กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see

ไม่รู้จะทำประกันชั้น 1 ที่ไหน? ถามเราสิค๊ะ/ลงประกาศขายกับเราวันนี้ ปักหมุดฟรี 3 เดือน

  • เริ่มกระทู้โดย เริ่มกระทู้โดย kook001
  • วันที่เริ่มกระทู้ วันที่เริ่มกระทู้
ศูนย์บริการมั่นใจได้.....แต่(มักจะ)แพง

คุณต้องเข้าใจว่าศูนย์บริการนั้นเป็นตัวทำกำไรสำคัญของผู้จำหน่ายรถยนต์ทุกราย หลักในการให้บริการ มักถูกประยุกต์จากต้นกำเนิดบริษัทแม่ซึ่งคำนวณอายุการใช้งานเฉลี่ยของทุกชิ้นส่วนไว้แล้ว แต่ผู้ใช้รถยนต์ชาวไทยมักใช้วิธีเสียแล้วค่อยเปลี่ยนซึ่งถือว่าผิดหลักการอยู่บ้างแต่ก็ช่วยเซฟเงินในกระเป๋าไว้ได้ การนำรถยนต์เข้าศูนย์บริการเมื่อพ้นระยะรับประกัน ควรแจ้งความประสงค์ให้ชัดเจนว่าตรวจสอบว่ามีอะไหล่ชิ้นไหนที่เสียและให้ช่างแจ้งราคาก่อนลงเมื่อเปลี่ยนทุกครั้งไม่ควรบอกช่างว่าถ้าเจออะไหล่ชิ้นไหนเสียก็ให้เปลี่ยนได้เลย เพราะช่างจะเปลี่ยนอะไหล่ของรถคุณชนิดที่ราคาออกอาจจะเป็นลมเพราะอะไหล่บางชิ้นนั้นถึงแม้ว่าอาจจะเสื่อมลงบ้างแต่ก็ยังใช้งานได้อยู่หรือไม่ก็อาจจะหมดอายุการใช้งานแล้วแต่คุณใช้รถมาอย่างทะนุถนอมก็อาจจะใช้งานได้อีก แต่ถ้าช่างได้ยินที่คุณบอกให้เปลี่ยนไปเลยเข้าก็จะเปลี่ยนให้ใหม่หมด (อย่าลืมว่าศูนย์บริการคือตัวทำกำไรของผู้จำหน่าย)

แต่ถึงกระนั้นการเข้าศูนย์บริการก็มีข้อดีอยู่ที่มีการรับประกันทั้งคุณภาพการซ่อมและอะไหล่ที่มั่นใจได้ แต่บางครั้งอาจจะมีอะไหล่ที่ราคาถูกมีคุณภาพแต่เราก็อาจจะไม่ได้ใช้โดยรวมเมื่อเอาเข้าศูนย์จึงมีราคาแพงและเจ้าของไม่ได้เข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด


อู่ทั่วไปมีหลายระดับ....คุณก็เลือกเองได้

อู่ทั่วไปนั้นแบ่งเป็นหลายระดับ ผลงานในการซ่อมไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่บริการและเครื่องมือเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับฝีมือของช่างและคุณภาพของอะไหล่ด้วย ไม่ควรเลือกอู่ที่ขาดอุปกรณ์มาตรฐานที่จำเป็นหรือสกปรกไปด้วยฝุ่นทรายคราบน้ำมันจนเกินไป บางอู่อาจสร้างความประทับใจด้วยการคิดค่าแรงต่ำแล้วเอากำไรด้วยการบวกค่าอะไหล่แทน บางครั้งอาจจะบวกค่าอะไหล่เกิน 100 % ด้วยซ้ำ หากคุณสงสัยให้ลองโทรสอบถามร้านอะไหล่อื่นๆแต่อย่าไปอ้างถึงศูนย์ที่ไปซ่อมเด็ดขาด หรือไม่ก็ลองเช็คราคาจากหลายๆแห่ง

ในส่วนของความคุ้มค่ากับการใช้อู่ทั่วไปให้เน้นที่ผลงานการซ่อม คุณภาพ และราคาอะไหล่ รวมถึงการคิดราคาอย่างตรงไปตรงมา อีกเรื่องที่สำคัญและไม่ควรมองข้ามก็คือการเช็คสภาพรถของคุณก่อนเข้าอู่ว่าอยู่ในสภาพไหน เลขไมล์ที่เท่าไหร่เพราะบางอู่อาจจะมีช่างที่แอบเอารถลูกค้าออกไปใช้งานหลังจากซ่อมเสร็จหรือบางทีอาจจะทำให้อุปกรณ์ของเราเสียไปด้วย ฉะนั้นควรจดจำและตรวจให้รอบคอบเสียก่อนว่ารถของคุณก่อนและหลังเข้าซ่อมนั้นมีอะไรที่เสียหายหรือแปลกไปบ้างจะได้อ้างกับเจ้าของอู่ได้
 


ศูนย์ซ่อมอิสระ.....ทางเลือกใหม่ของผู้ใช้รถยนต์

อู่แบบนี้จะเหมือนเป็นการรวบรวมข้อดีของศูนย์บริการและอู่ทั่วไปเข้าไว้ด้วยกัน มีการระบุค่าแรงในการซ่อมแต่ละประเภทอย่างชัดเจน ไม่มีการคิดตามอำเภอใจ จึงมีจุดเด่นคือ คิดค่าแรงถูกว่าศูนย์บริการหรือบางแห่งก็ไม่คิดค่าแรงมีเครื่องมือมาตรฐานที่ครบครันและมีอะไหล่หลากหลายยี่ห้อให้เลือกไม่จำเป็นต้องใช้อะไหล่แท้เท่านั้นแต่ก็สามารถรับประกันได้ด้วย

โดยอะไหล่ที่นำมาใช้นั้นบางครั้งอาจจะถูกผู้จำหน่ายรถกล่าวอ้างว่าเป็นอะไหล่ปลอมเชื่อถือไม่ได้ ไม่มีคุณภาพ ทั้งที่ในความเป็นจริงบริษัทรถส่วนใหญ่ก็สั่งจากผู้ผลิตอื่นให้ผลิตให้ซึ่งผู้ผลิตเหล่านั้นหลายรายก็ผลิตอะไหล่ออกมาจำหน่ายในยี่ห้อของตัวเอง ในคุณภาพที่ทัดเทียมกับที่ส่งให้กับบริษัทรถและไม่ได้จัดเป็นอะไหล่ปลอมแต่เป็นอะไหล่ทดแทน ที่มีราคาถูกว่าเกือบครึ่ง ฉะนั้นศูนย์บริการแบบนี้จึงเฟ้นหาอะไหล่แบบนี้มาบริการดึงดูดลูกค้ากัน


แต่ศูนย์ซ่อมอิสระนี้ส่วนใหญ่เน้นที่การดูแลรักษาโดยใช้เวลาไม่นานมากคืองานซ่อมย่อยๆถึงปานกลาง เช่น เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง , เปลี่ยนยาง , ตั้งศูนย์ถ่วงล้อ , เปลี่ยนโช้กอัพ , เปลี่ยนผ้าเบรก ฯลฯ


ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นเพียงแค่แนวทางในการเลือกเท่านั้น เพราะหากรถของคุณเสียมากขึ้นมาวันใดก็ควรเอาเข้าศูนย์ที่ใกล้ที่สุดไว้ก่อนจะดีที่สุด หรือไม่ก็ลองเช็คจากหลายๆที่เพื่อดูว่าที่ไหนจะคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปเพราะ "ผู้จัดการ มอเตอริ่ง" ก็ไม่สามารถฟันธงได้ว่าศูนย์ไหนหรือว่าอู่ไหนจะดีที่สุด แต่อยู่ที่คุณเป็นคนตัดสินใจ.......
 
มานับอายุ(ขัย)ของยางกันเถอะ

ความสำคัญของ "ยางรถยนต์" นั้นขอบอกว่าไม่แพ้กับชิ้นส่วนอื่นๆที่ประกอบขึ้นมาเป็นรถ 1 คันเลย เพราะนอกจากจะช่วยให้รถขับเคลื่อนไปได้แล้วยังช่วยในระบบการเบรกเมื่ออยู่ในถนนที่มีสภาพที่ลื่นหรือขรุขระ ยางที่ดีนั้นจะต้องมีคุณสมบัติในการช่วยให้ผู้ขับขี่มีความนั่นใจและลดการกระแทก ผู้ใช้รถหลายคนลืมที่จะให้ความสำคัญกับยางแต่กลับไปเน้นที่น้ำมันหรือเครื่องยนต์จนลืมนึกถึงความสำคัญของยางที่เรียกได้ว่าจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่โหดร้ายตลอดเวลาการใช้งาน
ผลการวิจัยพบว่าเนื้อยางนั้นจะมีการยืดตัวไปมานับเป็นล้านๆครั้งขณะที่กลิ้งตัวไปตามถนนจนกว่าจะหมดสภาพการใช้งาน ตัวอย่างเช่นยางขนาด 185/70 R13 หากวิ่งด้วยความเร็ว 130 กม./ชม. จะต้องหมุนถึง 20 รอบ/วินาที นั่นแสดงว่าการออกแบบและการผลิตยางแต่ละเส้นนั้นได้มีการนำองค์ประกอบต่างๆโดยเฉพาะเรื่องความทนทานและอายุการใช้งานเข้ามาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วย

โดยทั่วไปแล้ว อายุของยางรถยนต์จะเริ่มตั้งแต่วันแรกที่ไปใช้งานจริงหรือติดล้อวิ่งไม่ใช่จากวันเดือนปีที่ผลิตเหมือนอย่างอาหารหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆและหากพิจารณาถึงการสิ้นสุดของการใช้งานแล้วล่ะก็ ให้พิจารณาจากความสึกหรอของดอกยาง ซึ่งดูจากสะพานยางที่อยู่ระหว่างร่องดอกยาง ที่มีควาสูงประมาณ 1.6 มิลลิเมตร หากพบว่าดอกยางมีอัตราการสึกจนถึงระดับนี้แล้วแสดงว่ายางเส้นนั้นหมดอายุและควรเปลี่ยนยางเส้นใหม่เพื่อความปลอดภัยอย่างไรก็ดี หากคุณต้องการให้การขับขี่อย่างมั่นใจและปลอดภัยยิ่งขึ้น ในสภาพการขับขี่ที่มีฝน ขอแนะนำให้คุณเปลี่ยนยางเส้นใหม่ทุกครั้งเมื่อ ตรวจสอบพบว่าการสึกหรอ ลึกประมาณ 3.5 มิลลิเมตร

สำหรับยางที่ยังไม่ได้ถูกนำไปใช้งานนั้น สามารถเก็บได้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเก็บรักษาจากคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต) ก่อนนำไปติดล้อวิ่งจริงซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมากจนกระทั่งผู้ขับขี่ไม่จำเป็นที่ต้องให้ความสนใจในการตัดสินใจซื้อยาง แต่ก็ควรให้ความสำคัญกับการเลือกยางรถยนต์ให้ถูกกับการใช้งาน ยี่ห้อที่ไว้ใจได้และมีการดูแลยางรถยนต์อย่างสม่ำเสมอเพื่อความปลอดภัยที่แท้จริง


นอกจากนี้หากว่าต้องการยืดอายุการใช้งานของยางให้มากขึ้นเราก็มีเคล็ดลับมาให้ท่านผู้อ่านลองทำตามด

1 ควรตรวจสอบลมยางเป็นประจำทุก 2 สัปดาห์ หรือทุกครั้งก่อนการเดินทางไกลให้มีความดันลมยางที่เหมาะสม (ควรทำเมื่อยางอยู่ในอุณหภูมิปกติ) นอกจากนั้นควรตรวจสอบความดันลมยางของยางอะไหล่ และควรอ้างอิงความดันลมยางจากคู่มือของบริษัทนั้นๆ
2 ควรเปลี่ยนวาล์วทุกครั้งที่เปลี่ยนยางเส้นใหม่ เนื่องจากความกดดันจากแรงหนีศูนย์อาจทำให้ยางลมอ่อน ส่งผลให้ยางเกิดความเสียหายได้
3 การตั้งศูนย์ ถ่วงล้อ เพื่อปกป้องช่วงล่าง ช่วยลดการสั่นสะเทือน รองรับแรงกระแทกรวมถึงระบบพวงมาลัยทำให้ยางใช้งานได้ยาวนานยิ่งขึ้น
4 ลักษณะการทรงตัวของรถเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีผลต่อการสึกหรอของยางการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอจะช่วยไม่ให้ลมยางอ่อน เสื่อมสภาพเร็วและสึก
เก็บรักษายางอย่างไรดี?

1 การเก็บรักษายางของคุณให้อยู่ในสภาพที่ดีพร้อมสำหรับการใช้งานอยู่เสมอ คุณควรทำความสะอาดยางด้วยน้ำสะอาดและเช็ดให้แห้ง แกะเอากรวดและก้อนหินต่างๆ ซึ่งอาจติดอยู่ที่ดอกยางออกเสมอ

2 การเก็บรักษาที่ดี ช่วยให้การใช้งานยางของคุณยาวนานมากยิ่งขึ้น
- หากใส่ยางเข้ากับล้อแล้ว ควรเก็บโดยการวางราบลงกับพื้น หรือหาที่แขวน
- หากยังไม่ได้ยางใส่เข้ากับล้อ ให้เก็บยางโดยการตั้งยางไว้กับพื้น

3 ขอแนะนำให้ให้คุณเก็บรักษายางไว้ในที่เย็น ไม่ควรเก็บยางไว้ในที่ที่ถูกแสงแดดโดยตรง เมื่อทำการเปลี่ยนยาง หรือสลับยางระหว่างล้อ ควรจดจำตำแหน่งในการใส่ให้ถูกต้อง อาทิเช่น ควรทำเครื่องหมาย FL แทนสำหรับ ยางล้อหน้าด้านซ้าย

4 ในกรณีที่คุณมีรถพ่วง หรือยานยนต์ที่มักต้องทิ้งให้จอดอยู่ในโรงรถเป็นเวลานานๆ ขอแนะนำให้คุณเพิ่มแรงดันยางมากกว่าปกติ อย่างน้อย 7 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (0.5 บาร์)

**ขอบคุณข้อมูลจาก มิชลิน**
 

ไฟล์แนบ

  • j07-4.jpg
    j07-4.jpg
    40.5 KB · อ่าน: 49
แก้ไขล่าสุดเมื่อ:
เมื่อแอร์เหมือนพัดลม...ทำอย่างไรดี

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 กุมภาพันธ์ 2550 11:38 น.


แม้ว่ายังผ่านไปเพียงแค่ 2 เดือนของปีหมูแต่อากาศของบ้านเราก็แปรปรวนเร็วกว่าที่หลายๆคนคิด เพราะเราได้สัมผัสกับอากาศที่เย็นสบายไปเพียง 2- 3 อาทิตย์เท่านั้น เนื่องจากตอนนี้อากาศก็ได้กลับมา(ร้อน)ปกติอีกครั้ง และเมื่อฤดูร้อนแวะเวียนมาถึงปัญหาอีกเรื่องของคนที่มีรถยนต์ก็คือ "แอร์ไม่เย็น" จนถึงขั้นทำให้อารมณ์เสียและหงุดหงิดตามมา "ผู้จัดการ มอเตอร์ริ่ง"จะขอแนะนำให้รู้จักวิธีตรวจเช็คแอร์ให้เย็นฉ่ำเสียตั้งแต่เริ่มหน้าร้อน

โดยอย่างแรกท่านควรจะตรวจเช็คระบบแอร์รถยนต์ของท่านว่าความเย็นของแอร์สุดแล้วหรือยัง แต่ถ้ามีสภาพความเย็นพอใช้ได้หรือไม่เย็นเลย ไม่เหมือนกับช่วงก่อนที่ซื้อรถมาใหม่ ๆ แค่ปรับความเย็นเพียงนิดเดียวก็เย็นฉ่ำ แสดงว่ารถยนต์ของท่านเริ่มมีปัญหาข้อบกพร่องในระบบแอร์แล้ว ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุมาจากหลายกรณี แต่ที่พบกันเป็นส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจาก 2 กรณี คือ สาเหตุแรก ที่ทำให้แอร์มีความเย็นไม่เต็มที่ มาจากระบบน้ำยาแอร์มีไม่เพียงพอ หรือเกิดการรั่วไหลออกนอกระบบการทำงาน

ซึ่งท่านควรทำเป็นสิ่งแรกคือการตรวจหาคราบน้ำมันจากจุดต่อต่างๆ ของระบบแอร์ที่อยู่บริเวณห้องเครื่องยนต์ (เพราะส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณนี้) ซึ่งถ้าพบว่าที่จุดต่อ จุดใดจุดหนึ่งเกิดมีคราบน้ำมันติดล้อมรอบบริเวณจุดต่อนั้น ให้ใช้ผ้าสะอาดเช็คคราบน้ำมันออก แล้วสตาร์ทเครื่องยนต์เปิดแอร์อีกครั้งหากยังมีคราบน้ำมันไหลออกมาอีก แสดงว่าจุดนั้นเกิดการรั่วซึม แก้ไขโดยการขันจุดต่อนั้นให้แน่นขึ้น แล้วนำรถเข้าไปอัดน้ำยาเพิ่มที่ร้านบริการแอร์รถยนต์ให้เต็ม

หรือถ้าท่านตรวจเช็คระบบจนหมดแล้วแต่ไม่พบคราบน้ำมันเลย ท่านควรลองไปตรวจสอบน้ำยาในระบบดู ทำได้โดยการที่ท่านลองไปจ้องมองดู Side glass หรือเรียกภาษาช่างว่า ตาแมว ซึ่งจะเป็นกระจกใสอยู่บริเวณหัวกระปุก ไดร์เออร์ (มีลักษณะเป็นกระปุกคล้ายกับถังดับเพลิง ) ให้อีกคนหนึ่งไปเปิดแอร์แล้วเร่งเครื่องยนต์ให้อยู่ในรอบสูง สังเกตดูว่ามีฟองอากศไหลผ่าน ตาแมว มากน้อยเพียงไร หากมีฟองอากาศไหลผ่านนานกว่า 15 นาที หลังการเปิดสวิตซ์แอร์ก็แสดงว่าภายในระบบแอร์มีน้ำยาน้อยเกินไป ควรไปให้ร้านแอร์เติมน้ำยาให้อีกจนเต็ม แล้วความเย็นฉ่ำก็จะกลับมา


สาเหตุที่สอง ส่วนใหญ่จะเกิดเฉพาะประเภทรถเก่าที่ใช้งานมาหลายปีแล้ว และไม่เคยมีการตรวจเช็คแอร์เลย คือเรื่องของ คอยล์ตัน ซึ่งเกิดจากการอุดตันของฝุ่นละอองที่ถูกพัดลมแอร์ดูดเข้ามาก ๆจนเริ่มที่จะมีการอุดตันจะทำให้แอร์เริ่มไม่เย็น ท่านสามารถจะสังเกตการอุดตันของคอยล์แอร์ได้จากการตรวจเช็คเหมือนกรณีแรกที่กล่าวมา หากการตรวจเช็คน้ำยาแอร์ ทุกอย่างยังสมบูรณ์ดี แต่แอร์ยังไม่เย็นอีก หรือเมื่อเปิดแอร์ในช่วงแรกก็มีความรู้สึกเย็นดี แต่พอใช้ไปสักพักหนึ่งแอร์ก็เริ่มที่จะไม่เย็น ซึ่งนี่แหละคือสิ่งบอกเหตุว่า คอยล์แอร์ เริ่มที่จะอุดตันแล้ว เพราะอากาศที่จะไหลผ่านระบายความเย็นของคอยล์แอร์ไหลผ่านได้ไม่สะดวกจึงทำให้คอยล์แอร์เกิดเป็นน้ำแข็ง อากาศที่ออกมาจากช่องแอร์จึงไม่เย็นเท่าที่ควร
ซึ่งสาเหตุที่ท่านคงจะทำการถอดล้างคอยล์แอร์เองไม่ได้แน่นอน ดังนั้นควรนำรถยนต์ของท่านเข้ารับการตรวจเช็คที่ศูนย์บริการจะดีกว่า เพื่อให้ช่างแอร์ทำการถอดล้างคอยส์แอร์ให้ หากท่านต้องการให้แอร์รถยนต์มีความเย็นชุ่มฉ่ำอยู่ตลอดปี ท่านก็ควรจะนำรถของท่านไปล้างคอยล์แอร์ทุก 1 ปี เพื่อให้คอยส์แอร์มีสภาพสมบูรณ์ตลอดไป

อีกอย่างที่อยากจะแนะนำก็คือวิธีการใช้แอร์ในรถยนต์ ท่านไม่ควรเปิดอัตราเร่งของพัดลมแอร์ในสปีคสูงอยู่ตลอดเวลา เพราะจะทำให้คอยล์แอร์เกิดการอุดตันเร็วขึ้นกว่าปกติทั่วไป นอกจากนั้นการปรับระดับความเย็นของอุณหภูมิไม่ควรที่จะปรับเปิด-ปิด ในระยะเวลาที่รวดเร็วจนเกินไป (ถ้าเป็นระบบปรับอากาศอัตโนมัติไม่เป็นไร) เพราะในระบบแอร์ นั่นมีแรงดันของน้ำยาสูง หากท่านเปิด ๆ ปิด ๆ เร็วจนเกินไป น้ำยาในระบบจะเกิดแรงดันสูงอาจทำให้ท่อน้ำเกิดแตกหรือรั่วได้ เพราะฉะนั้นหากต้องปรับอุณหภูมิความเย็นให้ลดลงหรือปิดแอร์ ถ้าต้องการเปิดใหม่ไม่ควรที่จะเปิดในทันที ควรจะรอให้แรงดันของน้ำยาลดลงเสียก่อน ซึ่งก็ใช้เวลาไม่เกิน 1 นาที แล้วจึงเปิดให้ตามต้องการ จะช่วยยืดอายุการใช้งานแอร์ของท่านได้เป็นอย่างมาก

และอีกประการหนึ่งที่ท่านควรจะรู้ไว้คือ เรื่องของการตรวจสอบคอมเพรสเซอร์แอร์ ซึ่งถ้าช่างตามร้านแอร์ที่ท่านไปเข้ารับบริการเขาบอกท่านว่าคอมเพรสเซอร์แอร์เสีย ท่านควรจะลองตรวจสอบดูก่อนว่ามันเสียจริงหรือไม่ เพราะอุปกรณ์ชิ้นนั้นไม่ใช่ราคาบาทสองบาท แต่มีราคาเรือนหมื่น มีช่างบางคนชอบใช้วิธีเปลี่ยนลูกเดียว หากว่าท่านไม่รู้เรื่อง อาจจะตกเป็นเหยื่อของคนกลุ่มนั้นก็ได้ มีคนโดนแบบนี้มาแยะแล้ว

ถ้าคอมเพรสเซอร์เสียอย่างที่ช่างตามร้านเขาบอก ท่านสามารถทดสอบดูได้โดยการปิดสวิตซ์แอร์ทั้งหมดแล้วลองสตาร์ทเครื่องยนต์ ปล่อยให้เครื่องยนต์เดินสักพัก คราวนี้ลองเปิดสวิตซ์แอร์ สังเกตุดูว่าเครื่องยนต์มีอาการอะไรที่แตกต่างจากก่อนหน้าที่จะเปิดสวิตซ์แอร์เหรือเปล่า เช่น รอบเครื่องต่ำลง ถ้าเครื่องยนต์ไม่มีอาการอะไรสั่น หรือเปลี่ยนแปลงอะไรสักนิดก็แสดงว่าเคราะห์ร้ายเริ่มมาเยือนท่านแล้ว ให้ลองตรวจเช็คดูระบบฟิวส์ แล้วไม่มีจุดขาดเสียหายก็แสดงว่าคอมเพรสเซอร์ของท่านมีปัญาหอย่างแน่นอน ซึ่งก็คงจะต้องซ่อมหนัก หรืออาจจะถึงขั้นเปลี่ยนใหม่

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็คงจะพอทำให้ท่านผู้ใช้รถยนต์ได้หายร้อนกันได้บ้างกับเรื่องของระบบแอร์ ที่ถือว่าเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่สำคัญมากที่สุดระบบหนึ่งภายในรถยนต์ของท่าน ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหมั่นดูแลรักษาเครื่องปรับอากาศให้มีประสิทธิภาพดีและทนทาน ด้วยการตรวจเช็คตามเวลาที่กำหนด
 

ไฟล์แนบ

  • Image.jpg
    Image.jpg
    19.7 KB · อ่าน: 56
"ถังก๊าซ NGV" ต้องรู้ก่อนติด

ผลพวงจากการที่น้ำมันแพง ทำให้รัฐบาลหาทางออกด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการประหยัดพลังงานเพื่อลดการนำเข้าน้ำมัน รวมทั้งพยายามหาแหล่งพลังงานทดแทนน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ (natural gas) ก็เป็นแหล่งพลังงานทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะมีราคาถูกกว่าน้ำมันมาก
ปัจจุบันก๊าซธรรมชาติราคาประมาณ 8.50 บาท/กิโลกรัม ขณะที่ก๊าซหุงต้ม (ก๊าซแอลพีจี - LPG) ราคาประมาณ 16.50 บาท/กิโลกรัม ส่วนน้ำมันเบนซินและดีเซลราคายิ่งสูงขึ้นอีก (25 บาท/ลิตร) ความแตกต่างทางด้านราคาก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน ทำให้บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) ประกาศสนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงชนิดนี้ในรถยนต์ โดยทางบริษัทยินดีออกค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งสำหรับรถที่จะติดตั้งระบบการใช้ก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากชุดติดตั้งมีราคาแพงและต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด

สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้ชุดติดตั้งมีราคาสูงก็คือ เรื่องถังบรรจุ เพราะการบรรจุก๊าซธรรมชาติลงถังต้องใช้ถังที่สามารถทนความดันได้สูงถึง 3,000
 

ไฟล์แนบ

  • 4123_4658_ติด NGV.jpg
    4123_4658_ติด NGV.jpg
    32.5 KB · อ่าน: 53
เคล็ดไม่ลับกับลมยาง
 

ไฟล์แนบ

  • bc722c56bd0db5759dd23c2a31b99464.jpg
    bc722c56bd0db5759dd23c2a31b99464.jpg
    34 KB · อ่าน: 54
ล้างรถถูกวิธี....ยืดอายุสีคงความเงางาม

จากตัวเลขยอดขายรถที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ทุกเดือน ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์เติบโตตามไปด้วย และธุรกิจการบำรุงรักษารถยนต์ ก็เป็นหนึ่งในหลายธุรกิจที่มีแนวโน้มว่าจะรุ่ง บวกกับความจำเป็นสำหรับผู้ใช้รถในยุคนี้ ที่ทุกอย่างต้องเร่งรีบ เวลาเป็นเงินเป็นทอง จึงไม่แปลกที่ธุรกิจเหล่านี้จะขึ้นมาเป็นดอกเห็ด โดยเฉพาะการบริการล้างรถ ซึ่งมีอยู่ทุกหนทุกแห่งทั้งในห้างสรรพสินค้า ในปั๊มน้ำมัน ซอยเล็ก ซอยน้อย มีบริการเป็นจำนวนมาก

แต่ก็ใช่ว่าการล้างรถของทุกแห่งจะมีคุณภาพเท่ากันหมด บางร้านก็ล้างแบบลวกๆขอไปที บางร้านก็ล้างด้วยน้ำยาที่ไม่มีคุณภาพทำให้สีรถของเราเสื่อมลงได้ ดังนั้นการล้างรถด้วยตัวเองจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ผู้ใช้รถหลายๆคนทำเอง เพราะทั้งประหยัดทั้งสะอาดแต่อาจจะเหนื่อยหน่อยถ้าคุณมีรถที่บ้านหลายคัน

ดังนั้นในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ "ผู้จัดการ มอเตอร์ริ่ง" จึงมีข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ล้างรถด้วยตัวเองที่บ้านว่าชั้นตอนในการล้างรถที่ถูกต้องนั้นไม่ยากอย่างที่คิดเลย นอกจากนี้ยังทำให้คุณเห็นถึงความผิดปกติของรถคุณอีกด้วย การล้างรถเป็นประจำนั้นช่วยให้คราบสกปรกไม่เกาะแน่น ทำให้สีเงางาม เฉลี่ยแล้วคุณควรล้างรถอาทิตย์ละ 1 ครั้ง หรือมากกว่านั้นหากคุณนำรถออกต่างจังหวัดหรือไปลุยป่าลุยโคลนมา

การใช้ไม้ขนไก่ปัดฝุ่นนั้น จะเป็นการปัดฝุ่นทรายขูดกับสีจนเป็นรอย จึงไม่จำเป็นต้องปัดฝุ่นใดๆก่อนล้าง เริ่มต้นล้าง โดยให้เริ่มที่การล้างด้วยฉีดน้ำเปล่า เพื่อชะล้างฝุ่นและกรวดทรายออกจากตัวถังและผิวสีให้มากที่สุด น้ำยิ่งแรงยิ่งดีโดยให้เริ่มที่ด้านบนลงมาด้านข้างและสุดท้ายลงมาด้านล่าง จากนั้นเริ่มลงแชมพูล้างรถยนต์ เริ่มจากหลังคา กระจกรอบค้น ตัวถังด้านหน้า ล้อและยาง

จากนั้นฉีดน้ำเปล่าล้างฟองแชมพูออกให้หมดแล้วทิ้งไว้สักครู่ ก่อนจะเช็ดแห้งด้วยผ้าสะอาด ควรสลัดผ้าออก 1 ครั้งเผื่อให้ฝุ่นที่ติดอยู่ที่ผ้าออกไปเสียก่อน เริ่มเช็ดที่กระจกก่อนแล้วนำผ้าผืนนั้นมาบิดหมาดๆเพื่อเช็ดตัวถังไม่ควรใช้ผ้าที่แห้งสนิทเช็ดตัวถังเพราะความแข็งของผ้าอาจทำให้สีตัวถังเป็นรอยได้ การเช็ดตัวถังความเริ่มจากหลังคา แล้วจึงไล่ลงมาด้านข้าง เช่น ประตูหรือขอบฝากระโปรงหน้า-หลัง ไม่ควรปล่อยให้แห้งเองเพราะสีจะขาดความเงางามจากคราบน้ำ

การขัดเคลือบสี ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างต่อจากการล้างรถ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันสีตัวถังรถยนต์จะมีความทนทานสูงและมีการเคลือบมาจากโรงงานแล้ว แต่อากาศเมืองไทยนั้นเต็มไปด้วยความร้อน ฝุ่น และความชื้น อาจทำให้สีหม่นหมองเร็วกว่าปกติ การเคลือบสีจึงเปรียบเสมือนเป็นเกราะชั้นที่สองที่ช่วยให้คงความเงางามได้นานขึ้น การขัดเคลือบสีนั้น แบ่งเป็น 2 แบบ คือ รับบริการตามศูนย์ทั่วไป หรือทำเอง โดยการขัดเคลือบสีประมาณ 2 - 3 เดือน/ครั้ง

น้ำยาเคลือบสีแบ่งเป็น 3 แบบ คือ น้ำยาขัด น้ำยาเคลือบ และน้ำยาขัดพร้อมเคลือบ ถ้าเป็นการรับบริการตามศูนย์มักใช้น้ำยาแยก ส่วนน้ำยาแบบเคลือบเองมักเป็นแบบผสม โดยมีน้ำยาขัดน้อยกว่าน้ำยาเคลือบ การเข้าบริการตามศูนย์นั้น ย่อมมีราคาสูง แต่ก็แลกกับความมั่นใจและความคงทนของน้ำยาเคลือบ แต่ก็ควรตรวจสอบราคาและเงื่อนไขการรับประกันก่อนว่ามีความเหมาะสมหรือไม่

เมื่อต้องซื้อน้ำยาขัดเคลือบด้วยตัวเอง ควรทดสอบคุณภาพก่อน โดยเทน้ำยาเคลือบลงในช้อนโลหะแล้วลนไฟที่ด้านหลังของช้อน หลังจากน้ำยาแห้งแล้ว รอให้ช้อนเย็นประมาณ 10 นาที จึงใช้ผ้าปาดออก ถ้าน้ำยาหลุดออกหมดแสดงว่าคุณภาพไม่ดี เพราะน้ำยาเคลือบสีที่ดีควรมีคราบเกาะติดที่ช้อนบ้าง การเคลือบสีด้วยตัวเอง ควรอ่านคุณสมบัติของน้ำยาและขั้นตอนการเคลือบอย่างละเอียด และใช้อุปกรณ์ขัดเคลือบสีแบบที่ใช้ตามศูนย์บริการ ผู้ใช้ต้องมีความชำนาญเป็นพิเศษ ไม่เช่นนั้นแทนที่สีจะเงางามอาจกลับเป็นริ้วรอยได้

ความสะอาดของห้องโดยสารก็ถือว่ามีผลต่อสุขภาพและความปลอดภัยเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงควรดูดฝุ่นเป็นประจำทุกสัปดาห์ นำพรมปูพื้นหรือยางรองพื้นออกมาเคาะฝุ่นและผึ่งแดด เปิดประตูทุกบานและจอดตากแดดไว้ประมาณ 1 ชม. เพื่อไล่กลิ่นอับและความชื้น ควรทำความสะอาดช่องแอร์บนแผงหน้าปัดเป็นประจำ เพราะหากมีฝุ่นติดอยู่จะถูกเป่าออกมาพร้อมลมและฟุ้งกระจายอยู่ในห้องโดยสาร

การทำความสะอาดเบาะนั่งและแผงข้างประตู ควรใช้น้ำยาเฉพาะ เช่น หนังแท้ , หนังเทียม , ผ้า , หรือกำมะหยี่ ส่วนการใช้น้ำยาเคลือบเงากับเบาะนั่งพวงมาลัยและหัวเกียร์ ควรระวังเรื่องความลื่นไว้ด้วย การจับตัวของฝุ่นหรือคราบสกปรกบนกระจกด้านในหรือด้านนอก มีผลต่อทัศนวิสัยในการขับขี่เพราะอาจมีการทำให้เกิดการหักเหของแสงจึงควรทำความสะอาดเป็นประจำ โดยใช้ผ้าหรือวัสดุที่อ่อนนุ่ม เพื่อป้องกันฟิล์มเป็นรอย
 

ไฟล์แนบ

  • Image3.jpg
    Image3.jpg
    26.8 KB · อ่าน: 53
  • Image2.jpg
    Image2.jpg
    10.6 KB · อ่าน: 52
  • Image1.jpg
    Image1.jpg
    25.5 KB · อ่าน: 55
ทำอย่างไรเมื่อยางรถระเบิด-รถตกน้ำ

"อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกวินาที" เป็นประโยคที่เตือนให้ผู้ขับขี่ทั้งหลายพึงสังวรณ์เอาไว้ เพราะไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนทำอะไรอยู่ก็สามารถเกิดได้ รวมถึงบนท้องถนนด้วยขณะขับรถอยู่ก็ตามที ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น ก็ควรหาทางป้องกันเท่าที่จะทำได้เพราะทุกวันนี้อุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของไทยเลยก็ว่าได้ หากเรามีความรู้ในขั้นตอนในการควบคุมรถยนต์และการปฏิบัติตนในขณะเกิดอุบัติเหตุเช่นนี้สามารถช่วยลดอัตราการตายและการบาดเจ็บได้แน่นอน แต่ที่สำคัญที่สุดทุกคนก็ต้องมีสติถึงจะปลอดภัย

กรณี ที่ 1 เมื่อยางรถระเบิดขณะขับ รถยางระเบิดในขณะขับรถ มีข้อแนะนำให้ปฏิบัติ ดังนี้

1. มือทั้งสองต้องจับอยู่ที่พวงมาลัยอย่างมั่นคง
2. ถอนคันเร่งออก
3. ควบคุมสติให้ดีอย่าตกใจมองกระจกหลังเพื่อให้ทราบว่ามีรถใดตามมาบ้าง
4. แตะเบรกอย่างแผ่วเบาและถี่ๆ อย่าแตะแรงเป็นอันขาด เพราะจะทำให้รถหมุน
5.ห้าม เหยียบคลัตช์โดยเด็ดขาดเพราะถ้าเหยียบคลัตช์รถจะไม่เกาะถนนรถจะลอยตัวและจะทำให้บังคับรถได้ยากยิ่งขึ้น อาจเสียหลัก เพราะการเหยียบคลัตช์เป็นการตัดแรงบิดของเครื่องยนต์ให้ขาดจากเพลา
6. ห้ามดึงเบรกมืออย่างเด็ดขาด จะทำให้รถหมุน
7.เมื่อความเร็วรถลดลงพอประมาณแล้วให้ยกเลี้ยวสัญญาณเข้าข้างทางซ้ายมือ
8. เมื่อความเร็วลดลงระดับควบคุมได้ ให้เปลี่ยนเกียร์ต่ำลงและหยุดรถ

ข้อสังเกตเมื่อยางระเบิด คือ ไม่ว่ายางด้านใดจะระเบิดล้อหน้าหรือล้อหลังก็ตาม เมื่อระเบิดด้านซ้ายรถก็จะแฉลบไปด้านซ้ายก่อนแล้วก็จะสะบัดกลับ และสะบัดไปด้านซ้ายอีกทีสลับกันไปมาและในทำนองตรงกันข้ามหากระเบิดด้านขวาอาการก็จะกลับเป็นตรงกันข้าม

อุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดขึ้นส่วนมากก็คือหากขณะยางระเบิดรถวิ่งอยู่ที่ความเร็วสูงมากๆพอยางระเบิดขึ้นมารถก็ จะกลิ้งทันที ทำอะไรไม่ได้ ดังนั้นการขับรถที่ใช้ความเร็วสูงๆจึงมักจะแก้ไขอะไรในเรื่องนี้ไม่ได้เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นในขณะขับรถจึงไม่ควรขับรถเร็ว (ความเร็วทีถือว่าปลอดภัยใน DEFENSIVE DRIVING คือ ความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง)


กรณีที่ 2เมื่อรถตกน้ำในกรณีที่รถเกิดอุบัติเหตุแล้วตกลงไปในแม่น้ำลำคลองใดๆก็ตาม รถจะไม่ตกลงไปในน้ำแล้วจมทันที เหมือนหิน ตกน้ำแต่จะค่อยๆ จมลงทีละน้อยๆจนกว่าจะถึงพื้นล่างและในนาทีวิกฤตนี้ควรตั้งสติให้ดีและปฏิบัติดังต่อไปนี้

1. ปลด SAFETY BELT ออกทุกๆคนรวมทั้งผู้โดยสารด้วย
2. อย่าออกแรงใดๆเพื่อสงวนการใช้อากาศหายใจซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนจำกัด
3. ให้ยกส่วนศีรษะให้สูงเหนือระดับน้ำที่ค่อยๆเพิ่มขึ้นในรถ
4. ปลดล็อกประตูรถทุกบาน
5. หมุนกระจกให้น้ำไหลเข้าในรถเพื่อปรับความดัน!ในรถและนอกรถให้เท่ากันมิฉะนั้นท่านจะเปิดประตูรถไม่ออกเพราะน้ำจากภายนอกตัวรถจะดันประตูไว้
6.เมื่อความดันใกล้เคียงกันแล้วให้ผลักบานประตูออกให้กว้างสุดแล้วท่านก็ออกจากห้องโดยสารของรถได้
7.จากนั้นท่านอาจจะปล่อยตัวให้ลอยขึ้นเหนือน้ำตามธรรมชาติหรือจะว่ายน้ำขึ้นมาก็ได้ในกรณีนี้หากน้ำลึกมากๆอาจจะมองไม่เห็นว่า
ทิศใดเหนือน้ำ ทิศใดใต้น้ำเพราะว่า มืดไปหมดไม่ควรใช้วิธีว่ายน้ำเพราะอาจจะว่าย ไปในทิศทางที่ไม่ขึ้นเหนือน้ำ

กรณีเช่นนี้ควรปล่อยตัวให้ลอยขึ้นตามธรรมชาติหรือลองเป่าปากดูว่าฟองอากาศลอยไปในทิศทางใดให้ว่ายน้ำไปในทิศทางที่ฟองอากาศลอยไปก็จะไม่มีอาการ หลงน้ำ นอกจากนั้น ก่อนออกจากรถหากท่านมีผู้โดยสารที่เป็นเด็กๆ อาจจะหนีบเด็กๆนั้นออกมากับท่านได้อีกหนึ่งคน
 
ไฟหน้า-ไฟฉุกเฉิน : ใช้แบบไหนถูกหรือผิด?

รถยนต์สมัยนี้มักจะติดไฟสัญญาณแปลกๆ ซึ่งบางทีกฎหมายจราจรที่ค่อนข้างจะโบราณ ก็ไม่ได้กล่าวเอาไว้อย่างชัดเจนว่าอนุญาตให้ใช้สัญญาณอะไรบ้าง ทำให้หลายคนเลือกติดและใช้กันตามอำเภอใจ จนกลายเป็นธรรมเนียมที่หลายคนปฏิบัติต่อๆ กันมา

ความจริงแล้ว ไฟต่างๆ เหล่านี้ เป็นสัญญาณอย่างหนึ่ง และในเรื่องของความปลอดภัยบนท้องถนน ถือว่า "สัญญาณ" นั้นเป็นภาษาของถนน ซึ่งต้องเป็นสากล หมายความว่าไม่ว่าชนชาติใด พูดภาษาใด จะต้องฟังหรืออ่านภาษาของถนนอันเป็นสากลนี้เข้าใจแจ่มชัดเหมือนกันหมด เป็นภาษาเดียวกัน

**ไฟหน้าเจ้าปัญหา-สื่อสารผิดๆ**

ไฟสัญญาณอันดับแรกที่กลายเป็นธรรมเนียมอันไม่เป็นสากล และน่าจะเกิดอันตรายก็คือ ไฟหน้าใหญ่ ที่ผู้ขับขี่ยวดยานชอบเปิดกัน แว็บๆ ให้หลายคนสงสัยว่ามันหมายความว่าอะไรกันแน่ ในประเทศไทยเรานั้น แปลกันเองได้ความว่า "เอ็งอย่ามาข้าจะไป" หรือ "ผมไปก่อนนะ" หรือ "อั๊วใหญ่กว่าไปก่อน" อะไรทำนองนั้น ก็พอจะเข้าใจกันในประเทศไทยเราว่าหมายความว่าอย่างนั้น ธรรมเนียมนี้ก็ค่อยๆ วิวัฒนาการขึ้นไปเรื่อยๆ จนบัดนี้บนท้องถนนหลวงเข้าใจกันได้อีกความหมายหนึ่งว่า เมื่อรถที่วิ่งสวนมาบนถนนหลวงให้สัญญาณไฟหน้า แว็บๆ ล่ะก็ ให้เตรียมระวังว่าอย่าขับเร็วเกินกฎหมายกำหนด อย่าเดินรถในช่องทางขวา อย่าแซงทางซ้าย ฯลฯ เพราะข้างหน้ามีหน่วยตำรวจทางหลวงคอยดักจับอยู่ สัญญาณนี้เลยกลายเป็นสัญญาณประสานสามัคคีกันในหมู่ผู้ใช้รถบนถนนหลวงไปอีกความหมายหนึ่ง

ส่วนในต่างประเทศบางแห่ง เช่น ในยุโรปและประเทศอังกฤษ ไฟแว็บหน้าที่เปิดกันแว็บๆ นั้น สัญญาณนี้แปลได้ว่า "เชิญคุณไปได้ ผมให้ทางคุณ" ดังนั้น พวกฝรั่งพวกนี้มาขับรถในเมืองไทย เห็นพี่ไทยเปิดไฟไห้แว็บๆ ก็นึกว่าเหมือนบ้านตัวก็ออกพรวดไปเลย จึงมักจะถูกชนซี่โครงหักไปหลายราย นี่ก็คืออันตรายอีกอย่างหนึ่งที่เป็นภาษาสากล แต่อ่านแปลให้ผิดเพี้ยนไปตามวัฒนธรรมของแต่ท้องถิ่นแต่ละประเทศ

**แท้จริงแล้วไฟหน้านี้ใช้ทำอะไรและในภาษาสากลหมายความว่าอย่างไร**

ไฟแว็บหน้าใหญ่นั้น จริงๆ แล้วแปลว่า "ระวัง" หรือ "ผมอยู่ตรงนี้" เพื่อเตือนให้ผู้ใช้รถใช้ถนนได้ระมัดระวังว่ามีรถอีกคันอยู่ตรงนี้ หรืออีกนัยหนึ่งสัญญาณนี้ใช้แทนสัญญาณแตร ในกรณีที่ใช้แตรไม่ได้ เช่นในเวลากลางคืน กฎหมายห้ามใช้แตร หรือ ในสถานที่ที่มีเครื่องหมายห้ามใช้แตร เพราะจะรบกวนบุคคลอื่น เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน สถานที่ราชการ หรือกรณีที่เป็นกลางวัน จะใช้เตือนรถที่หันหน้าเข้าหา ใช้ไฟแว้บเตือนให้ระวังจะดีกว่าเสียงแตร เพราะแสงนั้นเดินทางได้เร็วกว่าเสียหลายเท่าตัวนัก

นอกจากนั้นยังมีสัญญาณไฟฉุกเฉินที่วัฒนธรรมผันแปร จนเกิดอุบัติถึงแก่ชีวิตในทางหลวงหลายรายแล้ว คือสัญญาณไฟฉุกเฉินนั้น รถสมัยนี้จะติดมาให้ทุกคัน เป็นสัญญาณไฟเหลืองกะพริบทั้งหน้าหลังซ้ายขวารวม 4 ด้าน ตามวัฒนธรรมบ้านเรา หากรถถูกลากจูงก็จะเปิดไฟฉุกเฉินนี้ทันที หรือถ้าผ่านสี่แยกจะไปทางตรงส่วนใหญ่ก็จะเปิดไฟฉุกเฉินนี้ทันที จุดนี้สร้างอันตรายอย่างมากบนทางหลวง เพราะการให้สัญญาณที่ผิดและไม่เป็นสากล

นั่นเพราะว่าผู้ที่สวนทาง หรือผู้ที่ตามหลัง คงจะเดาได้ว่ารถคันที่ให้สัญญาณนี้คงจะไปตรงแต่รถที่ผ่านสี่แยกทางด้านข้างจะอ่านสัญญาณที่ผิดทันที เพราะจะเห็นสัญญาณเพียงด้านข้าง ข้างหนึ่งข้างใดแค่เพียงด้านเดียว ทำให้เข้าใจว่ารถคันที่ให้สัญญาณฉุกเฉินนี้จะเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา แล้วแต่รถคู่กรณีจะอยู่ทางใด เมื่ออ่านผิด รถคันที่อ่านผิดก็จะออกรถไปในทางตรงทันที ก็เกิดชนกันกลางสี่แยกถึงบาดเจ็บล้มตายไปมากจึงขอให้นักขับรถทั้งหลาย พึงระวังในการใช้ไฟสัญญาณฉุกเฉินนี้ให้มาก

**ไฟสัญญาณฉุกเฉินนี้ใช้อย่างไรจึงจะถูกต้อง**

ชื่อก็บอกว่าเกิดเหตุฉุกเฉิน คือหมายความว่า รถคันเกิดเหตุนั้นไปไม่ได้เพื่อให้รถคันอื่นๆ ทราบว่ารถเราเสียไปไม่ได้ต้องจอดขวางทางอยู่ หรือต้องจอดอยู่เฉยๆ หรือรอความช่วยเหลือ หรือจอดเพื่อดูแลซ่อมแซมอยู่ก็เปิดไฟฉุกเฉินไว้เพื่อให้รถคันอื่นได้รับทราบ หรือขณะที่ขับอยู่บนถนนหลวงมีเหตุที่ต้องจอด เพราะมีสิ่งกีดขวางถนนอยู่จนไม่สามารถเคลื่อนรถได้ ก็ให้เปิดไฟฉุกเฉินนั้น เพื่อให้รถตามหลังมาทราบว่าขณะนี้รถเราจอดอยู่นิ่งๆ บนท้องถนน ความปลอดภัยก็จะเกิดขึ้นแก่ตัวเราผู้ขับขี่ และแก่บุคคลอื่นที่ตามเรามา จะได้อ่านสัญญาณนี้ออกเป็นภาษาเดียวกัน

กล่าวโดยสรุปก็คือ ไฟสัญญาณฉุกเฉินนี้ จะใช้ต่อเมื่อรถนั้นได้จอดอยู่กับที่เท่านั้น ห้ามไปใช้วิ่งบนท้องถนนแล้วเปิดไฟฉุกเฉิน บางกรณีที่เห็นบ่อยๆ ก็คือ เมื่อรับคนเจ็บป่วยต้องการรีบนำไปส่งโรงพยาบาล ด้วยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็เปิดไฟฉุกเฉินแล้ววิ่ง เพื่อจะได้ถึงโรงพยาบาลเร็วๆ แต่มักปรากฎว่าทั้งคนขับคนเจ็บและญาติ ไม่ค่อยจะถึงโรงพยาบาลส่วนมากจะถึงเพียงสี่แยกใดสี่แยกหนึ่งเท่านั้น

ขับรถหากระมัดระวัง ใช้กฎแห่งความปลอดภัยโดยถูกต้อง ทั้งเทคนิคการขับและสัญญาณให้เป็นสากลโดยแท้ ท่านก็จะเป็นผู้ขับรถอย่างปลอดภัยตลอดไป

ที่มา : บริษัท เชลล์แห่งประเทศ ไทย จำกัด
 
10 สัญญาณเตือนภัยของรถคุณ

คนใช้รถทุกวันนี้ บางคนอาจจะแค่ขับไปทำงานแล้วกลับบ้าน บางคนก็ขับไปไกลๆถึงต่างจังหวัด มีหลายคนที่ขับอย่างเดียว โดยที่ไม่สนใจหรือเอาใจใส่รถของตัวเองว่ามีสิ่งผิดปกติอะไรบ้าง ทั้งที่รถทุกคันควรได้รับการดูแลและตรวจเช็คก่อนออกเดินทางทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยในชีวิต "ผู้จัดการ มอเตอร์ริ่ง" จึงแนะนำวิธีตรวจเช็ครถของคุณเบื้องต้น กับ 10 สัญญาณเตือนที่จะบ่งบอกได้ว่ารถของคุณนั้นอาการน่าเป็นห่วง

1. สัญญาณเตือน
เราสามารถรับสัญญาณบอกอาการผิดปกติของรถได้ โดยใช้ประสาททั้ง 5 คือ การเห็น การฟังเสียง การได้กลิ่น การจับต้องชิ้นส่วนนั้น ๆ และการลองขับดู ถ้าสังเกตพบสิ่งผิดปกติต่อไปนี้ ให้รีบทำการตรวจเช็คและซ่อมแซมโดยเร็ว ก่อนที่จะเกิดความเสียหายต่อไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ มากขึ้นกว่าเดิม


2. เครื่องยนต์
เครื่องยนต์คือหัวใจของรถ ถ้าเครื่องยนต์มีอาการดังนี้
- เครื่องร้อนจัดเกินไป ขับไปได้ไม่เท่าไร ความร้อนก็ขึ้นสูงเสียแล้ว
- เครื่องเย็นเกินไป แม้จะขับมาระยะทางไกลพอสมควรแล้ว เข็มวัดอุณหภูมิยังไม่กระดิก
- มีเสียงดังผิดปกติจากเครื่องยนต์
ควรนำเข้าตรวจสภาพที่ศูนย์บริการเฉพาะยี่ห้อ


3. ยาง
การสึกหรอของดอกยางแบบต่าง ๆ บอกเราได้ว่ายางผิดปกติไปอย่างไร
- ดอกยางตรงกลางล้อ สึกหรอมากกว่าขอบ แสดงว่าเติมลมแข็งเกินไป
- ดอกยางขอบล้อ สึกหรอมากกว่าตรงกลาง แสดงว่าเติมลมอ่อนเกินไป
- ดอกยางสึกหรอข้างใดข้างหนึ่ง แสดงว่ามุมแนวตั้งของยางไม่ตรง
- ดอกยางเป็นบั้ง ๆ แสดงว่าแนวของยางไม่ขนานกับแนวเคลื่อนที่ของรถ
นำรถเข้าอู่เพื่อตั้งศูนย์ล้อ หรือปรับแรงดันลมยางใหม่

4. คลัตซ์
คลัตซ์ที่มีปัญหา จะทำให้ควบคุมเกียร์ไม่ได้ อย่าละเลยอาการเหล่านี้
- คลัตซ์ลื่น หรือเข้าคลัตซ์ไม่สนิท หรือเหยียบแป้นคลัตซ์แล้ว แต่ยังเข้าเกียร์ได้ยาก
- คลัตซ์มีเสียงดัง เมื่อเหยียบแป้นคลัตซ์
- แป้นคลัตซ์สั่นขึ้น ๆ ลง ๆ ขณะกำลังขับ
ควรนำรถเข้าอู่ซ่อมช่วงล่าง หรือศูนย์บริการเฉพาะยี่ห้อ


5. เกียร์
เกียร์จะทำหน้าที่เปลี่ยนแรงบิดของเครื่องยนต์ให้เหมาะสมกับความเร็ว สัญญาณบอกเหตุว่าเกียร์มีปัญหาคือ
- มีเสียงดังทั้งในขณะอยู่ที่เกียร์ว่าง หรือเข้าเกียร์ใดเกียร์หนึ่งอยู่
- เปลี่ยนเกียร์ยาก มีอาการติดขัด หรือต้องขยับอยู่นาน
- มีเสียงดังขณะเข้าเกียร์ ทั้ง ๆที่เหยียบคลัตซ์แล้ว
- ห้องเกียร์มีน้ำมันหล่อลื่นไหลออกมา
ควรนำรถเข้าอู่ตรวจสอบห้องเกียร์


6.พวงมาลัย
พวงมาลัยที่มีปัญหาเหล่านี้ จะทำให้อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ยางเฟืองท้าย ชำรุดตามไปด้วย
- พวงมาลัยหนัก หรือต้องใช้แรงมากผิดปกติในการบังคับเลี้ยว
- พวงมาลัยหลวมเกินไป โดยมีระยะฟรีเกิน 1 นิ้ว
- พวงมาลัยสั่นในขณะขับ
ควรนำเข้าศูนย์บริการเฉพาะยี่ห้อ


7. เบรก
ถ้าพบว่าเบรกมีอาการผิดปกติ ต้องรีบแก้ไขทันที เพราะเบรกชำรุด นำมาซึ่งอุบัติภัยได้ง่ายที่สุด
- เบรกลื่น หยุดรถไม่อยู่ แม้จะไม่ได้ลุยน้ำ
- เบรกแล้วรถปัดไปข้างใดข้างหนึ่ง
- แป้นเบรกยังจมลึกลงไปทั้ง ๆ ที่ถอนเท้าออกมาแล้ว
ควรนำรถเข้าอู่ซ่อมเบรกทันที

8. ไฟชาร์จ
ไฟชาร์จ ควรจะปรากฏขึ้นที่แผงหน้าปัดทุกครั้งที่เราสตาร์ทเครื่อง และเมื่อสตาร์ทติดแล้ว ครู่หนึ่งก็จะดับลง แต่ถ้าไฟชาร์จไม่สว่าง หรือสว่างแล้วไม่ยอมดับ อาจเกิดจากไดชาร์จผิดปกติหรือสาเหตุอื่น ๆ ก็ได้ ที่แน่ ๆ คือไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ รีบนำรถเข้าอู่ไดชาร์จหรือระบบไฟ


9. หลอดไฟ
หลอดไฟขาดบ่อย ๆ หรือต้องเติมน้ำกลั่นในหม้อแบตเตอรี่บ่อยเกินไป แสดงว่าอุปกรณ์ที่เราเรียกว่า
 
"บวกราคาอะไหล่" การโกงของอู่ ที่ยากแก้ไข

การซ่อมรถตามอู่ทั่วไป ส่วนใหญ่จะใช้อะไหล่ทดแทนเทียมจากร้านอะไหล่และให้อู่จัดซื้อ แล้วมาเก็บเงินพร้อมค่าแรง มีกลโกงของอู่กับการบวกค่าอะไหล่เกินจริง หลายคนพอจะทราบ แต่ทำใจจ่ายเงินได้ แต่มีบางคนเท่านั้นที่ต้องโวย เพราะถูกบวกเกินเป็นเท่าหรือหลายเท่าตัว แวดวงอู่ซ่อมรถในไทย กับการบวกค่าอะไหล่ กลายเป็นเรื่องปกติ ทั้งที่ไม่ปกติและควรขจัดให้หมดไป แต่ในความเป็นจริงก็พอจะสรุปได้ว่า ไม่มีวันหมด และยากแก้ไข อ่านเรื่องราวและเหตุผลที่ทำให้เป็นเช่นนั้น

++การให้อู่ซื้ออะไหล่ให้ เป็นสาเหตุสำคัญ++

เจ้าของรถส่วนใหญ่ ไม่มีความรู้เรื่องรถลึกพอจะจัดซื้ออะไหล่ให้อู่ได้ หรือถึงจะได้ แต่มักไม่มีเวลาเดินทางไป-มาเพื่อซื้ออะไหล่ อู่เองก็ขาดความคล่องตัวและเสียเวลาในการทำงาน ถ้าเมื่อถอดชิ้นส่วนออกมาดูแน่แล้วว่าเสีย แต่ต้องรอลูกค้าซื้ออะไหล่ให้ การอู่จัดซื้อให้จะสะดวกกว่า เพราะมีการซื้อ-ขายกับร้านอะไหล่กันมานานแล้ว บางครั้งโทรศัพท์สั่งก็ได้ และอู่ก็มีความเชี่ยวชาญในการเลือกอะไหล่ (ถ้าสุจริตใจ)

นับเป็นเรื่องปกติที่การซ่อมรถในอู่กว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนลูกค้าจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของอู่ในการจัดซื้ออะไหล่ จึงเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการบวกราคาค่าอะไหล่อย่างง่ายดาย ใบเรียกเก็บเงินค่าอะไหล่กับลูกค้า มี 2 แบบ คือ ใบเสร็จจากร้านอะไหล่ หรือใบเสร็จค่าอะไหล่รวมค่าแรงที่ออกโดยอู่ ง่ายทั้ง 2 แบบที่จะลงราคาอะไหล่เกินจริง เพราะอู่ก็คุ้นเคยอยู่กับร้านอะไหล่ๆ เองก็ทราบวงจรการโกงนี้อยู่แล้ว

++ความโลภ และลดตัวเลขค่าแรง++

เงิน ใครๆ ก็อยากได้ ยิ่งโกงง่ายก็ยิ่งทำให้คนดีกลายเป็นคนโกงได้ง่ายตามไปด้วย ทางอู่เห็นว่าการจัดซื้ออะไหล่ให้ ควรมีค่าจัดซื้อหรือค่าเสียเวลาบ้าง แต่ในเมื่อไม่สามารถแยกรายการเก็บเงินกับลูกค้าได้ จึงรวบรัดบวกเข้าไปในค่าอะไหล่ แต่ก่อนบวกกันห้าสิบบาทร้อยบาท หรือห้าเปอร์เซ็นต์สิบเปอร์เซ็นต์ต่อชิ้น ก็สมเหตุสมผลแล้ว เพราะอาชีพช่าง คือ ขายแรงงาน รับเงินจากค่าแรงค่าฝีมือ

บวกเล็กบวกน้อยมาเรื่อยๆ เมื่อลองเพิ่มการบวก ลูกค้าก็จับไม่ได้ หรือไม่สนใจจะจับผิด บวกกับความโลภ ต่อมาอู่ก็บวกค่าอะไหล่ตามอำเภอใจ ไม่มีเปอร์เซ็นต์แน่นอน (บางอู่บวกมาก-น้อยตามความอยากใช้เงินในช่วงเวลานั้น) โดยจะเดาดูว่าอะไหล่ชิ้นนั้นซื้อมาในราคาถูกมากไหม และคิดต่อไปว่าคนส่วนใหญ่จะคิดว่าเป็นชิ้นที่มีราคาแพงหรือไม่ ถ้าซื้อมาถูก แล้วใครๆ ชอบมองว่าชิ้นนี้น่าจะแพง ก็จะบวกราคามาก แต่ถ้าซื้อมาแพงและดูเป็นอะไหล่พื้นๆ ก็จะบวกราคาแค่เล็กน้อย

หากเป็นรถยี่ห้อแพงดูหรู เช่น เบนซ์ ถ้าบังเอิญว่าซื้ออะไหล่มาราคาถูก ก็จะบวกราคาเข้าไปเต็มเหยียด เพราะลูกค้าเองก็คิดว่าอะไหล่เบนซ์จะต้องแพง ถ้าบวกน้อยแล้วราคายังต่ำ ลูกค้าอาจจะโวยวายได้ว่าซื้ออะไหล่คุณภาพต่ำมาให้ โดยสรุปก็คือ การบวกค่าอะไหล่น่าจะเพิ่มแค่เล็กน้อย ถือเป็นค่าอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า แต่เมื่อไม่มีใครจับได้ผสมกับความโลภ ก็จะบวกกันมากขึ้นจนสูงเท่าที่ลูกค้าจะไม่สงสัย

บางอู่บวกค่าอะไหล่ไว้มาก จึงใช้วิธีดึงดูดลูกค้าด้วยการคิดค่าแรงไม่แพง หรือต่ำกว่าปกติเล็กน้อยด้วยซ้ำ เช่น จริงๆ ควรคิดค่าแรง 1,500 บาท ก็คิดค่าแรงแค่1,000 บาท แต่ได้กำไรจากการบวกค่าอะไหล่อีกเป็นพันบาท ลูกค้าส่วนใหญ่เห็นค่าแรงถูกๆ ก็ชอบ ทำให้บางอู่ที่คิดค่าแรงตามจริง แต่บวกค่าอะไหล่น้อยหรือไม่บวกเลย ถูกลูกค้ามองว่าคิดค่าแรงแพง ไม่น่าเข้าไปทำ จึงทำให้หลายอู่ที่ซื่อสัตย์ต้องทำตาม คือ บวกค่าอะไหล่ไว้เพียบ แล้วจูงใจด้วยค่าแรงถูก อีกประเด็นสำคัญที่ทำให้เกิดการบวกอะไหล่ก็คือ ความง่ายในการโกงแค่เขียนตัวเลขเท่านั้น


++ อู่ไม่รู้สึกผิด ไม่กลัวถูกจับได้++

เจ้าของอู่จะคิดเข้าข้างตัวเองว่า อู่ไหนก็ทำ จึงไม่รู้สึกผิด และคิดเข้าข้างตัวเองอีกว่า การบวกค่าอะไหล่เป็นการชดเชยการคิดค่าแรงถูกไม่กลัวถูกจับได้ เพราะมีลูกค้าน้อยคนมากที่สงสัยและต้องเสียเวลาไปเช็คราคาอะไหล่ ซึ่งร้านอะไหล่ส่วนใหญ่ก็มักไม่อำนวยความสะดวก ไม่อยากเสียเวลา ส่วนใหญ่จะชะล่าใจและทำใจคิดว่าอู่บวกค่าอะไหล่ไม่มาก ถือว่าเป็นค่าจัดหาเพิ่มความสะดวก ถ้าลูกค้าที่เข้มงวดกับเรื่องนี้จริงๆ มักจะตั้งเงื่อนไขแต่แรกว่าจะซื้ออะไหล่เอง (ซึ่งมีน้อยอู่ที่ชอบลูกค้าแบบนี้)

++อย่าคิดว่าจะบวกแค่10-20 %++

ตามที่บอกไว้ข้างต้น คือ ถ้าทางอู่มีความโลภ ก็จะบวกเต็มที่ เน้นแค่ไม่ให้แพงจนลูกค้าสะดุ้ง เอะใจจนเกิดเรื่องทะเลาะกัน หรือลูกค้าไปสืบเสาะราคาจริง ความแน่นอนจึงไม่มี บางชิ้นจึงบวกแค่ไม่กี่สิบบาท (แต่รวมกันแล้วหลายร้อย) คิดเป็น 10-20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่บางชิ้นอาจจะถูกบวกกว่าเท่าตัว หรือ 3 เท่าตัวก็มี (พิมพ์ไม่ผิด 3 เท่าตัว) เช่น ซื้อมา 120 บาท ลงรายการรับเงินจากลูกค้า 380 บาท โดยเฉพาะรถที่คนเชื่อกันว่าราคาอะไหล่แพงหรือเป็นรถหรู

ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วมีอะไหล่จากซัพพลายเออยี่ห้อดังขายในราคาถูกเช่น เบนซ์ บีเอ็มฯ ฮอนด้า โดยเฉพาะเบนซ์นั้น อู่เห็นว่าลูกค้ามักจะมีเงินและตัวลูกค้าเองก็มักไม่มีความรู้เรื่องรถและฝังใจว่ารถตนเองหรู อะไหล่ก็ต้องแพงเป็นธรรมดา ในขณะที่ราคาอะไหล่เบนซ์นอกศูนย์ฯ ตามร้านทั่วไปถือว่าถูกมากเมื่อเทียบกับระดับตัวรถ อู่จึงมีช่องบวกราคาได้ 2-3 เท่าตัว ถ้ าใครใช้เบนซ์แล้วไม่เคยซื้ออะไหล่เอง ลองไปถามราคาจากร้านอะไหล่เบนซ์ทั่วไป เมื่อทราบราคาจริงแล้วจะสุดแค้นว่าทำไมบางอู่ถึงบวกราคาอะไหล่กันมากอย่างนี้

++ยากแก้ไขและลบล้าง การบวกอะไหล่ของอู่ไทย++

ด้วยหลายเหตุผล เพราะเจ้าของรถ ไม่มีความรู้มากพอจะซื้ออะไหล่ได้ดี หรือไม่มีเวลาว่างพออู่ขาดความคล่องตัวและเสียเวลารออะไหล่ ถ้าลูกค้าจัดซื้อเอง หลายอู่ไม่อยากซ่อมรถให้ ถ้าลูกค้าซื้ออะไหล่เอง เพราะจะได้กำไรน้อยกว่าเดิมมาก ค่าแรงก็คิดเพิ่มไม่ได้ ราคาอะไหล่ ถึงจะชิ้นเดียวกันยี่ห้อเดียวกัน แต่ต่างร้านก็อาจไม่เท่ากัน

คำถามที่ตามมา คือ จะให้ทำอย่างไร ถ้าเลือกจะซ่อมรถตามอู่ แต่ไม่อยากถูกบวกค่าอะไหล่ คำตอบ คือ พยายามเลือกอู่ที่พิสูจน์คร่าวๆ แล้วว่า บวกค่าอะไหล่ไม่มาก ก็คงมีคำถามตามมาอีกว่า จะเลือกจะพิสูจน์ได้อย่างไร ไม่ง่ายครับ

เพราะต้องเอารายการไปเปรียบเทียบราคากับร้านอะไหล่ ซึ่งร้านฯ ก็มักไม่เสียเวลาทำให้ เพราะไม่ได้ประโยชน์อะไรและอาจเป็นการสร้างศัตรู หากลูกค้าเอาชื่อร้านอะไหล่ไปอ้างตอนเถียงกับอู่ หรือการเทียบก็อาจไม่ชัดเจน ถ้าเป็นอะไหล่ทดแทนหรือเทียม ที่มีให้เลือกหลายยี่ห้อ ในใบรายการจากอู่ก็มักไม่มีรายละเอียดมากไปกว่าการระบุว่าเป็นอะไหล่ชิ้นใด

เกริ่นตั้งแต่หัวเรื่องว่า การบวกค่าอะไหล่ เป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ในเมืองไทย และน่าสงสารลูกค้าอย่างมากที่หลายอู่บวกราคาอะไหล่มากถึง 2-4 เท่ากันบ่อยๆ (เกิดขึ้นจริงและไม่น้อย) และไม่เกิดเรื่อง แต่ลูกค้าจะซื้ออะไหล่เองก็ยุ่งและทำไม่เป็น ถ้าอู่จะคิดค่าแรงแพงตามจริงก็ไม่ยอม ผิดที่อู่เป็นหลักที่โลภมาก และผิดที่ลูกค้าบางส่วนที่สบายใจเมื่อเห็นเรียกเก็บเงินด้วยค่าแรงถูกๆ และไม่มีองค์กรใดควบคุมได้ แม้แต่ สคบ. เพราะตัวอะไหล่เอง มีราคาแตกต่างกันในแต่ละร้าน และอู่จะถูกตรวจสอบเมื่อลูกค้าสะกิดใจในราคาเท่านั้น อู่ที่ไม่หน้ามืดก็มักจะมีความรอบคอบในการโกงอยู่เสมอในการบวกราคาอะไหล่ไม่ให้ลูกค้าเอะใจ

บทความนี้ไม่ได้บอกว่าทุกอู่จะโกงอย่างนี้ และไม่ได้หวังจะแก้ไขได้ เพราะมีหลายตัวแปรข้างต้นที่ทำให้การบวกอะไหล่ยากจะหมดไปจากเมืองไทย
 

ไฟล์แนบ

  • Image.jpg
    Image.jpg
    8.7 KB · อ่าน: 48
สารพันเทคนิค"การเบรก"

ดูเหมือนว่าการขับรถกับการเบรกเป็นเรื่องง่าย แค่กดแป้นเบรก ทิ้งระยะห่างให้เหมาะสม แต่ในความเป็นจริง มีสารพันเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการเบรกที่จะทำให้การขับรถปลอดภัยขึ้น

ถ้ามีเวลาเหลือควรเหลือบตามองรถคันที่ตามมาด้วยว่า เขาน่าจะเบรกทันหรือไม่ ถ้าดูเหมือนจะไม่ทัน เราก็เบรกเบานิดให้ชิดรถคันหน้าอีกหน่อยก็ยังดี การถูกชนท้าย เราไม่ผิด แต่เสียเวลาและรถพัง การเบรก ถ้ากดแป้นเบรกแต่เนิ่นๆ ก็สามารถใช้ไฟเบรกเตือนผู้ขับรถคันตามมาได้ โดยแตะเบรกให้ไฟเบรกสว่างขึ้น ถอนเท้าสักนิดให้ไฟเบรกดับแล้วกดซ้ำเพื่อให้ไฟเบรกกระพริบเป็นการกระตุ้นเตือน การตรวจสอบไฟเบรกคนเดียว ทำได้โดยจอดให้ท้ายรถชิดกำแพงตอนมืด กดแป้นเบรก แค่นี้ก็ตรวจว่าหลอดไฟเบรกขาดหรือไม่ ด้วยตัวเองได้แล้ว

การติดตั้งระบบเสริมให้ไฟเบรกกระพริบได้ เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ เพราะจะสร้างความสับสนขึ้นได้ ไฟเบรกไม่ได้สว่างหรือกะพริบตามการกดแป้นเบรกจริงๆ ในคราวคับขันกับการเบรกที่ได้ระยะทางสั้นและปลอดภัย คือ เบรกจนล้อเกือบล็อก (ถ้ามีเอบีเอสก็ต้องเบรกจนเอบีเอสเกือบทำงาน) ทำได้โดยหัดทำบนถนนกว้างๆ และไม่มีรถคันอื่นใกล้ๆ (เอบีเอส คือ ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ดังนั้นในครั้งที่เบรกแล้วล้อไม่ล็อก ก็ไม่เกี่ยวอะไรกัน)

ระบบจะทำงานเมื่อล้อเริ่มล็อก โดยจะคลายการจับของผ้าเบรกแล้วกดซ้ำสลับกันถี่ๆ หลายครั้งต่อ 1 วินาที และจะมีการสะท้อนถี่ๆ ที่แป้นเบรกพร้อมกับอาจจะมีเสียงกึงกังถี่ๆ ตามการจับ-ปล่อย ให้ได้ยิน จึงไม่ต้องตกใจ หากเอบีเอสทำงาน เอบีเอสไม่ได้ทำให้รถเบรกดีหรือมีระยะเบรกสั้นลง เพราะประสิทธิภาพการเบรกตามปกติที่ล้อไม่ล็อก ต้องขึ้นอยู่กับระบบเบรกพื้นฐาน ไม่เกี่ยวกับเอบีเอสเลย เอบีเอสจะช่วยเมื่อมีการเบรกกะทันหันหรือบนถนนลื่นเท่านั้น เพราะถ้าล้อล็อกขณะที่รถยังไม่หยุดนิ่ง จะทำให้ไม่สามารถบังคับทิศทางด้วยพวงมาลัย รถจะไถลไปทางไหน ก็ต้องไป โอกาสชนย่อมสูงครับ ถ้าเอบีเอสได้ทำงาน ระยะเบรกอาจจะยาวขึ้นก็เป็นไปได้
ไม่ใช่มีแล้วเบรกจะดีหรือระยะสั้นลง
 

ไฟล์แนบ

  • Image11.jpg
    Image11.jpg
    9.4 KB · อ่าน: 47
เปรียบเทียบการทำงานของเอบีเอสแบบง่ายๆ ว่าคนกำลังวิ่ง หากจะหยุดเร็วๆ แบบฉับพลัน ถ้าไม่มีเอบีเอสแล้วพื้นแห้ง ก็เท่ากับหยุดซอยเท้าเกือบจะทันที พื้นรองเท้าก็ครูดกับพื้นไปไม่ไกล แต่ถ้าเป็นพื้นน้ำแข็งลื่นๆ การหยุดซอยเท้าในทันที ตัวจะยังพุ่งไป ทั้งที่เท้าหยุดลงแล้ว ก็จะลื่นไถลไปไกลแบบเคว้งคว้าง ถ้ามีเอบีเอส ก็จะเหมือนมีการค่อยๆ ชะลอการซอยเท้าสักพักแล้วจึงหยุดนิ่ง แม้จะหยุดบนน้ำแข็งก็จะไม่ปัดเป๋ แต่ถ้าจะหยุดพื้นเรียบและฝืด การชะลอการซอยเท้าให้ช้าลง ค่อยๆ ช้าลง อาจใช้ระยะมากกว่าการหยุดทันทีและปล่อยให้พื้นรองเท้าครูดไปสั้นๆ การขับรถที่มีเอบีเอสก็อย่าชะล่าใจ เพราะช่วยได้ในบางสถานการณ์เท่านั้น การเบรกในสภาพถนนเมืองไทยกว่า 95% เอบีเอสไม่ได้ทำงาน

แต่การที่มีเอบีเอส ย่อมดีกว่าไม่มี ถ้ามีโอกาสเลือกซื้อรถที่มี ก็ไม่ควรมองข้าม เพราะเอบีเอสไม่ได้ช่วยตอนเบรกแรงๆ เท่านั้น เบรกเกือบแรง แต่ถนนลื่น ล้อก็ล็อกและเอบีเอสก็ช่วยได้ ถนนที่ลื่น ไม่ได้เกิดจากฝนตกเท่านั้น ถ้ามีฝุ่นทรายมาก ถนนก็ลื่นได้ การป้องกันล้อล็อก ไม่ได้ช่วยเฉพาะถนนลื่นๆ ตลอดทั้งพื้นเท่านั้น

แต่การลื่นเฉพาะล้อ ไม่ครบทั้ง 4 ล้อ หากมีการเบรกแรงสักหน่อย ล้อก็มีโอกาสล็อกเฉพาะในล้อที่ลื่น แล้วรถก็หมุน ! เช่น การลงไหล่ทางเฉพาะ 2 ล้อด้านซ้าย ถ้าไม่มีเอบีเอส แล้วกดเบรกแรงๆ รถจะปัดเป๋ เพราะล้อด้านซ้ายจะล็อกตัวหยุดหมุน เอบีเอส ช่วยให้ล้อไม่ล็อก และช่วยไม่ให้รถปัดเป๋ได้ แต่ระยะเบรกอาจยาวได้ในบางกรณี จึงควรเบรกพร้อมกับการหาทิศทางหักหลบ ถ้าจำเป็นต้องหลบ ถ้าต้องเบรกแบบหนักๆ สำหรับรถที่มีเอบีเอส ให้กดเบรกแช่ลงไปเลย เพราะการถอนเท้าเพื่อย้ำเบรกใหม่ เอบีเอสจะตัดการทำงานและกว่าจะกลับมาทำงานก็อีกหลายเสี้ยววินาที

ถ้าไฟเตือนเอบีเอสไม่ยอมดับหลังการบิดกุญแจไว้ 3-5 วินาที หรือสว่างขึ้นขณะขับ แสดงว่าว่าเอบีเอสมีความบกพร่อง ให้ทดลองเบรกบนถนนว่างๆ ว่า น้ำหนักการกดแป้นเบรกและการเบรกยังปกติหรือไม่ ส่วนใหญ่แล้วการที่เอบีเอสบกพร่องจะเป็นแค่ไม่มีการป้องกันล้อล็อก แต่ระบบเบรกพื้นฐานยังใช้งานได้ เป็นเสมือนเป็นรถที่ไม่มีเอบีเอส แต่ยังมีเบรก สามารถขับต่อไปได้ด้วยความระมัดระวัง และนำรถไปซ่อมเอบีเอสต่อไป

การมองไปข้างหน้ากับการเบรกเกี่ยวข้องกัน ยิ่งขับเร็วยิ่งต้องมองไปข้างหน้าในจุดที่ไกลขึ้น เพราะระยะเบรกจะยาวขึ้น ไม่ใช่เพราะความเร็วที่มากจะทำให้เบรกต้องทำงานหนักขึ้น แต่เป็นเพราะแต่ละเสี้ยววินาทีที่ผ่านไป รถได้ผ่านระยะทางมากขึ้นเรื่อย เราใช้หน่วยการวัดที่คุ้นเคยเป็นกิโลเมตร/ชั่วโมง จึงไม่ค่อยรู้ว่าความเร็วที่ใช้นั้นเร็วขนาดไหน เพราะชั่วโมงดูแล้วนานต้องเทียบเป็นวินาที

เปรียบเทียบเป็นหน่วยเมตร/วินาที จะชัดเจนกว่า ที่ความเร็ว 100 กม./ชม. เท่ากับ 28 เมตร/ 1 วินาที ถ้านึกว่า 28 เมตรไกลแค่ไหนไม่ออก นึกถึงสนามฟุตบอลตามยาว จากเสาประตูหนึ่งไปยังอีกฟาก เท่ากับ 100 เมตร 100 กม./ชม. = 28 เมตร/วินาที 1 สนามฟุตบอลตามยาว ใช้เวลารถแล่นผ่าน 3 วินาทีกว่าๆ เท่านั้นที่ความเร็ว 150 กม./ชม. = 42 เมตร/วินาที 1 สนามฟุตบอลตามยาว ใช้เวลารถแล่นผ่านเกือบๆ 2.5 วินาทีเท่านั้นที่ความเร็ว 200 กม./ชม. = 56 เมตร/วินาที 1 สนามฟุตบอลตามยาว ใช้เวลารถแล่นผ่านเกือบๆ 2 วินาทีเท่านั้นระยะทาง / วินาทีที่รถแล่นได้ นอกจากจะโยงไปถึงเรื่องการเบรก ยังอยากจะบอกว่าเวลาขับรถเร็วนั้นๆ และอันตรายขนาดไหน ถ้า 150 กม./ชม. ใช้เวลา 1 วินาทีกับระยะทาง 42 เมตร

สมมุติว่าเราเห็นสิ่งกีดขวางแล้วต้องเบรก หากการตอบสนองของสมองและเท้าขวา ต้องใช้เวลากว่าจะเริ่มกดแป้นเบรกครึ่งวินาที ก็เท่ากับว่ารถแล่นไปอีก 21 เมตรแล้ว ทั้งที่เบรกยังไม่ได้ทำงาน นี่ยังไม่นับว่าผ้าเบรกจะใช้เวลาและระยะทางอีกกี่วินาทีในการหยุด สมมุติต้องใช้ระยะเบรกอีก 30 เมตร ก็รวมเป็น 51 เมตรตั้งแต่ตาเริ่มเห็น


ดังนั้นยิ่งขับเร็วยิ่งต้องมองไกล นั่นก็เป็นที่มาของการมองทะลุกระจกรถคันหน้าด้วย เพราะจะได้ประเมินสถานการณ์ได้ล่วงหน้า การกดแป้นเบรกนับตั้งแต่เริ่มมองเห็น คนส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 0.3-0.5 วินาที

รถที่ไม่มีเอบีเอสกับการเบรกบนถนนลื่น หรือเบรกกะทันหัน ก็ต้องเบรกไม่แรงจนล้อล็อก ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก แต่ถ้าทำได้ ก็จะดี คือ ตั้งสติ เบรกลงไป ถ้าล้อล็อกก็ให้ถอนแป้นเบรกแล้วกดซ้ำๆ หรือเรียกว่าย้ำเบรก ซึ่งยังไงก็ไม่มีความถี่เท่ากับเอบีเอสที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์ควบคุม แต่ก็ยังดีกว่าตะลึงแล้วกดเบรกแช่ เพราะอย่างนั้นล้อจะล็อกหรือรถอาจปัดเป๋ ถ้าว่างก็หาถนนโล่งกว้าง กดเบรกแล้วดูว่ารถที่ขับนั้นกดเบรกแรงแค่ไหนล้อถึงจะเริ่มล็อก ทำซ้ำๆ จนจำแรงกดได้ นั่น คือการเบรกที่ดี การเบรกเพื่อลดความเร็ว คำแนะนำการเบรกที่ง่ายและถูกต้อง แต่อาจจะขัดกับความรู้และการปฏิบัติดั้งเดิมของหลายคน ว่าการเบรกที่ดีต้องเชนจ์เกียร์ แต่ปฏิบัติง่าย คือ เบรกเพียงอย่างเดียว ไม่ต้องยุ่งกับการลดเกียร์ต่ำ หรือพูดแสลงว่า ไม่ต้องเชนจ์เกียร์ช่วย เพราะระบบเบรกก็ทำงานได้เพียงพออยู่แล้ว
 

ไฟล์แนบ

  • Image12.jpg
    Image12.jpg
    12.2 KB · อ่าน: 49
ในหลักการขับรถอย่างปลอดภัยในต่างประเทศแห่งหนึ่ง บอกว่า BRAKE TO SLOW / GEAR TO GO แปลตรงตัว เบรกเพื่อให้ช้า จะไปต่อก็ด้วยเกียร์ที่เหมาะสม การลดเกียร์ต่ำเพื่อใช้เอนจิ้นเบรก หรือใช้เครื่องยนต์ช่วงหน่วงบนทางเรียบ มีประโยชน์น้อยมากและไม่จำเป็นต้องทำ เพราะจะทำให้เสียสมาธิการกดเบรก ระบบเกียร์และเครื่องยนต์สึกหรอมากขึ้น แต่ช่วยในการเบรกได้นิดเดียว สามารถทดลองทำดูว่า ถ้าขับรถอยู่ที่เกียร์สูงแล้วลดเกียร์ต่ำลงอย่างเดียว รถจะถูกหน่วงความเร็วลงน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการกดเบรกอย่างเดียว ที่ทำให้แทบจะหยุดกึ๊กเลย การเบรกพร้อมกับการเชนจ์เกียร์ช่วยเบรก นอกจากแทบจะเปล่าประโยชน์ตามที่บอกไว้ข้างต้นแล้ว ยังทำให้รถมีการถ่ายน้ำหนักหน้า-หลังไป-มา แบบกระดกไปกระดกมาอีกด้วย เบรก มีไว้เพื่อหยุดหรือชะลอ โดยไม่ต้องใช้เกียร์ช่วย ในรถเกียร์ธรรมดา หากจะลดเกียร์ต่ำ ก็เพื่อเตรียมปล่อยคลัตช์เมื่อเลิกเบรกแล้วจะเร่งต่อแล้ว ไม่ใช้การลดเกียร์เพื่อช่วยเบรกในการขับปกติ

การเบรกเพื่อจอด ไม่ต้องยุ่งกับเกียร์เลยครับ ก่อนจอดค้างอยู่เกียร์ไหนก็เกียร์นั้น ในรถเกียร์ธรรมดา แนะนำให้เบรกโดยไม่ต้องยุ่งกับการเชนจ์เกียร์และไม่ต้องแตะคลัตช์ เมื่อรถเกือบหยุดสนิทแล้วค่อยเริ่มเหยียบคลัตช์ลงไปและเหยียบให้สุด เมื่อหยุดแล้วค่อยปลดเป็นเกียร์ว่าง นอกจากการเชนจ์เกียร์ต่ำจะไม่ค่อยได้ประโยชน์แล้ว การเหยียบคลัตช์ลงไปพร้อมๆ กับการเบรก ก็เป็นเสมือนการปลดเกียร์ว่างแล้วเบรก ซึ่งจะทำให้รถไม่มีแรงหน่วงจากเครื่องยนต์ เหยียบเบรกเพื่อจอด ก็เบรกอย่างเดียว เมื่อจะจอดสนิทก็ค่อยเหยียบคลัตช์

ส่วนรถเกียร์อัตโนมัติกับการเบรกเพื่อจอดก็คล้ายกัน เบรกอย่างเดียวไม่ต้องยุ่งกับการลดเกียร์ใดๆ และก็ไม่ควรปลดเป็นเกียร์ว่าง เพราะนอกจากรถจะมีแรงเฉื่อยมากขึ้นแล้ว ยังไม่เป็นผลดีต่อเกียร์ หากรถยังไม่หยุดสนิทแล้วต้องผลักกลับมาที่เกียร์ D-เดินหน้า ชุดคลัตช์ในเกียร์จะทำงานหนักกว่าการออกตัวจากจุดหยุดนิ่ง การเบรกพร้อมกับการเปลี่ยนเลน หรือเปลี่ยนเลนเสร็จแล้วเบรกทันที อันตรายต่อท้ายรถของคุณ


++ เทคนิคการเบรกอย่างปลอดภัย ไม่ยุ่งยากถ้าเรียนรู้และทำความเข้าใจ ++
 

ไฟล์แนบ

  • Image13.jpg
    Image13.jpg
    20.4 KB · อ่าน: 52
ปฏิบัติการ 3 ขั้น เพื่อประหยัดน้ำมัน

นายชวลิต พิชาลัย ผู้อำนวยการสำนักวิเคราะห์แผนพลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ขณะนี้ภาวะราคาน้ำมันมีการผันผวนตลอดเวลา อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้รัฐและผู้ใช้รถต้องแบกรับภาระราคาน้ำมันที่แพงขึ้นอีก

ดังนั้นหนทางที่จะทำให้ผู้ใช้รถจ่ายเงินค่าน้ำมันได้ลดน้อยลง ก็คือการประหยัดน้ำมัน โดยใช้ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด สนพ.จึงมีแนวทางการปฏิบัติ 3 ขั้น มาแนะนำเพื่อช่วยให้ผู้ใช้รถประหยัดน้ำมันได้ ดังนี้


++ปฏิบัติการขั้นที่ 1 "ขาดรถไม่ได้"++

การปฏิบัติขั้นที่ 1 สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องใช้รถทุกวัน มีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
 
++ปฏิบัติการขั้นที่ 2 "ลดใช้รถ"++

การปฏิบัติการขั้นที่ 2 สำหรับบ้านที่มีรถหลาย ๆ คัน หรือ เพื่อนบ้านที่เดินทางไปทำงานเส้นทางเดียวกัน หรือที่หมายใกล้กันมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
 
ตัดป้ายทะเบียน+ ใส่กรอบกว้าง...ผิดไหม ?

การนำป้ายทะเบียนจริงของกรมการขนส่งทางบก ที่มีตัวย่อ ขส มุมล่าง ตัดให้เตี้ยแล้วใส่กรอบยาวที่มีสีขาว 2 ริมนอก ยังโชว์ตัวย่อ ขส ชัดเจนว่าเป็นป้ายฯ จริง เป็นแฟชั่นที่ระบาดในช่วง
2-3 ปีนี้ มีทั้งรับจ้างทำ ทำแบบแนบเนียน งานหยาบ หรือขายแต่กรอบให้นำมาใส่กับป้ายทะเบียนเอง ทำกันเกร่อ บางคนรู้ว่าผิดกฎหมาย แต่อยากสวยจึงทำและลุ้นว่าจะถูกจับหรือไม่ บาง
คนไม่รู้ว่าผิด เพรายังมีตัวย่อ ขส อีกทั้งคนรับจ้างใส่กรอบหรือขาย ส่วนใหญ่ก็บอกว่าไม่ผิดกฎหมาย ลูกค้าจะได้ตัดสินใจเสียเงิน อ่านคำตอบโดยตรงว่า ป้ายทะเบียนตัดใส่กรอบยาว...ผิด
ไหม ? และทิ้งท้ายด้วยคำตอบของผ่ายประชาสัมพันธ์ จากกรมการขนส่งทางบก


ป้ายทะเบียนยาว = การแก้ไขหรือการแต่งรถ
ป้ายทะเบียนรถของแต่ละประเทศทั่วโลก มีความแตกต่างกัน แต่แยกได้เป็น 2 แบบหลัก คือ แบบแคบ (สั้น) เหมือนของไทย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และแบบกว้าง (ยาว) แบบหลาย
ประเทศในทวีปยุโรป รถหลายรุ่นหลายยี่ห้อมีการผลิตและจำหน่ายในหลายประเทศ จึงต้องผลิตกันชนหรือฝากระโปรงให้สามารถติดป้ายทะเบียนให้ได้ทุกแบบ ผู้ผลิตบางรายพิถีพิถันแยก
การผลิตช่องหรือหลุมติดป้ายฯ เป็น 2 แบบ แยกกันเลยตามแต่ประเทศที่จำหน่าย ซึ่งมีความยุ่งยากและสิ้นเปลืองต้นทุนมากกว่าอีกวิธีหนึ่ง คือ ทำเป็นช่องใส่ป้ายกว้างไว้ก่อน จะขายรถใน
ประเทศใดก็สามารถใส่ป้ายทะเบียนได้ จะเป็นป้ายทะเบียนสั้นหรือยาวก็ใส่ได้ทั้งหมด

ถ้ารถที่มีช่องใส่ป้ายทะเบียนกว้าง ถูกในไปขายในประเทศที่เป็นป้ายฯ แคบ เช่นไทย ก็จะมีช่องว่าซ้าย-ขวาเหลือโล่งๆ อยู่ข้างละเกือบครึ่งคืบ เรื่องที่ไม่น่าจะเป็นปัญหาก็คือ บางคนมอง
ว่าไม่สวย เพราะมีช่องว่างเหลืออยู่ริมซ้าย-ขวาของป้ายฯ ในขณะที่หลายคนไม่ได้มองว่าเป็นปัญหา สามารถ ติดป้ายฯ ได้แน่นหนาเป็นพอ จะมีช่องว่างเหลือก็ไม่เห็นเป็นอะไร
ปัญหาสำหรับคนรักสวยรักงามกับช่องว่างที่เหลืออยู่ริมซ้าย-ขวาของป้ายฯ มีความพยายามแก้ไขกันมาหลายรูปแบบ บางคนใจกล้าทำป้ายทะเบียนแบบกว้าง (ยาว) ขึ้นใหม่ คล้ายของทวีปยุโรป พอดีกับขนาดของช่องที่ตัวรถ ใช้แทนโดยตั้งใจไม่ติดป้ายฯ ของทางราชการ ยอมโดนปรับหรือติดสินบนเมื่อถูกจับ ข้อหาไม่ติดป้ายทะเบียนของราชการ (ไม่ใช่ข้อหาป้ายฯ ปลอม
เพราะไม่ได้ทำเลียนแบบและมีตราของทางราชการ) แต่ก็มีคนกล้าทำไม่มาก เพราะสวยก็จริง แต่พร้อมถูกจับกุมได้ทุกเมื่อ ใช้รถอย่างไม่มีความสุข แม้จะปรับหรือติดสินบนไม่แพง แต่น่าเบื่อถ้าโดนจับบ่อยๆ

ในเมื่อกฎหมายไทยระบุให้รถต้องติดป้ายทะเบียนของทางราชการที่มีตัวย่อ ขส อยู่มุมล่าง (ขส = กรมการขนส่งทางบก) แต่มีความต้องการใช้ป้ายทะเบียนกว้าง จึงมีคนคิดดัดแปลง
ให้ป้ายฯ ขส ให้กลายเป็นป้ายฯ กว้าง และยังแสดงตัวย่อ ขส ไว้อย่างชัดเจน โดยทำกรอบป้ายพลาสติกอะครีลิก กว้างเท่ากับช่องกว้างที่ตัวรถ ที่ผิวด้านริมซ้าย-ขวาจะพ่นหรือติดสติกเกอร์สี
ขาวมุกแบบป้ายฯ แล้วเว้นช่องกลางให้ใส เพื่อใส่ป้ายฯ ขส จากด้านหลัง แล้วปิดด้านหลังและซีลกันน้ำเข้า
ผลออกมาจึงมองดูคล้ายว่าเป็นป้ายทะเบียนกว้างทั้งแผ่น แต่ก็ได้แค่คล้าย เพราะสีขาวมุกของป้ายและกรอบ มักไม่กลืนกัน ทั้งกรณีที่สีขาวมุกคนละเบอร์กัน สีป้ายฯ เก่าขาวอมเหลืองแต่
ที่กรอบขาวใหม่เอี่ยม หรือสีคล้ายกัน แต่ก็อยู่คนละชั้นกัน สีขาวบนกรอบอยู่ผิวนอก แต่สีขาวบนป้ายฯ อยู่หลังพลาสติกใส ลึกลงไป 3-5 มิลลิเมตร แม้ไม่ได้สวยมากแบบการทำป้ายฯ กว้างขึ้น
ใหม่ทั้งอัน แต่หลายคนก็คิดว่า สบายใจที่ไม่ผิดกฎหมาย เพราะมองผ่านช่องใสของกรอบ ก็เห็นป้ายฯ ที่มีตัวย่อ ขส อย่างชัดเจน

ในความเป็นจริง ถ้าจะไม่ให้ผิดกฎหมาย ต้องไม่มีการตัดป้ายทะเบียน เพราะราชการระบุขนาดไว้อย่างชัดเจนว่า ป้ายฯ ต้องมีขนาดกี่เซนติเมตรคูณกี่เซนติเมตร แต่การทำกรอบป้ายฯ กว้างส่วนใหญ่ ต้องมีการตัดป้ายฯ เดิมให้เตี้ยลง ไม่งั้นจะไม่สวย ป้ายฯ จะทั้งสูงทั้งกว้างดูเทอะทะ จึงมีการตัดขอบบน-ล่าง หรือตัดทั้งบน-ล่างพร้อมตัดย่นช่วงกลาง เพื่อให้เตี้ยลงมากๆ
เมื่อทำเสร็จป้ายฯ และกรอบจะเป็นทรงเตี้ยแต่กว้าง ดูสวยงาม และยังมีตัวย่อ ขส อยู่มุมล่าง ในขณะที่ชื่อจังหวัดที่มีสระอุ ตัวสระอุจะมองไม่เห็นหรือหายเป็น กลายเป็นกรงเทพมหานคร ไม่ใช่กรุงเทพมหานคร
การทำกรอบป้ายทะเบียนกว้าง แท้จริงจึงเป็นการแก้ไขที่ช่องบนตัวรถกว้างเกินไป ไม่ใช่การตกแต่งรถแต่อย่างไร รถรุ่นใดเป็นช่องแคบพอดีกับป้ายฯ ก็ไม่ต้องเสียใจที่ไม่ได้ใส่กรอบป้ายฯ กว้างใครอยากทำแบบต้องมีการตัดป้ายฯ ก็ต้องยอมรับเมื่อถูกจับ และก่อนจะทำก็ลองดูให้แน่ใจว่า จริงๆ แล้วสีขาวของป้ายฯ กับกรอบนั้นกลมกลืนกันจริงหรือไม่ ไม่ใช่คนละขาวกัน แทนที่
จะสวยกลับดูกระดำกระด่าง


สรุป ตัดป้ายฯ = ผิดกฎหมาย
หลายคนคิดว่าไม่ผิดกฎหมาย ก็แค่ตัดป้ายฯ จริงแล้วใส่กรอบ แต่แท้จริงแล้วผิด แม้จะเหลือตัวย่อ ขส ให้เห็น เพราะมีการตัดเปลี่ยนขนาด ตำรวจสามารถจับได้ทุกเมื่อ ถ้าไม่จับ คือ
อนุโลม แต่ถ้าจับก็เป็นการทำตามกฎหมายปกติ ไม่ได้กลั่นแกล้งอะไร ถ้าขึ้นศาล เจ้าของรถก็แพ้แน่ๆ หมดสิทธิ์ชนะคดี เพราะกฎหมายระบุไว้ชัดเจนถึงขนาดของป้ายทะเบียน ถ้ามีการตัด
เปลี่ยนขนาด ทั้งตัดแค่ขอบบน-ล่าง หรือตัดทั้งบนล่างพร้อมหั่นช่วงกลางแยกเป็น 2 ชิ้น เพื่อย่นให้เตี้ย ล้วนผิดกฎหมาย มีบทลงโทษเป็นค่าปรับชัดเจน
 

ไฟล์แนบ

  • Image15.jpg
    Image15.jpg
    10 KB · อ่าน: 46
ทำไมรถชน....ไฟไหม้บ่อย ?

ระยะหลังมานี้ เมื่อมีข่าวรถชน ทั้งชนกับรถหรือชนกับวัตถุอื่น บ่อยครั้งที่เกิดไฟไหม้ ด้วยความบ่อยที่มีมากกว่าแต่ก่อน ทำให้หลายคนสงสัยว่า ทำไมรถรุ่นใหม่ๆ ถึงไฟไหม้ง่ายขึ้น ทั้งที่เทคโนโลยีทุกด้านก้าวหน้ากว่ารถรุ่นเก่าๆ มาก


พื้นฐานของรถยุคใหม่ดี

ผู้ผลิตรถทุกรายล้วนพยายามหลีกเลี่ยงและป้องกันไม่ให้รถเกิดไฟไหม้ได้ง่าย เพื่อปกป้องทั้งชีวิตคนและชื่อเสียงของตนเอง ซึ่งจะส่งผลต่อยอดขาย เพราะคงไม่มีใครอยากซื้อรถรุ่นที่เสี่ยงต่อไฟไหม้ง่ายแน่ๆ แน่นอนว่าความพยายามนั้น คือ การพัฒนาเทคโนโลยีและระบบต่างๆ ที่ดีและรัดกุมขึ้น เพื่อให้เกิดไฟไหม้ในรถรุ่นใหม่ได้ยากขึ้นกว่ารถรุ่นเก่า

แต่ก็แน่นอนเช่นเดียวกันที่ทั้งหมดเป็นเพียงแค่ลดโอกาสการเกิดไฟไหม้รถ ให้มีเปอร์เซ็นต์ที่จะเกิดน้อยลง ใกล้ 0 เปอร์เซ็นต์ที่สุด แต่ไม่เคยมีผู้ผลิตรถรายใดกล้ายืนยันว่า รถของตนมีไม่มีโอกาสเกิดไฟไหม้หรือปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ รถใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ถ้าน้ำมันเจอกับไฟและอากาศก็กลายเป็นไฟไหม้ (เช่นเดียวกับการนำน้ำมันส่งเข้าไปเผาไหม้ในเครื่องยนต์) พื้นฐานหลักในการพัฒนาก็คือ การออกแบบเลือกตำแหน่งติดตั้งท่อทางเดินน้ำมันให้เสี่ยงน้อยที่สุดต่อการถูกชนจนรั่ว, มีชิ้นส่วนอื่นขวางไว้หากรถเกิดการยุบตัวหลังการชน และเลือกใช้วัสดุท่อน้ำมันที่ทนทานรั่วไหลได้ยาก แต่ไม่ว่าจะเป็นท่อยางหรือท่อโลหะ ถ้าถูกกระแทกแรงเกินขีดจำกัดก็ย่อมรั่วได้ทั้งนั้น

การหลีกเลี่ยงไฟไหม้หลังเกิดอุบัติเหตุ ผู้ผลิตล้วนใช้วิธีจำลองสถานการณ์ของลักษณะการชนขึ้นมาทดสอบให้ใกล้เคียงแล ะครอบคลุมมากที่สุด เช่น ชนด้านหน้า ชนด้านท้าย ชนด้านข้าง ม้วนด้านข้างพลิกคว่ำ ฯลฯ ซึ่งไม่มีทางที่จะครอบคลุมทุกลักษณะการชนจริงที่มีสารพัดได้ อย่างมากก็แค่ใกล้เคียง และบางลักษณะก็ไม่มีการทดสอบ เพราะขึ้นชื่อว่าอุบัติเหตุแล้วย่อมไม่มีลักษณะตายตัว อย่างมากก็เป็นการเก็บสถิติว่าลักษณะใดเกิดบ่อย แล้วก็มีลักษณะที่ไม่เคยพบเกิดขึ้นใหม่เสมอๆ

นอกจากรูปแบบในการทดสอบที่ไม่มีทางครอบคลุมทุกลักษณะของอุบัติเหตุจริง แล้วยังเกี่ยวข้องกับความเร็วในวินาทีที่ชนอีกด้วย ในการทดสอบตามมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ล้วนกำหนดความเร็วอยู่ในช่วง 50-65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพราะวิจัยและเก็บข้อมูลมาแล้วว่าเป็นความเร็ว ณ วินาทีที่ปะทะซึ่งเกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่ แม้ปกติจะขับรถเร็วกว่านี้มาก แต่เกือบทั้งหมดของการชน ผู้ขับจะมีการเบรกก่อน จนวินาทีที่ปะทะความเร็วลดลงเหลือไม่เกิน 50-65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงกลายเป็นการทดสอบชนด้วยช่วงความเร็วนั้นกันทั้งโลก

หลายคนสงสัยว่า ทำไมในเมื่อรถยุคใหม่ขับกันด้วยความเร็วกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเป็นเรื่องปกติ แล้วทำไมการทดสอบชนถึงใช้ความเร็วแค่นั้น คำตอบก็คือเหตุผลข้างต้น และถ้าจะให้รถถูกผลิตขึ้นมาเพื่อรองรับการชนด้วยความเร็วสูงๆ ก็ต้องยอมให้ตัวถังมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมาก จนส่งผลให้อัตราเร่งอืด ถ้าจะคงสมรรถนะไว้ก็ต้องเพิ่มกำลังเครื่องยนต์และเผาผลาญน้ำมันอันเป็นทรัพยากรของโลกมากขึ้นกว่านี้

รวมถึงอาจจะต้องมีโครงโรลบาร์ท่อโลหะสานเกะกะแบบห้องโดยสารของรถแข่ง ที่ต้องรองรับการชนในวินาทีทีปะทะเกินกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงให้ได้ ทั้งรูปแบบการชนที่หลากหลาย ซึ่งอาจไม่เหมือนในการทดสอบ และความเร็ว ณ วินาทีปะทะที่เร็วกว่าการทดสอบ นับเป็นเหตุผลที่สำคัญเมื่อรถเกิดอุบัติเหตุจริง แล้วเกิดไฟไหม้ในบางเหตุการณ์นั่นเอง


ผู้บริโภคจะทำอย่างไร ?

ในเมื่อไม่มีทางที่จะทำให้รถปลอดจากไฟไหม้ได้ หรือไม่ถึงขั้นโอกาสเกิดเป็น 0 เปอร์เซ็นต์ ในแง่มุมของผู้บริโภคจึงมีหน้าที่ขับรถด้วยความไม่ประมาท และทำใจ ! คำว่า... ทำใจ ! ผมไม่ได้เข้าข้างบริษัทรถหรอกครับ แต่เป็นเพราะผมวิเคราะห์ในเชิงวิศวกรรมตามเนื้อหาข้างต้นว่า ยังไงก็ไม่มีทางทำให้รถมีโอกาสเกิดไฟไหม้เป็น 0 เปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าจะเป็นรถรุ่นใดปีใด และไม่ว่าจะผ่านไปอีกกี่ปี ในเมื่อรถยังใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ถ้าชนแรงมากและมีรูปแบบของอุบัติเหตุที่แปลกไปจากการทดสอบ ก็ไม่มีใครรับประกันความปลอดภัยได้

รถเป็นวัตถุที่มีขีดจำกัดในหลายด้าน อย่างเช่น ไม่ว่าจะพัฒนาให้รถมีโครงสร้างที่ปลอดภัยเพียงไร ราคาเป็นสิบๆ ล้าน หรือแม้แต่รถแข่งที่เตรียมพร้อมไว้เต็มพิกัด ถ้าชนแรงมากๆ ก็มีโอกาสตายได้ เช่นเดียวกับกรณีไฟไหม้ แม้ผู้ผลิตรถจะพยายามลดโอกาสเกิด ด้วยหลากหลายพัฒนาการทางเทคโนโลยี เช่น ใช้โครงสร้างตัวถังที่แข็งแกร่ง ซึมซับแรงกระแทกได้ดี ถังน้ำมันผลิตจากวัสดุที่แตกยาก ท่อทางเดินน้ำมันหลบและมีชิ้นส่วนอื่นช่วยป้องกันแรงกระแทก มีการตัดการส่งน้ำมันทันทีที่เครื่องยนต์ดับหรือรถพลิกคว่ำ แต่ทั้งหมดก็เป็นเพียงความสำเร็จในการลดโอกาสเกิดไฟไหม้ให้ใกล้ เปอร์เซ็นต์ที่สุด และก็ยังไม่เห็นผู้ผลิตรถรายใดกล้าออกมายืนยันว่า รถของตนปลอดต่อไฟไหม้ในทุกกรณีของอุบัติเหตุ

เมื่อไรที่เกิดอุบัติเหตุแล้วเกิดไฟไหม้รถ ถ้ามีโอกาสควรแจ้งให้บริษัทรถทราบเพื่อตรวจสอบว่า การชนนั้นรุนแรงเกินกว่าการทดสอบ หรือไฟไหม้เพราะความผิดปกติของการออกแบบและผลิต แม้ว่าผล การตรวจสอบหลังไฟไหม้ ส่วนใหญ่ผู้ผลิตรถจะปัดความรับผิดชอบในกรณีของรถเก่าว่าขาดการดูแลหรือท่อน้ำมันเปื่อย หรือบอกปัดว่า ชนแรงเกินไป รวมถึงไม่สามารถตรวจสอบได้เพราะไฟไหม้จนกลายเป็นซากเกรียมไปหมดแล้ว แต่ก็ยังดีกว่าเราไม่ได้แจ้งให้ตรวจสอบ
ผู้ผลิตรถยุคใหม่ล้วนพยายามลดความเสี่ยงต่อไฟไหม้ แต่ก็ไม่ลดโอกาสเกิดจนเป็น 0 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นอย่าชะล่าใจแม้จะขับรถฝรั่งคันโตราคาหลายล้านบาท เพราะถ้าชนแรงๆ อะไรก็เกิดขึ้นได้ ทั้งตัวถังจะยุบเข้ามากระแทกจนตาย หรือไฟไหม้ก็ล้วนเป็นไปได้ทั้งนั้น !
 

ไฟล์แนบ

  • Image14.jpg
    Image14.jpg
    20.2 KB · อ่าน: 42
"กระจกชอบน้ำ"เทคโนโยลีใหม่ที่ควรรู้จัก

ในช่วงฤดูฝนอุบัติเหตุทางถนนมักเกิดได้ง่ายกว่าในช่วงปกติ เพราะนอกจากพื้นถนนที่ลื่นทำให้ยากแก่การควบคุมแล้ว เม็ดฝนที่เกาะเป็นหยดน้ำบนผิวกระจกยังบดบังทัศนะวิสัยในการมองเห็นของผู้ขับขี่ ยิ่งเฉพาะกระจกข้างรถยนต์แล้วยังมีปัญหาในการลดการเกาะของหยดน้ำมากทีเดียว


แต่ล่าสุดทีมวิจัยกลุ่มฟิลม์บางแสง(optical thin film) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช. ได้พัฒนา
 

ไฟล์แนบ

  • Image33.jpg
    Image33.jpg
    25.8 KB · อ่าน: 41

กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see
ด้านบน