กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see

ประกันสังคมควรทราบ

  • เริ่มกระทู้โดย เริ่มกระทู้โดย A31728
  • วันที่เริ่มกระทู้ วันที่เริ่มกระทู้

A31728

Cefiro-Thailand Members
ใครทำงานบริษัท,ห้างร้าน และมีการหักเงินประกันควรรู้ครับ...
attachment.php
 

ไฟล์แนบ

  • untitled.jpg
    untitled.jpg
    142.3 KB · อ่าน: 236
แก้ไขล่าสุดเมื่อ:


ขอบคุณมากคับน้า สำหรับข้อมูลดีๆมีสาระแบบนี้..:coolly-0009:
 
ไม่ได้ทำงานมานานแล้ว ไม่ได้ส่งมานานแล้ว ไม่รู้ว่าจะส่งต่อได้มั๊ย แล้วต้องทำงัย
เฮ้ออออ
 
ถ้าครอบคลุมกรณีเจ็บป่วย ทำฟัน ฯลฯ
น้าต้องยื่นประกันตนใหม่ผ่านบริษัทอย่างน้อย 12 เดือน ตามมาตรา 39
ถึงจะมีสิทธิ์ส่งตัวเองได้แบบไม่ผ่านบริษัทตามมาตรา 33 สิทธิ์ที่ได้รับจะเท่ากัน

หรือจะประกันตัวเองเลยก็ได้ตามมาตรา 40 แต่สิทธิ์ที่ได้รับมีแค่คลอดบุตร??? ทุพลภาพ, ตาย
 
ถ้าครอบคลุมกรณีเจ็บป่วย ทำฟัน ฯลฯ
น้าต้องยื่นประกันตนใหม่ผ่านบริษัทอย่างน้อย 12 เดือน ตามมาตรา 39
ถึงจะมีสิทธิ์ส่งตัวเองได้แบบไม่ผ่านบริษัทตามมาตรา 33 สิทธิ์ที่ได้รับจะเท่ากัน

หรือจะประกันตัวเองเลยก็ได้ตามมาตรา 40 แต่สิทธิ์ที่ได้รับมีแค่คลอดบุตร??? ทุพลภาพ, ตาย
จ่ายเท่ากัน แค่ไม่ผ่านบริษัท ทำไมสิทธิไม่เท่ากันฟร่ะ
หรือเพราะบริษัทมันออกให้อีกครึ่งนึงด้วย
 
จ่ายเท่ากัน แค่ไม่ผ่านบริษัท ทำไมสิทธิไม่เท่ากันฟร่ะ
หรือเพราะบริษัทมันออกให้อีกครึ่งนึงด้วย
ประมาณนั้นเท่าที่รู้มา...ไม่ได้ทำงานบริษัทเหมือนกัน:coolly-0033:
 
ไม่ได้ทำงานมานานแล้ว ไม่ได้ส่งมานานแล้ว ไม่รู้ว่าจะส่งต่อได้มั๊ย แล้วต้องทำงัย
เฮ้ออออ


เห็นว่า กำลังสามารถส่งเงินต่อเนื่องได้สำหรับคนที่ยื่นปกส.ตนเองขาด

แต่ปกสกำลังดำเนินเรื่องอยู่ ยังไม่ได้ตาม

ที่ประกันตนเองเหลื่อมล้ำ กับประกันบริษัทก็ด้วยเรื่องว่างงาน หนึ่งเรื่องแล้วละ

ถ้าไม่ลืมจะหาข้อมูลล้ำๆมาใหม่วันนี้ปวดหัว แต่บังเอิญผ่านมาอ่าน

เลยตอบเท่าที่จำได้อ่ะคะ่ :coolly-0011::coolly-0011:
 
เห็นว่า กำลังสามารถส่งเงินต่อเนื่องได้สำหรับคนที่ยื่นปกส.ตนเองขาด

แต่ปกสกำลังดำเนินเรื่องอยู่ ยังไม่ได้ตาม

ที่ประกันตนเองเหลื่อมล้ำ กับประกันบริษัทก็ด้วยเรื่องว่างงาน หนึ่งเรื่องแล้วละ

ถ้าไม่ลืมจะหาข้อมูลล้ำๆมาใหม่วันนี้ปวดหัว แต่บังเอิญผ่านมาอ่าน

เลยตอบเท่าที่จำได้อ่ะคะ่ :coolly-0011::coolly-0011:
ตอบได้รู้เรื่องมากเลยจ๊ะ
 
เอามาให้ดูกันครับ เผื่อว่าจะชัดเจนกันขึ้น

ผู้ประกันตนมาตรา 33 หมายถึง บุคคลซึ่งทำงานอยู่กับนายจ้าง เมื่อได้รับค่าจ้างนายจ้างไม่ว่าจะเป็นรายวันหรือรายเดือน รายเหมา นายจ้างจะนำฐานค่าจ้างที่ได้รับต่อเดือนมาเป็นฐานการคำนวณเงินสมทบนำส่งกองทุนประกันสังคมโดยฐานค่าจ้างต่ำสุดอยู่ที่ 1,650 (เฉพาะกรณีทำงานไม่นานก็ออก) และสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยหักส่วนของลูกจ้าง 5% และนายจ้างสมทบ 5% โดยลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครองจากทั้ง 2 กองทุนประกอบด้วย กองทุนประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน (นายจ้างจ่ายฝ่ายเดียว)
สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากกองทุนประกันสังคม
1.กรณีเจ็บป่วย
http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?lang=th&cat=602
2. กรณีคลอดบุตร
http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?lang=th&cat=603
3. กรณีทุพพลภาพ
http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?lang=th&cat=604
4. กรณีสงเคาระห์บุตร
http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?lang=th&cat=605
5. กรณีชราภาพ
http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?lang=th&cat=606
6. กรณีว่างงาน
http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?lang=th&cat=607
7. กรณีเสียชีวิต
http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?lang=th&cat=608

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากกองทุนเงินทดแทน
1. กรณีประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน
http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?lang=th&cat=186
2. กรณีทุพพลภาพเนื่องจากการทำงาน
http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?lang=th&cat=185
3. กรณีตายหรือสูญหายเนื่องจากการทำงาน
http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?lang=th&cat=188

ผู้ประกันตนมาตรา 39 เมื่อลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ลาออกจากงาน ลูกจ้างยังคงได้รับความคุ้มครอง 4 กรณี คือ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และตาย จากการประกันสังคมต่อไปอีก 6 เดือน อัตราเงินสมทบต่อเดือนคำนวณจากฐานค่าจ้าง 4,800*9% เดือนละ 432 บาท
หากลูกจ้างมีความประสงค์จะได้รับความคุ้มครองจากประกันสังคมต่อไปหลังจากออกจากงาน ก็สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา39 ได้ภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
คุณสมบัติของผู้สมัคร
1. เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน
2. ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม
สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ
1. ได้รับความคุ้มครอง รวม 6 กรณีไดแก่ กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตายไม่เนื่องจากการทำงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร และชราภาพ ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
2. การใช้การบริการทางการแพทย์ ในกรณีเจ็บป่วย จะได้รับบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล ซึ่งได้ระบุสถานพยาบาลตามที่ได้เลือกไว้
เหตุที่ทำให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสภาพ
1. ไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือน ติดต่อกัน (สิ้นสภาพตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่ส่งเงินสมทบ)
2. ลาออก
3. กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
4. ตาย
5. ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน
สิทธิประโยชน์ที่ได้รับภายหลังจากการสิ้นสภาพ
- การสิ้นสภาพตามข้อ 1,2 และ 5 จะได้รับการคุ้มครองเฉพาะกรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และตาย ต่อไปอีก 6 เดือน นับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน ทั้งนี้ต่อเมื่อผู้ประกันตนได้นำส่งเงินสมทบจนครบเงื่อนเวลาที่ก่อให้เกิดสิทธิในแต่ละกรณีแล้ว
- การสิ้นสภาพตามข้อ 3 สามารถนับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบต่อเนื่องได้ทุกกรณี
- การสิ้นสภาพตามข้อ 4 และมีบุตรที่อยู่ระหว่างการได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรจะได้รับเงินสงเคราะห์ต่อเนื่องจนบุตรอายุ
ครบ
6 ปีบริบูรณ์

ผู้ประกันตนมาตรา 40 คือบุคคลอื่นใดซึ่งมิใช่ลูกจ้างตาม มาตรา 33 จะสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน ตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้ โดยให้แสดงความจำนงต่อสำนักงาน

คุณสมบัติ
อายุ 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์
ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33

สิทธิประโยชน์
1 กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย จ่ายเงินสมทบแล้ว 3 เดือนภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยและเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลประเภทผู้ป่วยในตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ครั้งละ 1,000 บาทปีละไม่เกิน 2 ครั้ง (การรักษาพยาบาลให้ใช้สิทธิการรักษาฟรีจากบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า(บัตรทอง)

2. กรณีคลอดบุตร จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 9 เดือนภายในระยะเวลา 12 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร จะได้รับเงินสงเคราะห์กรณีคลอดบุตรครั้งละ 3,000 บาทคนละไม่เกิน 2 ครั้ง(ได้รับสิทธิคลอดบุตรฟรีจากบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า(บัตรทอง)

3. กรณีทุพพลภาพ จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 36 เดือน ภายในระยะเวลา 60 เดือนก่อนเดือนที่ ทุภพพลภาพ จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้เดือนละ 1,000 บาทเป็นระยะเวลา 15 ปี ในระหว่างที่รับเงินทดแทนการขาดรายได้ หากรับไม่ครบ 15 ปี แล้วถึงแก่ความตายผู้จัดการศพมีสิทธิได้รับเงินค่าทำศพ จากสำนักงานประกันสังคม 30,000 บาท (สามารถใช้สิทธิการรักษาพยาบาลฟรีจากบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า(บัตรทอง)

4. กรณีตาย จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 3 เดือนภายใน 6 เดือนก่อนเดือนที่เสียชีวิต โดยผู้จัดการศพจะได้รับค่าทำศพ 30,000 บาทจากสำนักงานประกันสังคม

5. กรณีชราภาพ เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์และแสดงความจำนงไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนมาตรา40 ต่อไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินที่จ่ายสมทบสะสมเข้ากองทุนเดือนละ 100 บาท พร้อมดอกผล (เฉพาะเดือนที่นำส่งเงินสมทบ) แต่หากผู้ประกันตนเสียชีวิตก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ สำนักงานประกันสังคมจะคืนเงินบำเหน็จชราภาพที่สะสมพร้อมดอกผลนี้ให้กับทายาทของผู้ประกันตน

การจ่ายเงินสมทบ เดือนละ 280 บาท หรือปีละ 3,360 บาท สามารถจ่ายเงินสมทบล่วงหน้าได้ไม่เกิน 12 เดือน ไม่มีการจ่ายเงินสมทบย้อนหลัง การสมัครครั้งแรกต้องสมัครที่สำนักงานประกันสังคมและจ่ายเงินสมทบทันทีด้วยตนเอง







 

กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see
ด้านบน