต่ช่างมันเถอะเอาเป็นว่าถ้ามันต่ำกว่า 100% คือมันจับน้อยลงมาหน่อยก็สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้ดีกว่า 100% แน่นอน

ทีนี้คงต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานของเราเองว่าจะใช้งานอย่างไร ใช้ในชีวิตประจำวันหรือใช้แข่งขัน

หลักการ LSD 1way 1.5way 2way แตกต่างกันยังไง ลองดูครับ
Limeted slip ทั้ง 3 แบบนั้นเป็น Limited slip แบบที่ใช้แผ่นครัทซ์เปียกเป็นตัวล็อคเพลาข้างทั้งสอง ซึ่งหลักการทำงานคือ เมื่อมีแรงบิดจากเครื่องยนต์กระทำสู่ชุดเรือนเฟืองดอกจอกที่มีตัว Limited slip อยู่ แรงบิดจะทำให้ตัวกดแผ่นครัทซ์นั้นถ่างออก ทำให้ไปกดแผ่นครัทซ์ให้ล็อคกัน ก็จะทำให้เพลาข้างทั่ง 2 ด้าน ล็อค และหมุนไปพร้อมๆ กันโดยไม่มีการสูญเสียกำลังไปยังด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งแต่ละแบบนั้นมีหลักการทำงานคล้ายกันแต่ต่างกันตรงที่ลักษณะการส่งแรงบิด

แบบ 1 Way
แบบนี้จะเป็น Limited slip ที่มีการจับตัวกันของแผ่นคลัทซ์ โดยแผ่นคลัทซ์จะจับตัวกันเมื่อมีแรงบิดจากเครื่องยนต์ในทิศทางเดียวเท่านั้น คือ เข้าเกียร์เดินหน้า แล้วกดคันเร่งส่งแรงบิดไปยังเฟืองท้าย
พูดง่ายๆ เมื่อ กดเร่งมากเท่าไหร่ ครัทซ์ก็ยิ่งจับมากขึ้นเท่านั้น

แบบ 2 Way
แบบนี้ การทำงานก็จะคล้ายๆ กับแบบ 1 Way แต่ว่า แบบ 2 Way นั้นแผ่นคลัทซ์สามารถจับตัวกันได้ขณะเครื่องยนต์ส่งแรงบิดมายังชุดเรือนเฟืองดอกจอก ในทิศทางการหมุน ทั้ง 2 ทิศทาง (เดินหน้าและถอยหลัง) แรงที่กดแผ่นครัทซ์จะจับตัวด้วยแรงที่เท่ากัน ทั้งสองทิศทาง
พูดง่ายๆ คือ Limited slip จะทำงานก็ต่อเมื่อ กดคันเร่งเดินหน้า, ถอยหลัง หรือแม้แต่ขณะถอนคันเร่งให้เกิด Engine Brake (แรงหน่วงจากเครื่องยนต์ก็จะทำให้เกิดการกดของแผ่นครัทซ์ด้วย)

แบบ 1.5 Way
แบบนี้ก็เหมือนกับแบบ 2 Way คือจะทำงานได้ในขณะที่มีแรงบิด ได้ทั้ง 2 ทิศทาง แต่แรงกดของแผ่นคลัทซ์ในขณะถอยหลัง หรือ ขณะถอนคันเร่งให้เกิด Engine brake นั้น จะน้อยกว่าแรงกดขณะที่กดคันเร่งตอนเดินหน้า เพราะว่ามุมที่ทำให้ตัวกดแผ่นครัทซ์ถ่างออกตอนถอยหลังนั้น น้อยกว่า มุม ตอนเดินหน้า ก็ จะทำให้แรงกดนั้นน้อยกว่า

attachment.php


สุดท้ายเข้าประเด็นเพราะกล่อมมาเยอะแล้ว (ยังกับขายประกัน) ถ้าสนใจ Nismo ลูกนี้ จะเป็นประเภทใช้งานในชีวิตประจำวันได้ แข่งขันก็ดีในระดับหนึ่ง (คือประเภทมือใหม่อะไรแบบนี้ ไม่ใช่มืออาชีพ) เอาเป็นว่าราคานี้พร้อมส่งขอนแก่นทางไปรษณีย์ครับ รับของที่ ปณ.ขอนแก่น ครับ ตัดสินใจอย่างไรก็กริ้งๆ กร้างๆ มาล่ะกันครับ
Cef@non ลอง/'/
085-000-0042


 

ไฟล์แนบ

  • lsdaction.lsd.gif
    lsdaction.lsd.gif
    18.2 KB · อ่าน: 985
จากที่รู้จับกี่เปอร์เซนต์ อันนี้คงตอบไม่ได้ เพราะโดยเอกสารที่ศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้บอกว่าเต็ดแต่ละลูกหรือแต่ละยี่ห้อจับเป็นเปอร์เซนต์เท่าไหร่ เพียงแต่บอกว่าเป็นลักษณะ 1 WAY 1.5 WAY 2 WAY ก่อนตัดสินใจลองมาทำความเข้าใจหลักคร่าวของ LSD ก่อนดีกว่า

หลักการทำงานของลิมิตเต็ดสลิป lsd ใช้สำหรับให้ล้อหลังทั้งสองล้อซ้ายและขวามีแรงเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน หมายถึงเมื่อล้อข้างใดข้างหนึ่งหมุนฟรีกำลังขับเคลื่อนจะถูกส่งจากล้อที่หมุนเร็วกว่าไปยังล้อที่หมุนช้ากว่า ทำให้ล้อที่หมุนฟรีอยู่มีลดกำลังขับเคลื่อนลง ขณะที่ล้ออีกข้างหนึ่งจะมีกำลังขับเคลื่อนมากกว่า ทำให้สามารถพารถเคลื่อนตัวต่อไปได้ โดยมีการออกแบบมาหลายลักษณะ แต่โดยรวมจะให้มีการส่งกำลังขับมายังล้อที่อยู่ตรงข้ามกับล้อที่หมุนฟรี เพื่อช่วยพยุงซึ่งกันและกันระหว่างล้อซ้ายและขวา วิธีที่ใช้คือใช้ความฝืดของแผ่นครัทซ์เปียกซ้อนกันหลายแผ่นเป็นตัวควบคุมกำลังขับเคลื่อนไปยังล้อทั้งคู่โดยออกแบบภายในชุดตัวเรือนเฟืองดอกจอกให้มีชุดครัทซ์เป็นตัวส่งกำลังร่วมอยู่ที่ด้านหลังเฟืองดอกจอกตัวใหญ่หรือเฟืองหัวเพลาขับทั้ง2ข้างแทนที่จะส่งกันโดยตรงเพียงอย่างเดียวในเฟืองท้ายปกติทั่วไป และมีกลไกที่ทำให้ครัทซ์จับตัวเช่น ใช้สปริงกดเมื่อมีการลื่นไถลของล้อข้างใดข้างหนึ่งทำให้เกิดการส่งกำลังขับเคลื่อนไปที่ล้อทั้งคู่ หรือใช้แรงบิดจากระบบส่งกำลังมาทำให้ครัทซ์จับตัว หรือ แบบสปริงกดกระทำกับเฟืองแบบจานประกบกันและสวมกับหัวเพลาขับ เมื่อมีการเลี้ยวหรือล้อทั้ง2ข้างหมุนไม่เท่ากัน เฟืองที่ประกบกันอยู่จะแยกออกจากกัน ซึ่งจะทำให้เกิดเสียงดังจากการที่ร่องฟันเฟืองหมุนเสียดสีกัน

ทีนี้เวลาเต็ดจับตลอดเวลาคือล้อซ้ายและขวาหมุนเท่ากันตลอดเวลาคือเต็ดล๊อคตลอด เรามักเข้าใจเอาเองว่าเป็นเต็ด 100 % ข้อดีคือไม่มีการสูญเสียกำลังให้ล้อฟรีทั้ง 2 ล้อ แต่ข้อเสียคือ ถ้าใช้ในชีวิตประจำวันคงลำบากหน่อย เลี้ยวยาก มีเสียง ดัง ยางสึก โดยไม่จำเป็น แต่เหมาะสำหรับการแข่งขันทั้งดริฟท์ทั้งควอเตอร์ไมล์ แหล่มสุด

แต่ถ้าเต็ดมีการคลายการจับบ้างเราก็เข้าใจเอาเองว่าเป็นเต็ด 80 % หรือเป็นเต็ด 30% 40% หรือบางคนก็บอก 25% สุดท้ายเลยจริงๆ แล้วมันมาจากอะไรที่บอกว่าเต็ดกี่ % เอาอะไรบ่งชี้ % ของเต็ด ปัจจุบันไม่มีใครยืนยันได้ แต่ช่างมันเถอะเอาเป็นว่าถ้ามันต่ำกว่า 100% คือมันจับน้อยลงมาหน่อยก็สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้ดีกว่า 100% แน่นอน

ทีนี้คงต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานของเราเองว่าจะใช้งานอย่างไร ใช้ในชีวิตประจำวันหรือใช้แข่งขัน

หลักการ LSD 1way 1.5way 2way แตกต่างกันยังไง ลองดูครับ
Limeted slip ทั้ง 3 แบบนั้นเป็น Limited slip แบบที่ใช้แผ่นครัทซ์เปียกเป็นตัวล็อคเพลาข้างทั้งสอง ซึ่งหลักการทำงานคือ เมื่อมีแรงบิดจากเครื่องยนต์กระทำสู่ชุดเรือนเฟืองดอกจอกที่มีตัว Limited slip อยู่ แรงบิดจะทำให้ตัวกดแผ่นครัทซ์นั้นถ่างออก ทำให้ไปกดแผ่นครัทซ์ให้ล็อคกัน ก็จะทำให้เพลาข้างทั่ง 2 ด้าน ล็อค และหมุนไปพร้อมๆ กันโดยไม่มีการสูญเสียกำลังไปยังด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งแต่ละแบบนั้นมีหลักการทำงานคล้ายกันแต่ต่างกันตรงที่ลักษณะการส่งแรงบิด

แบบ 1 Way
แบบนี้จะเป็น Limited slip ที่มีการจับตัวกันของแผ่นคลัทซ์ โดยแผ่นคลัทซ์จะจับตัวกันเมื่อมีแรงบิดจากเครื่องยนต์ในทิศทางเดียวเท่านั้น คือ เข้าเกียร์เดินหน้า แล้วกดคันเร่งส่งแรงบิดไปยังเฟืองท้าย
พูดง่ายๆ เมื่อ กดเร่งมากเท่าไหร่ ครัทซ์ก็ยิ่งจับมากขึ้นเท่านั้น

แบบ 2 Way
แบบนี้ การทำงานก็จะคล้ายๆ กับแบบ 1 Way แต่ว่า แบบ 2 Way นั้นแผ่นคลัทซ์สามารถจับตัวกันได้ขณะเครื่องยนต์ส่งแรงบิดมายังชุดเรือนเฟืองดอกจอก ในทิศทางการหมุน ทั้ง 2 ทิศทาง (เดินหน้าและถอยหลัง) แรงที่กดแผ่นครัทซ์จะจับตัวด้วยแรงที่เท่ากัน ทั้งสองทิศทาง
พูดง่ายๆ คือ Limited slip จะทำงานก็ต่อเมื่อ กดคันเร่งเดินหน้า, ถอยหลัง หรือแม้แต่ขณะถอนคันเร่งให้เกิด Engine Brake (แรงหน่วงจากเครื่องยนต์ก็จะทำให้เกิดการกดของแผ่นครัทซ์ด้วย)

แบบ 1.5 Way
แบบนี้ก็เหมือนกับแบบ 2 Way คือจะทำงานได้ในขณะที่มีแรงบิด ได้ทั้ง 2 ทิศทาง แต่แรงกดของแผ่นคลัทซ์ในขณะถอยหลัง หรือ ขณะถอนคันเร่งให้เกิด Engine brake นั้น จะน้อยกว่าแรงกดขณะที่กดคันเร่งตอนเดินหน้า เพราะว่ามุมที่ทำให้ตัวกดแผ่นครัทซ์ถ่างออกตอนถอยหลังนั้น น้อยกว่า มุม ตอนเดินหน้า ก็ จะทำให้แรงกดนั้นน้อยกว่า
attachment.php


สุดท้ายเข้าประเด็นเพราะกล่อมมาเยอะแล้ว (ยังกับขายประกัน) ถ้าสนใจ Nismo ลูกนี้ จะเป็นประเภทใช้งานในชีวิตประจำวันได้ แข่งขันก็ดีในระดับหนึ่ง (คือประเภทมือใหม่อะไรแบบนี้ ไม่ใช่มืออาชีพ) เอาเป็นว่าราคานี้พร้อมส่งขอนแก่นทางไปรษณีย์ครับ รับของที่ ปณ.ขอนแก่น ครับ ตัดสินใจอย่างไรก็กริ้งๆ กร้างๆ มาล่ะกันครับ
Cef@non ลอง/'/
085-000-0042

ขอขอบพระคุณพี่ลองอย่างสูงครับที่ชี้แจงจนผมเข้าใจครับ
ขออภัยที่ตอบกลับช้าครับช่วงนี้อยู่โรงทานงานวัดบ้านตาดครับ
4.1ลูกนี้ผมขอมาใช้ครับ วันจัทร์นี้พี่ลองส่งของได้เลยครับ
ปล.มีผู้ใหญ่ชี้แนะแบบนี้ไม่ลองไม่ได้แล้วครับ มีโอกาศขอเข้าไปคารวะซักจอกครับพี่:coolly-0033:
 

กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see
ด้านบน