กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see

ไม่รู้จะทำประกันชั้น 1 ที่ไหน? ถามเราสิค๊ะ/ลงประกาศขายกับเราวันนี้ ปักหมุดฟรี 3 เดือน

  • เริ่มกระทู้โดย เริ่มกระทู้โดย kook001
  • วันที่เริ่มกระทู้ วันที่เริ่มกระทู้
รถมือสอง : ซื้อง่ายแต่เลือกยาก

เมื่อคุณคิดจะซื้อรถมือสอง ข้อดีของรถมือสอง คือ ราคาถูก แต่ท่านควรตรวจสอบสภาพรถอย่างละเอียด เพราะรถที่ถูกใช้งานมาแล้วล้วนมีความเสี่ยงต่อสภาพความสึกเหรอของเครื่องยนต์ หากจะซื้อรถมือสองควรตรวจสอบอะไรบ้าง


1. สุมดประวัติประจำรถ
มักไม่ค่อยมี เพราะเจ้าของรถไม่พิถีพิถัน แต่ถ้ามีก็ต้องถือว่ายอดเยี่ยม เพราะสมุดประวัติประจำรถทำให้รู้ว่าเขาตรวจซ่อมอะไรมาบ้าง ตรวจทุกระยะประจำหรือเปล่า

2. เจ้าของรถ
คุณควรดูเจ้าของรถคันเดิมว่าเขาเป็นใครใช้รถอย่างไรดูแลรถหรือไม่ มีคนกล่าวว่า ไม่ควรซื้อรถต่อจากวัยรุ่น ผู้หญิง และคนชรา เพราะว่าทั้งสามประเภทนี้ ใช้รถอย่างเดียวไม่ค่อยดูแลรถที่ใช้อยู่

3. มือที่เท่าไหร่
ก็คือรถคันนี้มีคนเป็นเจ้าของมามากน้อยเพียงใด ถ้าผ่านมาแล้วหลายมือก็ควรไม่ซื้อ เพราะรถอาจจะมีปัญหาได้

4. ตัวเลขระยะทางการใช้รถ
ในการซื้อรถคุณควรดูเลขตัวไมล์โดยปกติการใช้รถไม่ควรจะมากกว่าสามหมื่นกิโลเมตรต่อปี หากมากไปกว่านี้ถือว่ามากอาจทำให้เครื่องยนต์ที่ใช้งานหนัก

5. สภาพภายใน
หมายถีงเบาะนั่ง ระบบไฟฟ้าต่างๆ ต้องใช้ได้ อย่างไรก็ตาม สภาพดีมาก ดีน้อย ย่อมแล้วแต่ผู้ใช้และการดูแลรักษา

6. สภาพภายนอก
ควรดูสภาพตัวถังมีผุพัง สีถลอกปอกเปิก กันชนบุบ ตัวถังงอ ประตูตก บ้างหรือไม่

7. ทำสีมาหรือเปล่า
รถที่ต้องทำสีใหม่ คือ รถที่เก่ามากอายุควรจะเกิน 15 ปีขี้นไป หากทำสีก่อนหน้านั้นก็เท่ากับว่ารถไม่ได้รับการดูแล ในการทดสอบว่าไปทำสีมาหรือเปล่า ก็ลองเคาะเบาๆ ด้วยสันมือ ถ้าเสียงโปร่งก็สีเดิม ถ้าเสียงทึบบ้างโปร่งบ้าง ก็ทำบางส่วน ถ้าทึบหมดก็ทำทั้งคันรถทำสีใหม่สีจะไม่ทน อาจซีด หรือด้านหรือโปร่ง ภายในสองสามปีเป็นอย่างมาก

8. ประวัติรถ
หากสามารถรู้ประวัติการใช้รถของเจ้าของเดิมมาบ้างก็จะดี เพราะจะได้รู้ว่าเจ้าของรถคนเก่าเคยนำรถไปใช้อย่างไร เช่น ไปชนคนตายมาก่อนหรือเปล่า เคยนำรถไปใช้ทำในสิ่งที่ผิดกฎหมายหรือเปล่า เคยประสบอุบัติเหตุร้ายแรงจนน่ากลัวหรือเปล่า ส่งเหล่านี้เราต้องสืบหาเอาเอง

9. ซื้อรถจากเจ้าของดีกว่าซื้อจากเต้นท์รถหรือพ่อค้าคนกลาง
ถ้าซื้อรถจากพ่อคนกลาง พ่อค้าคนกลางอาจโอนเป็นชื่อของตนเองหรือโอนลอยไว้ พวกนี้จะเอาของดีๆ ออกจากตัวรถก่อนจะขาย ก็ได้ เช่น เครื่องเสียง อุปกรณ์ความปลอดภัย อุปกรณ์ประกอบรถอื่นๆ ที่พอจะนำไปขายแยกได้ ส่วนเต๊นท์รถนั้นก็คือพ่อค้าคนกลางเหมือนกันแต่เจ้าเล่ห์มากกว่า และมักจะขายราคาแพงกว่าท้องตลาดประมาณ 25,000-50,000 บาทต่อคัน เวลาจะซื้อรถคุณควรดูให้มั่นใจเสียก่อน ก่อนจะตัดสินใจซื้อ

10. หากซื้อรถจากเต้นท์จะต้องนำรถออกทันที
คุณอย่าไปวางเงินแล้ววางใจ ไม่อย่างนั้น เครื่องเสียง ล้อแม็กซ์ ยาง เครื่องยนต์ และอื่น ของคุณอาจจะถูกเปลี่ยนไป โดยที่คุณเองก็อาจทำอะไรก็ไม่ได้

11. ต้องรีบโอนรถให้เรียบร้อย
ถ้าคุณซื้อรถจากเจ้าของแล้วควรนำรถออกทันที แต่ถ้าซื้อรถจากเต๊นท์จะต้องทำสัญญาซื้อขายให้ดี ขอใบเสร็จรับเงินให้เรียบร้อย ถ้านัดไปโอนทะเบียบภายหลังจะต้องกำหนดเวลาการโอนในสัญญาซื้อขายอย่างแน่นอน
 

ไฟล์แนบ

  • Image34.jpg
    Image34.jpg
    38.6 KB · อ่าน: 52


GPS ของเล่น หรือ จำเป็น


Navigator หรือ GPS ไม่ว่าจะเรียกแบบใด ขอให้เข้าใจกันเป็นภาษาไทยง่ายๆ ว่าคือ ระบบแผนที่นำทาง ซึ่งในปัจจุบันเราเริ่มเห็นคนหันมาใช้งานกันมากขึ้น รวมถึงเริ่มมีผู้จำหน่ายมากมายพร้อมกับการอวดอ้างสรรพคุณการใช้งานได้อย่างล้นฟ้า ทั้งที่ความจริง เรารู้หรือไม่ว่า ประโยชน์ของการใช้งานมันเป็นอย่างไร

จึงขอนำเสนอเรื่องราวเกร็ดความรู้บางส่วน (เพราะความรู้จริงมีเยอะมากมายเหลือคณานับ) เกี่ยวกับเจ้าเครื่องมือนำทาง แล้วดูว่าสุดท้ายมันจะเป็นแค่ของเล่นหรือจำเป็นต้องมีไว้ใช้


GPS คืออะไร

GPS ย่อมาจากคำว่า Global Positioning System คือระบบนำทางโดยอาศัยการระบุพิกัดตำแหน่งต่างๆ ที่อยู่บนโลกจากสัญญาณดาวเทียม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ประโยชน์จากระบบ Global Navigation Satellite System หรือดาวเทียมสำรวจซึ่งโคจรอยู่รอบโลก

จุดกำเนิดของเจ้า จีพีเอสเกิดจากความบังเอิญของนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกาได้แอบติดตามการทำงานของดาวเทียมสปุตนิก ของโซเวียต ตั้งแต่เมื่อปี 1957 แล้วพบ การสะท้อนกลับของคลื่นไมโครเวฟ ระหว่างดาวเทียมและพื้นผิวโลก แน่นอนเมื่อเรารู้ตำแหน่งบนพื้นโลก เราก็สามารถระบุตำแหน่งของดาวเทียมบนอวกาศได้ ดังนั้นในทางกลับกันดาวเทียมก็สามารถระบุตำแหน่งต่างๆ บนพื้นโลกได้เช่นกัน เมื่อมันโคจรผ่านตำแหน่งนั้น

เมื่อรู้เช่นนี้จึงพัฒนาต่อมาเป็นระบบนำทางในชื่อ จีพีเอส โดยมีกองทัพเรืออเมริกานำไปใช้ทดลองนำทางเรือรบของตัวเองเป็นครั้งแรก แล้วพัฒนามาสู่การใช้งานแบบสาธารณะ


ทำงานอย่างไร

การทำงานของระบบจีพีเอส นั้นแสนง่ายดาย โดยเราขอทำความเข้าใจก่อนว่าจีพีเอส แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ฮาร์ดแวร์ หรือตัวเครื่องจีพีเอส และ ซอฟแวร์ หรือระบบปฏิบัติการ (เหมือนคอมพิวเตอร์)

ตัวเครื่องจะทำหน้าที่เป็นเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม ส่วนระบบปฏิบัติการจะแสดงผลให้ทราบ คือเมื่อเราได้เจ้าตัวนำทาง GPS มา แค่เปิดเครื่องแล้วทำตามคำแนะนำของคู่มือ หรือจะถามจากพนักงานขายก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด โดยแต่ละรุ่นจะมีฟังก์ชั่นการทำงานยาก-ง่าย ซับซ้อนแตกต่างกัน

ประโยชน์ของเจ้าจีพีเอส คือ ความสามารถในการระบุตำแหน่งที่ตั้งต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ เช่นตำแหน่งที่อยู่ปัจจุบันของเรา พร้อมทั้งแสดงแผนที่หรือนำทางไปยังจุดหมาย อย่างรวดเร็วโดยไม่หลงทาง แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับซอฟแวร์ด้วยว่า มีข้อมูลอัพเดตเพียงไร เนื่องจากมีถนนตัดใหม่เกิดขึ้นอยู่เป็นระยะๆ

นอกจากความสามารถในการระบุตำแหน่งแล้ว อนาคตระบบจีพีเอส ยังจะสามารถบอกถึงสภาพการจราจรและแนะนำเส้นทางที่โล่งให้แก่เราได้ อีกทั้งในทางทฤษฎีระบบจีพีเอสยังสามารถช่วยเราติดตามรถ หากเกิดกรณีถูกลักขโมยไป เพราะมันจะสามารถระบุตำแหน่งที่อยู่ได้อย่างชัดเจน (ให้ลองนึกถึงเวลาเครื่องบินตกแล้วมีการติดตาม หรือนาฬิกาบางยี่ห้อที่มีการนำระบบจีพีเอส นี้ติดตั้งไว้สำหรับกรณีขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน)
 

ไฟล์แนบ

  • Image19.jpg
    Image19.jpg
    22.8 KB · อ่าน: 57
มีกี่แบบ

ปัจจุบันตลาดของเจ้า จีพีเอส นั้นมีผู้ผลิตอยู่หลากหลายยี่ห้อ ซึ่งต้องแยกเป็น 2 ส่วนด้วยเช่นกันคือ ฮาร์ดแวร์ และซอฟแวร์

สำหรับฮาร์ดแวร์ มีหลายรูปแบบซึ่งพอแบ่งหลักๆ ได้เป็น 2 ชนิด แบบพอร์ตเทเบิ้ล คือพกพาไปไหนมาไหนได้ ซึ่งจะมีทั้งอยู่ในรูปแบบใช้งาน จีพีเอส อย่างเดียว เช่นยี่ห้อ การ์มิน(Garmin) ผู้นำตลาดในเมืองไทย ระดับราคาตั้งแต่ 1 หมื่น-2 หมื่นกว่าบาท หรือ แบบพีดีเอ (PDA) ใช้งานได้หลากหลายทั้งโทรศัพท์ เก็บข้อมูล อาทิ ยี่ห้อ อาซุส (Asus) ราคาประมาณ 2 หมื่นบาท เป็นต้น

และอีกชนิดเป็น แบบ 2DIN ติดตั้งสำเร็จในรถ พร้อมระบบมัลติมิเดียครบครัน วิทยุ-ซีดี-ดีวีดี เช่น ยี่ห้อ ไพรโอริตี้ และอัลไพน์ ราคาประมาณ 4 หมื่นกว่าบาท หรือติดตั้งสำเร็จรูปมากับรถยนต์ เช่นโตโยต้า คัมรี่ และฮอนด้า แอคคอร์ด รุ่นเนวิเกเตอร์ เป็น

ส่วนซอฟแวร์ มีผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการแผนที่ในเมืองไทยอยู่ 2 เจ้าหลัก บริษัท ซอฟต์แม็บ(Soft map) และบริษัท อีเอสอาร์ไอ (ESRI) ซึ่งจะขึ้นอยู่กับแต่ละฮาร์ดแวร์เป็นผู้เลือกใช้ โดยเมื่อซื้อแล้วเราสามารถเข้าไปอัพเดตข้อมูลแผนที่ใหม่ๆ ได้ทุกปี หรือตามแต่เราต้องการ

ทั้งนี้อาจจะฟรีหรือต้องมีเสียค่าบริการบ้างประมาณครั้งละ 1-2 พันบาท แล้วแต่ข้อตกลงระหว่างกันของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ โดยก่อนซื้อเราสามารถสอบถามกับผู้จำหน่ายได้โดยตรงถึงการบริการตรงจุดนี้

ด้านความนิยมสอบถามจากผู้ใช้หลายท่าน ซอฟแวร์ ของ ESRI จะดูง่าย,ชัดเจนและมีรายละเอียดมากกว่า รวมถึงรูปแบบการแสดงผลหลากหลาย พร้อมทั้งเวอร์ชั่นถนนตัดใหม่อัพเดตล่าสุดตามความเป็นจริง จากการเดินสำรวจตลาดพบว่า ฮาร์ดแวร์ที่ใช้ซอฟแวร์ของ ESRI จะมีราคาสูงกว่าพอสมควร
 

ไฟล์แนบ

  • Image13.jpg
    Image13.jpg
    19.1 KB · อ่าน: 51
จำเป็นไหม

เห็นประโยชน์หลายหลากของเจ้าระบบจีพีเอส แล้วหลายท่านคงนึกว่า มันต้องจำเป็นแน่นอน แต่จากการทดลองใช้ ทำให้เราพบว่า หากเป็นเส้นทางคุ้นเคยหรือรู้อยู่แล้ว เจ้าจีพีเอสไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด ซึ่งจะตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิงหากเรากำลังจะเดินทางไปในจุดที่ไม่เคยไปมาก่อน เจ้าจีพีเอสจะมีประโยชน์อย่างมาก และจะขาดไม่ได้หากเป็นการเดินทางในถนนเปลี่ยวหรือกลางค่ำกลางคืน ไม่อาจสอบถามใครได้ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับซอฟแวร์อัพเดตข้อมูลถนนใหม่ๆ ครบถ้วนด้วย
 

ไฟล์แนบ

  • Image12.jpg
    Image12.jpg
    18.3 KB · อ่าน: 49
พารถ(สุดที่รัก)ไปติดฟิล์มกรองแสง(ตอนที่1)

เป็นที่รู้กันดีว่าฤดูกาลต่างๆในบ้านเรานั้น แปรปรวนเสียยิ่งกว่าการเมืองและเศรษฐกิจ เดี๋ยวหนาวเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวฝนตกถึงแม้ว่าในช่วงเดือนนี้จะเพิ่งเริ่มต้นฤดูร้อนแต่ทุกท่านต้องเตรียมใจไว้เลยว่าแต่ละปีนั้นอุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะการกระทำของมนุษย์กว่า 90 % ทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการตัดต้นไม้ การเผาป่า กิจการอุตสาหกรรมต่างๆ ฯลฯ และไม่ว่าอากาศจะเป็นเช่นไรคนเราก็ต้องดำเนินชีวิตอยู่ภายนอกวันละหลายชั่วโมง ยิ่งเวลาที่ต้องอยู่ในรถยนต์พร้อมอากาศร้อนๆแล้วอาจจะทำให้เกิดความเครียด อารมณ์เสียขึ้นมาได้ง่ายๆ เรียกได้ว่าทรมานจิตใจเลยทีเดียว ยิ่งบรรดาคุณผู้หญิงที่รักสวยรักงามด้วยแล้วแสงแดดที่ส่องผ่านกรจะมานั้นทำให้ผิวเสียได้ง่ายๆจนถึงขั้นเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังเลยทีเดียว

ดังนั้นวิธีการทำให้เราอยู่ในรถได้อย่างสบายกายคือ การใช้ความเย็นจากเครื่องปรับอากาศ ซึ่งก็คงต้องมีประสิทธิภาพดีๆ ไว้สู้กับความร้อน แต่ก็ต้องเสริมด้วยวิธีป้องกันความร้อนจากภายนอก ไม่ให้เข้าสู่ภายใน ก็คือการติดฟิล์มกรองแสงหรือฟิล์มกันความร้อนนั่นเอง ซึ่งในเมืองร้อนอย่างเรา รถกว่า 90% ต้องติดฟิล์มกรองแสง กันทั้งนั้น

แต่คุณรู้หรือไม่ว่าการติดฟิล์มกรองแสงนั้นก่อนอื่นต้องมาทำความรู้จักกับหน้าที่ของมันและคุณประโยชน์ที่เราจะได้รับ ซึ่งจะอธิบายให้คุณเข้าใจพร้อมถึงวิธีการเลือกฟิล์มกรองแสงที่มีคุณภาพด้วยตัวคุณเอง


**รู้จักฟิล์มกรองแสง**

ฟิล์มกรองแสง คือ ฟิล์มพลาสติก ซึ่งส่วนใหญ่ทำมาจากโพลิเอสเทอร์ เหนียว มีความบาง เรียบ ไร้รอยย่น และสามารถแนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกับกระจกที่นำฟิล์มไปติด ซึ่งยึดติดอยู่บนกระจกได้ด้วยกาวที่มีความใส ไม่ทำให้ภาพที่มองผ่านฟิล์มบิดเบือน (distortion) โดยปกติแล้วฟิล์มกรองแสงทำหน้าที่ในการลดหรือกรองแสงสว่างที่ผ่านเข้ามาทางกระจก ดังนั้น ฟิล์มกรองแสงทั่วไปจึงมีการย้อมสีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะการกรองแสงสว่างเท่านั้น แต่ฟิล์มกรองแสงที่มีคุณภาพดีกว่าฟิล์มกรองแสงทั่วไปจะต้องสามารถลดความร้อนและรังสีอัลตราไวโอเลตที่เป็นสาเหตุของการซีดจางของสี และบ่อเกิดของปัญหาทางสุขภาพได้ด้วย
 

ไฟล์แนบ

  • Image20.jpg
    Image20.jpg
    17.5 KB · อ่าน: 47
ประเภทของฟิล์มกรองแสง

1 ฟิล์มย้อมสี (Dyed Film) เป็นฟิล์มที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นต่ำ โดยจะนำสีมาย้อมที่กาวโพลีเอสเตอร์ มีคุณสมบัติในการกรองแสงได้ แต่สามารถลดความร้อนได้น้อย กาวที่ใช้ไม่มีคุณภาพ ราคาถูก อายุการใช้งานสั้นไม่เกิน 3 ปี เมื่อเสื่อมสภาพสีจะจางลง เปลี่ยนเป็นสีม่วง โป่งพอง กาวจะเสี่ยมทำให้รบกวนทัศนวิสัย ส่วนใหญ่ใช้เป็นฟิล์มแถม

ฟิล์มย้อมสีนี้ยังมีผู้บริโภคที่เข้าใจผิดอยู่ว่าติดแล้วสามารถลดความร้อนได้ โดยเฉพาะผู้ที่เลือกสีเข้ม (ฟิล์ม 80% หรือแสงส่องผ่านได้ประมาณ 5-10%) เพราะความเข้มของฟิล์มจะทำให้รู้สึกสบาย แต่สีของฟิล์มที่เข้มมากยิ่งจะดูดซับพลังงานความร้อนไว้แล้วค่อยๆส่งผ่านมาในอาคารหรือรถยนต์ทำให้ร้อนขึ้น

2 ฟิล์มเคลือบละอองโลหะ (Metallized Film) เป็นฟิล์มที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง โดยใช้วิธีทางวิทยาสาศตร์นำเอาอนุภาคของโลหะมาเคลือบไว้บนแผ่นโพลีเอสเตอร์ ทำให้สามารถสะท้อนพลังงานความร้อนได้ดียิ่งขึ้น จึงสามารถลดความร้อนได้ดีกว่าฟิล์มย้อมสีมาก อายุการใช้งานนานกว่าประมาณ 5 - 7ปี กาวและโพลีเอสเตอร์มีคุณภาพดีกว่า ราคาสูงกว่า

3 ฟิล์มเคลือบอนุภาคโลหะ (Metal Sputtering Film) ใช้การเหนี่ยวนำของประจุไฟฟ้าในสุญญากาศให้อนุภาคโลหะไปเกาะติดบนแผ่นโพลีเอสเตอร์ ทำให้ได้ฟิล์มที่มีความคงทนมาก ลดความร้อนได้มากพอกันกับที่2 ประมาณ 50-70% ฟิล์มประเภทนี้เหมาะสมกับการใช้ติดตั้งกระจกอาคารมากที่สุด มีราคาค่อนข้างสูง

**แสงอาทิตย์ที่ต้องรู้จัก**

แสงอาทิตย์ (Solar Radiation) จะประกอบด้วยพลังงานในรูปแบบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดจากการนำพาของคลื่นรังสีความร้อน(Convection) ผ่านมาในตัวกลางอากาศเข้ามากระทบกับรังสีต่างๆ เมื่อมากระทบกับผิวหนังของเราจึงรู้สึกร้อน แสงแดดและความร้อนเป็นพลังงานที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ฟิวชั่น(Fusion) ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของนิวเคลียสอะตอม ไฮโดรเจนเป็นนิวเคลียสที่มีน้ำหนักมากขึ้น ทำให้เกิดการแตกตัวของอะตอมจนคลายพลังงานออกมาเป็นพลังงานแสงอาทิตย์(Solar Energy) จึงเดินทางมาสู่บรรยากาศโลกในลักษณะคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(Spectrum) โดยจะมีความยาวคลื่น(Wavelength) ที่แตกต่างกัน ส่วนที่มาถึงโลก แบ่งตามความยาวคลื่น ได้ 3 กลุ่ม

1) แสงสว่างที่มองเห็นด้วยตาเปล่า(Visible Light) กลุ่มนี้จะมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วงที่สายตามนุษย์มองเห็นได้คือ 370-780 นาโนเมตร มองรวมๆเราจะเห็นเป็นสีขาว แต่ถ้าใช้อุปกรณ์หรือตัวกลางบางอย่างที่กระจายคลื่นแสงได้ เช่น ปริซึมจะเห็นเป็น 7 สี หรือที่เรียกว่า Rainbow นั่นเอง ในแสงกลุ่มนี้จะมีสัดส่วนในแสงอาทินย์เท่ากับ 44%

2) แสงที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า (Invisible Light) กลุ่มที่มีความยาวคลื่นยาวกว่าที่ตาเรามองเห็นได้ คือยาวกว่า 780 นาโมเมตรขึ้นไป เราเรียกแสงในกลุ่มนี้ว่ารังสี อินฟาเรด(Infrared Rays) กลุ่มนี้เป็นตัวการสำคัญหลักที่ทำให้เกิดความร้อน ทำให้วัตถุมีสี ซีดจางและแตกกรอบได้ โดยจะมีสัดส่วนอยู่ในแสงอาทิตย์เท่ากับ 53%

3) แสงที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ชนิดความยาวคลื่นสั้นกว่าที่ตาเรามองเห็นได้ คือจะสั้นกว่า 370 นาโมเมตร เราเรียกแสงกลุ่มนี้ว่า รังสีอุลตร้าไวโอแลต(Untra Violet Rays) หรือ UV กลุ่มนี้เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สีของวัตถุซีดจาง,กรอบแห้ง,ผิวหนังหมองคล้ำ
เหี่ยวย่น และทำให้สายตาเกิดต้อกระจก มะเร็งผิวหนัง โดยจะมีสัดส่วนอยู่ในแสงอาทิตย์เท่ากับ 3%

รังสี UV มีส่วนประกอบ 3 ส่วนคือ UV-A UV-B และ UV-C แตกต่างกันที่ความยาวคลื่น โดย UV-A จะมีความยาวคลื่นมากที่สุดในกลุ่มเรียงขึ้นไปตามลำดับ UV-C จะสั้นที่สุด แต่ UV-C จะมีอันตรายมากที่สุด มนุษย์เราโชคดีที่ยังมีโอโซนของโลกในชั้นบรรยากาศดูดซับไว้ทั้งหมด ถัดมา UV-B เป็นต้นเหตุของมะเร็งผิวหนังแต่สามารถป้องกันได้ด้วยวัสดุป้องกันแสงทั่วไป เช่น กระจกหน้าต่าง เสื้อผ้า เป็นต้น พูดง่ายๆว่า อย่าให้แสงแดดถูกผิวหนังโดยตรงจะดีที่สุด ส่วน UV-A สามารถป้องกันด้วยฟิล์มกรองแสงได้เกือบ 100%
 

ไฟล์แนบ

  • Image21.jpg
    Image21.jpg
    33.7 KB · อ่าน: 56
**แสงแดดเข้ามาในรถได้อย่างไร**

แสงแดดเดินทางมาบนผิวโลกโดยการแผ่รังสี (Radiation) โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง ใดๆพามา เมื่อมาถึงก็จะถ่ายเทความร้อนไปได้ 2 ทางคือ เดินทางจากสิ่งที่มีอุณหภูมิสูงกว่าไป ยังที่ๆมีอุณหภูมิต่ำกว่าคือ การนำความร้อน(Conduction) ในส่วนนี้จะเป็นคุณสมบัติพิเศษ ของรังสีอินฟาเรด โดยพลังงานความร้อนจะถ่ายเทผ่านมาทางโมเลกุลของตัวกลางวัสดุต่างๆ ความร้อนก็จะวิ่งจากที่ๆมีอุณหภูมิสูงไปยังที่ๆมีอุณหภูมิต่ำกว่า อีกทางก็คือ การพาความร้อน(Convection) โดยการส่งความร้อนผ่านตัวกลางที่เป็นอากาศภายในรถเมื่อรังสีอินฟาเรดสัมผัสกับผิวกระจกรถ ทำให้กระจกได้รับความร้อน

เมื่อกระจกรถร้อนก็จะถ่ายเทความร้อนที่เกิดขึ้นให้กับอากาศภายใน ซึ่งภายในรถมีอุณหภูมิ ต่ำกว่าผิวกระจกรถ ดังนั้นการป้องกันไม่ให้คลื่นความร้อนวิ่งเข้ามาสู่ภายใน จนทำให้ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ภายในรถมีสีซีดจาง แตกกรอบง่าย อายุการใช้งานลดลง และที่สำคัญผู้ที่อยู่ในรถคือมนุษย์เกิดความรู้สึกร้อนและทรมานจากแสงแดด การที่จะหาสิ่งที่มาป้องกันแสงแดดที่ดีก็คือ การหันมาใช้ "ฟิล์มกรองแสง" นั่นเอง


ครั้งต่อไปเราจะมาแนะนำหน้าที่และประโยช์ของฟิล์มกันความร้อน รวมถึงการเลือกซื้อฟิล์มเบื้องต้นมาฝากกัน........


ที่มา : Window Film Magazine และ ฮานิตะ ฟิล์ม
 
พารถ(สุดที่รัก)ไปติดฟิล์มกรองแสง(ตอนที่ 2)

หลังจากอาทิตย์ที่แล้วพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับฟิล์มกรองแสง และการทำงานของแสงที่ส่องผ่านมายังรถของคุณแล้ว คราวนี้เราจะไปดูถึงหน้าที่และประโยชน์ของฟิล์มกรองแสง ที่สำคัญก็คือวิธีการเลือกซื้อฟิล์มที่ถูกต้องเพื่อให้คุณผู้อ่านตัดสินใจได้ง่ายขึ้นและไม่ถูกหลอกกดราคาจากร้านค้าอีกต่อไป


**ฟิล์มลดความร้อนทำหน้าที่อย่างไร**

ฟิล์มลดความร้อนทำหน้าที่ในการควบคุมการถ่ายเทความร้อนที่เกิดขึ้นกับกระจกจากพลังงานแสงอาทิตย์โดย
1. พยายามทำให้กระจกมีความสามารถสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากขึ้น
2. พยายามทำให้กระจกมีการดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์น้อย
3. พยายามทำให้พลังงานแสงอาทิตย์ถูกส่งผ่านกระจกเข้ามาน้อยลง

**ประโยชน์ของการติดฟิล์มลดความร้อน**

1. ช่วยลดแสงจ้า ให้ความรู้สึกสบายตาในยามขับขี่ และช่วยลดความเครียดของดวงตาในภาวะที่แดดจัดๆ หรือแม้แต่ตอนเช้าที่แสงแดดอ่อนๆแต่ก็ส่องเข้าตานั้น แสงแดดก็ยังเป็นปัญหาสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการขับรถทุกคน เพราะการมองผ่านกระจกออกไปยังถนนที่แสงแดดจัดนั้นเป็นสาเหตุให้ดวงตาเกิดความเครียด เมื่อยล้า สายตาเสีย ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ ส่วนผู้ที่ขับขี่รถยนต์ที่ติดฟิล์มกรองแสงนั้นก็จะเป็นการช่วยลดแสงจ้าทำให้ทัศนวิสัย หรือการมองเห็นในขณะขับรถมีประสิทธิภาพเต็มที่ รู้สึกสบายตา และไม่เกิดความเมื่อยล้า

2. การช่วยลดความร้อนจากแสงแดด เพราะประเทศไทยตั้งอยู่ในแถบใกล้เขตเส้นศูนย์สูตร

3. ป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเลต ( UV ) จากแสงแดด ซึ่งเป็นตัวการอย่างมากที่ทำให้ผิวเป็นฝ้า ตกกระ และยิ่งไปกว่านั้น แสงแดดยังเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคมะเร็งผิวหนังอีกด้วย การติดฟิล์มกรองแสงรถยนต์ชนิดที่มีคุณภาพจะช่วยป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเลตได้มากกว่า 99%

ช่วยถนอมผิวและสุขภาพของผู้โดยสารภายในรถยนต์ ยิ่งไปกว่านั้น รังสี UV ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้วัสดุภายในรถยนต์ซีดจางและเสื่อมคุณภาพ ดังนั้น การติดฟิล์มกรองแสงจะช่วยชลอการซีดจางของวัสดุอุปกรณ์ตกแต่งภายในรถยนต์ เป็นการรักษาและยืดอายุการใช้งาน ซึ่งถือเป็นการช่วยป้องกันความเสียหายของวัสดุภายในรถไว้ตั้งแต่ต้นเหตุ สภาพภูมิอากาศโดยรวมจะมีอุณหภูมิสูง แม้กระทั่งในช่วงหน้าหนาวถึงอุณหภูมิจะไม่สูงมากนัก แต่แสงแดดก็ยังแรงอยู่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ต้องใช้รถใช้ถนนเป็นระยะเวลานานๆ ก็มีโอกาสได้รับความร้อนจากแสงแดดมากกว่าปกติ

4. ช่วยลดอันตรายจากการแตกกระจายของกระจกรถยนต์ในเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ หากรถเกิดการเฉี่ยวชนจนกระทั่งกระจกแตกร้าว รถที่ติดฟิล์มรถยนต์ที่ได้คุณภาพ ผลิตจากโพลีเอสเทอร์ชั้นเยี่ยม และกาวพิเศษ จะสามารถช่วยยึดเกาะเศษกระจกที่แตกไว้ด้วยกันไม่ให้ร่วงหล่นมาบาดโดนส่วนต่างๆ ของร่างกายหรือทำอันตรายต่อผู้โดยสารในรถ

5. เพิ่มความสวยงามให้กับตัวรถและอาคารบ้านเรือน ทั้งนี้เพื่อให้ได้ประโยชน์จากฟิล์มกรองแสงอย่างคุ้มค่าและครบถ้วนดังที่กล่าวมาข้างต้น ผู้บริโภคจำเป็นจะต้องทราบข้อมูลต่างๆให้ชัดเจนและถูกต้องเป็นจริง เพื่อนำมาพิจารณาก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อฟิล์มกรองแสงรถยนต์ เนื่องจากในประเทศไทยมีฟิล์มกรองแสงอยู่มากมายหลายยี่ห้อ หลายรุ่นด้วยกัน5. เพิ่มความเป็นส่วนตัวภายในห้องโดยสาร

6. เพิ่มทัศนวิสัยที่ดีขณะขับขี่แม้ในยามค่ำคืน

7. ปกป้องวัสดุ , อุปกรณ์และเฟอร์นิเจอร์ ภายในรถ

8. ประหยัดไฟฟ้าและพลังงาน ช่วยให้เครื่องปรับอากาศ ไม่ต้องทำงานหนักช่วยยืดอายุการใช้งาน
 

ไฟล์แนบ

  • Image22.jpg
    Image22.jpg
    38 KB · อ่าน: 50
**ข้อแนะนำในการเลือกซื้อและติดตั้งฟิล์มลดความร้อน**

เนื่องจากปัจจุบันมีฟิล์มกรองแสงนับสิบแบรนด์อยู่ในตลาด ซึ่งทุกแบรนด์ต่างก็โฆษณาว่าเป็นสินค้านำเข้าจากประเทศแถบยุโรปและสหรัฐอเมริกา สามารถลดความร้อนได้สูง ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตได้เกือบ 100 % บางรายรับประกันตลอดอายุการใช้งานเป็นต้น สิ่งเหล่านี้ถ้าฟิล์มแบรนด์นั้นมีคุณสมบัติอย่างที่โฆษณาจริง ผู้บริโภคจะได้รับผลประโยชน์และความพอใจที่ตรงตามความต้องการของตนเอง และคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่เสียไป ปัญหาคือจะทราบได้อย่างไรว่าข้อความที่โฆษณาเป็นจริงหรือไม่? เราจึงขอเสนอแนะวิธีการในการเลือกซื้อฟิล์มกรองแสง โดยแบ่งเป็น 4 หัวข้อใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้

1.มาตรฐานของโรงงานผู้ผลิตฟิล์ม
2.คุณสมบัติเฉพาะของฟิล์ม ( FILM SPECIFICATION )
3. บริษัทฯผู้นำเข้า
4. ราคา
5.การทดสอบฟิล์มด้วยตัวเอง
6.เลือกร้านติดตั้ง...ฝีมือช่างต้องชำนาญ


1. มาตรฐานของโรงงานผู้ผลิตฟิล์ม

ตลาดฟิล์มกรองแสงในบ้านเรานั้นมีมูลค่าที่เป็นที่น่าสนใจของผู้ลงทุนทั้งในวงการและนอกวงการมาก ทำให้มีการแข่งขันกันสูง ผู้บริโภคจะพบว่ามีฟิล์มมากมายแบรนด์ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ดังนั้นเมื่อท่านต้องการฟิล์มที่มีคุณภาพมาตรฐาน สิ่งที่ท่านต้องพิจารณาอันดับแรกคือมาตรฐานของโรงงานผู้ผลิตฟิล์ม ท่านทราบหรือไม่ว่า ฟิล์มส่วนใหญ่ที่อ้างว่านำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกานั้น มาจากประเทศไต้หวัน เกาหลี สิงคโปร์ ใกล้ๆเรานี่เอง แล้วเราจะดูมาตรฐานของโรงงานผู้ผลิตฟิล์มดูได้จากที่ไหน?

คำตอบก็คือจากโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ของฟิล์มแบรนด์นั้นๆโดยตรง แต่จะใช้ได้เฉพาะกับฟิล์มที่แจ้งชื่อโรงงานที่ตนนำเข้าเท่านั้น เพราะผู้บริโภคสามารถตรวจสอบกลับไปที่ WEBSITE ของโรงงานได้เลยว่ามีอยู่จริงหรือไม่ ผู้นำเข้าเป็นตัวแทนจำหน่ายจริงไหม สินค้ามีมาตรฐานอะไรบ้าง ค่าการทดสอบต่างๆใช้มาตรฐานอะไรวัด (เช่น ASTM E 903
 

ไฟล์แนบ

  • Image23.jpg
    Image23.jpg
    23.4 KB · อ่าน: 50
2.คุณสมบัติเฉพาะของฟิล์ม ( FILM SPECIFICATION )สำหรับผู้บริโภคทั่วไป จะพิจารณาจากคุณสมบัติหลักๆ 4 ตัว ดังนี้

-ปริมาณแสงส่องผ่านได้ ( VISIBLE LIGHT TRANSMITTED )
-ความสามารถในการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต ( ULTRA VIOLET BLOCK )
-ความสามารถในการสะท้อนกลับของแสง ( VISIBLE LIGHT REFLECTED )
-ความสามารถในการลดความร้อน ( TOTAL SOLAR ENERGY REJECTED )

ปริมาณแสงส่องผ่านได้ คือปริมาณของแสงที่ส่องผ่านกระจกที่ติดฟิล์ม วัดที่ความยาวคลื่น 550 นาโนเมตร ซึ่งเป็นความยาวคลื่นที่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆได้ชัดเจนที่สุด โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบกับปริมาณแสงทั้งหมดก่อนส่องผ่านกระจกที่ติดฟิล์ม ฟิล์มที่มีค่าปริมาณแสงส่องผ่านน้อยจะเป็นฟิล์มที่มีความเข้มมากกว่าฟิล์มที่มีปริมาณแสงส่องผ่านมาก คือตัวเลขยิ่งมากยิ่งใสนั่นเอง

ผู้บริโภคจะต้องพิจารณาว่ามีความต้องการติดฟิล์มที่มีความใสมากน้อยเพียงไรที่เหมาะสมกับตนเอง โดยส่วนใหญ่จะแนะนำให้ติดบานหน้าใสกว่าด้านข้าง เพื่อให้ทัศนวิสัยในการขับขี่ที่ดีกว่า การเลือกฟิล์มเข้มมากน้อยจะขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างเช่นความชอบ, อายุผู้ขับขี่, ลักษณะการใช้งาน เป็นต้น ความสามารถในการป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเลต คือปริมาณรังสีอัลตราไวโอเลตที่ถูกป้องกันไว้ไม้ให้ผ่านเข้ามา โดยคิดเป็นโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบกับปริมาณรังสีทั้งหมดในแสงแดด

โดยส่วนใหญ่ฟิล์มจะสามารถป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตได้ดีอยู่แล้ว คุณสมบัติในข้อนี้จึงไม่มีความแตกต่างกันมากนักในแต่ละแบรนด์ความสามารถในการสะท้อนกลับของแสง ได้ คือปริมาณของแสงที่ถูกสะท้อนกลับเมื่อกระทบกับกระจกที่ติดฟิล์ม โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบกับปริมาณแสงทั้งหมดก่อนส่องผ่านกระจกที่ติดฟิล์ม หรือค่าการสะท้อนแสงของฟิล์มนั่นเอง การเลือกฟิล์มที่มีค่าการสะท้อนมากก็จะมีผลกระทบต่อผู้อื่นมาก ดังนั้นจึงควรเลือกใช้ให้เหมาะสม ทั้งนี้อัตราการสะท้อนกลับของแสงไม่ควรเกิน 35 % สำหรับฟิล์มรถยนต์ ความสามารถในการลดความร้อน คือปริมาณพลังงานความร้อนที่ถูกป้องกันไว้ไม้ให้ผ่านกระจก โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบกับพลังงานความร้อนทั้งหมดในแสงแดด

คุณสมบัติตัวนี้เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคชาวไทยต้องการมากที่สุด เพราะบ้านเรามีภูมิอากาศร้อนเกือบทั้งปี ตัวเลขยิ่งมากก็ยิ่งลดความร้อนได้สูง สิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคสับสนมากที่สุดในปัจจุบันคือการแสดงค่าการลดความร้อนที่สูงมาก แต่ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นจริงหรือไม่ หรือใช้ค่าการลดความร้อนจากอินฟราเรดมาแสดง ซึ่งรังสีอินฟราเรดเป็นส่วนประกอบเพียง 53 % ของพลังงานแสงอาทิตย์ ( ดูความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ ) ดังนั้นจึงไม่ใช่ตัวเลขที่แสดงถึงการลดความร้อนจากแสงแดดที่แท้จริง รวมถึงการทดสอบโดยใช้สปอตไลท์เช่นกัน ไม่สามารถให้ค่าที่ถูกต้องได้เพราะความร้อนจากสปอตไลท์เป็นพลังงานจากรังสีอินฟราเรดอย่างเดียว
 

ไฟล์แนบ

  • Image24.jpg
    Image24.jpg
    20.9 KB · อ่าน: 49
3. บริษัทฯผู้นำเข้า

ปัจจัยที่ต้องพิจารณาถึงบริษัทฯผู้นำเข้าเพื่อประกอบการตัดสินใจคือ
-มีความตั้งใจจริงที่จะนำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพ และมีความจริงใจกับผู้บริโภคแค่ไหนพิจารณาได้จากการนำเสนอข้อมูลของตัวสินค้าว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบได้หรือไม่ แล้วท่านจะทราบว่าแบรนด์นั้นมีคุณภาพหรือไม่อย่างไร
-มีประสบการณ์ในธุรกิจนี้แค่ไหน เนื่องจากฟิล์มเป็นสินค้าที่มีระยะเวลารับประกันนาน ดังนั้นจึงควรเลือกบริษัทฯที่อยู่ในธุรกิจมาเป็นเวลานานพอสมควร เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าท่านจะได้รับการดูแลตลอดระยะเวลารับประกันของ
แบรนด์นั้น
-ทำตลาดในแบรนด์เดียวกับผู้ผลิตหรือเปล่า เนื่องจากปัจจุบันมากกว่า 90 % ของผู้ทำธุรกิจฟิล์มจะตั้งแบรนด์ขึ้นเอง ( LOCAL BRAND )
ทั้งนี้ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร การเลือกใช้ฟิล์มที่นำเสนอในแบรนด์เดียวกับผู้ผลิตจะเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคได้มากกว่าทั้งในด้านความสม่ำเสมอของคุณภาพสินค้า และการรับประกัน


4.ราคา

ปัจจัยเรื่องราคาถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผู้บริโภคต้องพิจารณาว่าราคาที่นำเสนอคุ้มค่ากับคุณประโยชน์ที่ได้รับหรือไม่ อย่างเช่นคุณควรศึกษาสเปกของฟิล์มชนิดที่คุณต้องการแล้วมาดูว่ามียี่ห้อใดบ้างที่ตรงกับความต้องการของคุณ แล้วนำมาเปรียบเทียบราคาดูเลือกที่ราคาเหมาะสมและมีคุณภาพไม่ใช่เลือกที่ราคาถูกที่สุด ราคาต้องสมเหตุสมผล เหมาะสมกับคุณภาพในระดับที่ยอมรับได้ ไม่ใช่ต้องแพงเพียงเพราะมีชื่อเสียงมานานหรือเพราะโฆษณาเกินจริง ทำให้ตั้งราคาแพง หรือสูงขึ้นอีก ไม่สมคุณภาพที่โฆษณาไว้ โดยส่วนมากฟิล์มเคลือบโลหะ ทั้งชนิด Sputtered และ Metallized จะมีราคาสูงกว่าฟิล์มเคลือบสีประมาณ 1-2 เท่าตัว ที่สำคัญคือต้องดูงบประมาณในกระเป๋าของคุณเองด้วย แล้วทีนี้หน้าร้อนเราก็พารถ(ที่รัก)ไปติดฟิล์มกันได้เลย


5.การทดสอบฟิล์มด้วยตัวเอง

ผู้บริโภคควรพิจารณาโฆษณาของฟิล์มกรองแสงต่าง ๆ ให้ดีก่อนเลือกติดตั้ง ต้องเป็นโฆษณาที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่มีการโฆษณาชวนเชื่อเกินจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง % การลดความร้อน และคุณสมบัติต่าง ๆ ของฟิล์มกรองแสง % การลดความร้อนที่ถูกต้องนั้นต้องเป็น % การลดความร้อนจากแสงแดด นอกจากนี้ยังควรพิจารณาถึงวิธีการทดสอบคุณภาพของฟิล์มกรองแสงด้วยว่าเชื่อถือได้หรือไม่ เช่น ไม่ควรทดสอบฟิล์มด้วยแสงสปอตไลท์ไม่ว่าจะโดยการให้ผู้บริโภคใช้มืออัง หรือยืนท่ามกลางแสงสปอตไลท์


ทั้งนี้เพราะเวลาเราขับรถจริง ๆ นั้น เราขับรถภายใต้แสงแดด มิใช่แสงสปอตไลท์ และแหล่งกำเนิดแสงทั้งสองชนิดนี้ก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง และบางครั้งยังมีกรณีว่าฟิล์มที่ใช้เวลาทดสอบกับฟิล์มที่นำมาติดตั้งให้นั้น เป็นคนละชนิดกัน หรือใช้ฟิล์มติดตั้งซ้อนทับกันสองชั้นในการทดสอบ จุดนี้ผู้บริโภคต้องพึงระวัง และพิจารณาให้รอบคอบ
 

ไฟล์แนบ

  • Image25.jpg
    Image25.jpg
    26.7 KB · อ่าน: 57
6.เลือกร้านติดตั้ง...ฝีมือช่างต้องชำนาญ

ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายก็มีส่วนสำคัญที่ต้องพิจารณาประกอบ ทุกวันนี้ฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์จะขายผ่านร้านประดับยนต์ ร้านติดตั้งเครื่องเสียง ซึ่งร้านเหล่านี้จะมีทั้งที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้จำหน่ายโดยตรง กับไม่ได้รับการแต่งตั้ง ร้านที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งจะนำฟิล์มเข้ามาจำหน่ายเอง ซึ่งก็เสี่ยงต่อฟิล์มคุณภาพต่ำ บางแห่งก็เสนอฟิล์มแบบมียี่ห้อ ให้ดู พอตอนติดตั้งแอบไปเอาฟิล์มอะไรไม่รู้มาติดรถ อย่างนี้ก็มี

เราสามารถพิจารณาได้ว่าร้านใดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายหรือไม่ โดยสังเกตจากป้ายหน้าร้าน หรือใบที่ได้รับการแต่งตั้ง หรือใบรับประกันสินค้า หรือถ้าต้องการความมั่นใจโทรศัพท์สอบถามจากผู้นำเข้าโดยตรง และควรเลือกร้านที่มีห้องสำหรับการติดฟิล์มโดยเฉพาะ เนื่องจากฝุ่นคือศัตรูตัวร้ายกาจของการติดฟิล์ม


การติดฟิล์มกรองแสงรถยนต์หากได้ฟิล์มคุณภาพ แต่หากช่างที่ติดตั้งไม่มีฝีมือก็ไร้ประโยชน์ การติดฟิล์มกรองแสงนั้น นอกจากคุณภาพของฟิล์มแล้ว หากต้องการให้ฟิล์มอยู่คงทนนานต้องขึ้นอยู่ที่ฝีมือของช่างคนนั้นด้วยช่างที่ติดฟิล์มจะต้องมีฝีมือในการกรีดฟิล์ม เพราะหากมือไม่ดีพอ เวลาที่กรีดฟิล์มลงสู่กระจกจะทำให้ฟิล์มนั้นไม่เสมอกัน โดยเฉพาะตรงขอบกระจก และถ้าเลวร้ายไปกว่านั้น บางครั้งอาจกรีดโดนกระจกรถยนต์ และทำให้เป็นรอยได้

อาทิตย์ต่อไปเราจะนำเสนอการดูแลรักษาฟิล์มหลังจากการติดตั้ง หลายท่านอาจจะไม่เคยใส่ใจหรือละเลย เพราะฉะนั้น ห้ามพลาด!!

ข้อมูล : บริษัท ฟิล์มกรองแสงอุตสาหกรรม จำกัด , ฮานิตะ ฟิล์ม , Window Film Magazine
 

ไฟล์แนบ

  • Image26.jpg
    Image26.jpg
    26.4 KB · อ่าน: 56
พารถ(สุดที่รัก)ไปติดฟิล์มกรองแสง(ตอนจบ)

สุดท้ายหลังจากเรานำรถไปติดตั้งฟิล์มมาเรียบร้อยแล้ว ใช่ว่าทุกอย่างจะไม่ต้องจัดการอะไรอีกแล้ว เพราะฟิล์มก็ไม่ต่างอะไรจากรถเมื่อติดตั้งแล้วก็ต้อมีการดูแลรักษากันด้วย มิเช่นนั้นอาจจะทำให้อายุการใช้งานเสื่อมลง


**วิธีการดูแลฟิล์มกรองแสงหลังติดตั้ง**

โดยทั่วไปวิธีการติดตั้งฟิล์มกรองแสงจะต้องใช้น้ำผสมกับแชมพูแบบอ่อนๆ ฉีดลงไปบนด้านแผ่นกาวของฟิล์มและกระจกที่จะติดตั้งเพื่อช่วยให้ขยับฟิล์มให้เข้าที่แล้วจึงรีดน้ำและอากาศออกด้วยเครื่องมือชนิดต่างๆ ดังนั้นภายหลังจะพบว่าจะมีคราบน้ำขัง , กระจกมัว หรือเป็นฝ้าที่กระจก ก่อนที่อาการเหล่านี้จะหายไปเอง ภายในเวลา 1-4 สัปดาห์

เมื่อฟิล์มแห้งสนิทและกาวทำงานอย่างเต็มที่แล้วในการยึดติดกระจก ควรปฎิบัติดังนี้

1.ห้ามเลื่อนกระจกขึ้น - ลงเป็นเวลา 7 วัน หลังจากติดตั้งฟิล์ม เพื่อให้ฟิล์มอยู่ตัว

2. ระยะเวลาในการอยู่ตัวของฟิล์มจะใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดของฟิล์มที่ติดตั้ง อุณหภูมิและความชื้นในอากาศ คราบความชื้นที่อยู่ระหว่างกระจกกับฟิล์ม อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างนี้แต่จะแห้งและหายหมดไปเอง
 

ไฟล์แนบ

  • Image27.jpg
    Image27.jpg
    27.6 KB · อ่าน: 57
3. งดใช้ระบบละลายฝ้าที่กระจกหลังเป็นเวลา 30 วัน หลังจากติดตั้งฟิล์มเพราะจะทำให้ฟิล์มเกิดการเสียหายได้

4. ห้ามใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ , ผ้าหยาบ , ขนแปรง , สก็อตไบร์ท หรือวัสดุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ฟิล์มได้

5. ห้ามเช็ดล้างด้วยน้ำยาล้างกระจกที่มีส่วนผสมของสารแอมโมเนียเช็ดทำความสะอาดฟิล์มโดยเด็ดขาด

6. หากต้องการทำความสะอาดฟิล์ม ให้ใช้ผ้านุ่น และน้ำหรือน้ำสบู่อ่อนๆ เช็ดทำความสะอาดฟิล์ม ซึ่งจะช่วยทำให้เนื้อฟิล์มใสและรักษาเนื้อฟิล์มได้ดี

7. ก่อนเช็ดทำความสะอาดทุกครั้ง ควรตรวจสอบเสมอว่าในผ้าหรือทิชชูใดๆที่ใช้ ไม่มีผงฝุ่นหรือเม็ดทรายในผ้า เพราะจะทำให้คุณสมบัติของสารเคลือบฟิล์มเสียหายหรือลดคุณภาพได้

8. ควรจอดรถตากแดดหลังจากติดตั้งฟิล์ม เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 15-21 วันเพราะจะช่วยให้กาวในเนื้อฟิล์มแห้งเร็วขึ้น

เพียงเท่านี้ก็จะทำให้เราแน่ใจได้ว่า เราได้ฟิล์มติดรถยนต์ที่มีคุณภาพ และทราบการดูแลรักษากระจกรถอย่างถูกวิธี เพราะในการดูแลเอาใจใส่ฟิล์มติดรถยนต์ที่ติดตั้งมาใหม่อย่างถูกวิธีนั้น จะทำให้ฟิล์มที่เราติดตั้งมานั้นอยู่คู่กับรถไปได้ทนทานนาน 7-10 ปีทีเดียว
 

ไฟล์แนบ

  • Image28.jpg
    Image28.jpg
    28.7 KB · อ่าน: 56
มาดูแลรถ...ลดโลกร้อนกันเถอะ!!

ตอนนี้กระแส "ภาวะโลกร้อน" กำลังมาแรงทีเดียว เห็นได้จากหลากหลายสาเหตุที่ล้วนเกิดจากฝีมือของมนุษย์อย่างเราๆทั้งสิ้น จนมีการเรียกร้องให้มาช่วยกันลดปัญหาด้วยวิธีการต่างๆ ตั้งแต่ง่ายๆอย่างการใช้ถุงผ้าไปซื้อของแทนใช้ถุงพลาสติก จนกระทั่งการรณรงค์ให้ช่วยกันใช้พลังงานอย่างถูกวิธีและประหยัด แต่สำหรับประเทศไทยแล้วถือว่าเป็นเรื่องที่ลำบากพอสมควรเนื่องจากวิถีการดำเนินชีวิตของเรา โดยเฉพาะในกรุงเทพด้วยแล้วถือว่าเป็นเมืองที่ปล่อยก๊าซพิษสูงทีเดียว ก๊าซที่ว่านี้ก็คือก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ จากรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถบบรทุก ฯลฯ อีกทั้งยังเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาอากาศเป็นพิษและเสียงรบกวนได้ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพอนามัย ซึ่งคนที่อาศัยอยู่ต้องสูดหายใจเข้าไปทุกวันอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นเราควรมาทำความรู้จักกับสิ่งที่ออกมาจากท่อไอเสีย และวิธีที่จะช่วยลดมลพิษจากรถของท่านกันดีกว่า

การทำงานของเครื่องยนต์นั้น หากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงไม่สมบูรณ์ จะทำให้เกิดสารพิษปล่อยออกมาจากท่อไอเสียอันเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอากาศเป็นพิษ สารพิษเหล่านี้ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ควันดำไฮโดรคาร์บอนอ๊อกไซด์ของไนโตรเจน สารตะกั่ว ฯลฯ

1ควันดำเป็นผงเขม่าขนาดเล็กที่เหลือจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจากรถยนต์ดีเซล เช่น รถปิกอัพดีเซล รถเมล์โดยสาร และรถขนาดใหญ่ทั่ว ๆ ไป

สาเหตุการเกิดควันดำ
-ระบบจ่ายน้ำมันไม่เหมาะสม ทำให้สัดส่วนน้ำมันและอากาศไม่เหมาะสม เกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์
-ไส้กรองอากาศสกปรกและอุดตัน
-เครื่องยนต์เก่าชำรุดขาดการบำรุงรักษา
-บรรทุกน้ำหนักเกินอัตราที่กำหนด

อันตรายจากควันดำ
ควันดำเป็นผลเขม่าเล็กที่สามารถเข้าไปสะสมที่ถุงลมในปอด และควันดำยังประกอบด้วยสารที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งในปอด นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความสกปรก และบดบังการมองเห็นก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางจราจรได้ง่าย
 
2 ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ซึ่งเป็นก๊าซพิษที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ไม่สมบูรณ์ในเครื่องยนต์รถ เช่น รถยนต์ส่วนบุคคล รถแท็กซี่ รถสามล้อเครื่อง

รถจักรยานยนต์ ฯลฯ ก๊าซนี้จะเกิดขึ้นมากในขณะที่รถยนต์เดินเครื่องอยู่กับที่ เนื่องจากการจราจรติดขัด


สาเหตุการเกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
-มีการปรับแต่งเครื่องยนต์เกี่ยวกับระบบจ่ายไฟ และจ่ายน้ำมันที่ไม่เหมาะสม
-ไส้กรองอากาศอุดตัน
-ใช้น้ำมันผิดประเภท เช่น ใช้น้ำมันธรรมดากับเครื่องยนต์ที่กำหนด ให้ใช้น้ำมันเบนซินพิเศษ
-บรรทุกน้ำหนักเกินอัตราที่กำหนด
-ลักษณะการขับขี่ที่มีการเร่งเครื่องยนต์โดยไม่จำเป็น


อันตรายจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
เมื่อหายใจเข้าไปก๊าซนี้จะทำปฏิกิริยากับ ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง กลายเป็นคาร์บ๊อกซี่ฮีโมโกลบิน ทำให้การลำเลียงอ๊อกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ ถ้ามีก๊าซนี้

ในอากาศที่เราหายใจเพียง 60 ส่วนในล้านส่วน จะทำให้เกิดอาการ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หมดสติ ในกรณีที่มีก๊าซนี้เกิน 5,000 ส่วนในล้านส่วนของอากาศที่เราหายใจจะทำให้เกิดอันตราย

ถึงตายได้


การป้องกันและลดสารพิษจากรถยนต์

การที่จะป้องกันไม่ให้รถยนต์ของท่านปล่อยสารพิษสู่สิ่งแวดล้อม ผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ขับขี่รถจะต้องหมั่นบำรุงรักษาสภาพของเครื่องยนต์ มีการปรับแต่งเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ

รวมถึงลักษณะการขับขี่ ซึ่งมีข้อแนะนำดังนี้


-ใช้น้ำมันไร้สารตะกั่วสำหรับรถเครื่องยนต์เบนซิน หรือน้ำมันดีเซลกลั่นอุณหภูมิต่ำสำหรับรถเครื่องยนต์ดีเซล
-เปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามกำหนดเวลา
-หมั่นตรวจดูระบบกรองอากาศ ถ้าอุดตันมีฝุ่นจับมากให้ทำความสะอาดหรือเปลี่ยนใหม่
-หลีกเลี่ยงการบรรทุกเกินอัตรากำลังรถ
-ควรออกรถให้นิ่มนวลและไม่เร่งเครื่องเกินความจำเป็น
-ติดตั้งอุปกรณ์กรองไอเสีย (Catalytic Converter) เพื่อช่วยให้ไอเสียที่ปล่อยออกมามีมลพิษน้อยลงได้
 
สำหรับรถที่ใช้น้ำมันดีเซลควรตรวจสอบเครื่องยนต์เป็นพิเศษ ดังนี้

-ตรวจสอบกำลังอัดของเครื่องยนต์ ถ้าต่ำกว่าปกติจะต้องซ่อมโดยเปลี่ยนแหวนลูกสูบ หรือคว้านกระบอกสูบ
-ปรับแรงดันที่หัวฉีดให้ตรงตามกำหนดและหัวฉีดต้องฉีดน้ำมันเป็นละออง ถ้าหัวฉีดปรับแรงดันไม่ได้หรือฉีดน้ำมันไม่เป็นละออง ให้เปลี่ยนชุดหัวฉีดใหม่
ตั้งปั๊มหัวฉีดที่มีความเร็วรอบต่าง ๆ ให้จ่ายน้ำมันตามกำหนด ถ้าหากว่าปรับตั้งไม่ได้เนื่องจากลูกปั๊มสึกหรอมากให้เปลี่ยนลูกปั๊มแต่ละชุดใหม่

สำหรับรถที่ใช้น้ำมันเบนซินควรตรวจสอบเครื่องยนต์เป็นพิเศษ ดังนี้

-ปรับคาร์บูเรเตอร์ โดยปกติจะปรับสกรูเดินเบาเพิ่มขึ้น แต่สำหรับรถที่ใช้ระบบหัวฉีดน้ำมันอัตโนมัติจะต้องปรับแต่งโดยช่างผู้ชำนาญงานเท่านั้น
-ตรวจสอบกำลังอัดของเครื่องยนต์และระบบไฟ จุดระเบิดอาจแก่เกินไป ควรลดลงให้เหมาะสม


ที่มา : รวบรวมจากฝ่ายสุขาภิบาลทั่วไป กองอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
 
ปลอมทะเบียน

จริงๆทะเบียนไม่ได้ปลอม แต่เกิดจากการสวมทะเบียน โดยมิจฉาชีพจะแจ้งหายแล้วทำเล่มใหม่ขึ้นมาแทน ขณะที่ฉบับจริง(ของเจ้าของจริง)ยังคงอยู่ ซึ่งเจ้าของรถที่ถือสมุดจดทะเบียนทั้งคู่ จะรู้ตัวก็ต่อเมื่อมีการเสียภาษีประจำปี...ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดตรวจสอบถึงตัวเลขรถเถื่อนที่มีในตลาด แต่อธิบดีกรมการขนส่งทางบกกำลังร่วมมือกับตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลปัญหาอย่างใกล้ชิด


โครงการเลื่อนล้อต่อภาษี

โครงการรูปแบบใหม่เพื่อให้ประชาชนขับรถเข้ามาเสียภาษีประจำปี สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน(เก๋ง) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน(รถตู้) รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล(ปิกอัพ) และรถจักรยานยนต์ ณ จุดบริการภายนอกสำนักงาน กรมการขนส่งทางบก (จตุจักร)โดยไม่ต้องลงจากรถ ทั้งนี้ได้ขยายบริการไปอีก 4 จังหวัดที่ สำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น นนทบุรี และอยู่ระหว่างดำเนินการอีกหนึ่งแห่งที่ สุราษฎร์ธานี


รถวิ่งจริงบนถนน

จากสถิติจำนวนรถจดทะเบียนสะสมถึงสิ้นปี 2549 มีทั้งสิ้น 24,807,297 คัน ในจำนวนนี้เป็นรถจักรยานยนต์ 15,650,267 คัน เหลือเป็นรถยนต์ประมาณ 9,157,030 คัน แต่วิ่งจริงอยู่บนท้องถนนประมาณ 80% หรือประมาณ 7,325,624 คัน


ร้องเรียนผ่านสายด่วน 1584

กรมการขนส่งทางบก จัดตั้งศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ เมื่อปี พ.ศ.2545 โดยประชาชนที่พบเห็นหรือได้รับความเดือดร้อนจากการให้บริการของรถโดยสารสาธารณะ สามารถร้องเรียนได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1584 ตลอด 24 ชั่วโมง
 
รู้เส้นทาง.....เลี่ยงรถติดช่วงปีใหม่

ในช่วงเทศกาลสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสงกรานต์ หรือวันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ผู้คนต่างเดินทางออกต่างจังหวัดมากมาย จนเกิดปัญหาการจราจรคับคั่ง รถติดยาวเหยียดนับสิบนับร้อยกิโลเมตร โดยเฉพาะเส้นทางหลักออกไปสู่แต่ละภูมิภาคของไทย ผลจากการจราจรที่คับคั่งในช่วงเทศกาลสำคัญเหล่านี้ นอกจากทำให้เสียเวลาเดินทางแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งให้เกิดอุบัติตลอดเส้นทาง ตั้งแต่ได้รับบาดเจ็บไปจนถึงกับเสียชีวิต เฉลี่ยแล้วนับร้อยราย สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินปีละหลายแสนล้านบาท

เหตุนี้กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บชน.) และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จึงได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบเส้นทางหลีกเลี่ยง จากกรุงเทพฯ ไปยังภูมิภาคต่างๆ ซึ่งจะมีประชาชนเดินทางไปต่างจังหวัดมาก เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและลดปัญหาการจราจรคับคั่ง ในช่วงเทศกาลวันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2553 นี้ โดยเส้นทางหลีกเลี่ยงจากกรุงเทพมหานครไปยังภูมิภาคต่างๆ มีดังนี้ ......


1. ภาคเหนือ
1.1 จากต่างระดับฉิมพลี ใช้เส้นทางตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข 304) ผ่านแยกรัตนาธิเบศร์-บางบัวทอง-สุพรรณบุรี-อ.วิเศษไชยชาญ-สามแยก อ.โพธิ์ทอง-เลี้ยวขวาเข้าตัวเมืองอ่างทอง ออกถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 32) ที่ กม.101-102
1.2 จากต่างระดับฉิมพลี ใช้เส้นทางตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี เลี้ยวขวาเข้าถนนวงแหวนตะวันตก (ทางหลวงหมายเลข 37) ที่ กม. 25+451 บรรจบถนนพหลโยธิน ที่ กม. 52 (ต่างระดับบางประอิน)
1.3 จากสี่แยกหลักสี่ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนแจ้งวัฒนะ ถึงห้าแยกปากเกร็ดเลี้ยวขวาเข้าถนนติวานนท์ไป จ. ปทุมธานี (ทางหลวงหมายเลข 306) หรือเลี้ยวขวาเข้าหมู่บ้านเมืองทองธานีบรรจบทางหลวงหมายเลข 306 มุ่งหน้า จ. ปทุมธานี เลี้ยวขวาเข้าปทุมธานี-บางไทร (ทางหลวงหมายเลข 37) กม.87-88
1.4 จากสี่แยกหลักสี่เข้าถนนแจ้งวัฒนะขึ้นทางด่วนแจ้งวัฒนะลงเชียงลากถนนพหลโยธิน
1.5 มาจากถนนรามอินทราไปภาคเหนือ ให้ใช้ถนนแจ้งวัฒนะ-ติวานนท์ (ตามข้อ 1.3)
 

ไฟล์แนบ

  • Image32.jpg
    Image32.jpg
    28.2 KB · อ่าน: 52

Similar threads


กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see
ด้านบน