กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see

ทำประกัน 2+,3+ ราคาเริ่มต้นที่ 6,500 บาท จ่ายสด ฟรี พรบ

  • เริ่มกระทู้โดย เริ่มกระทู้โดย kook001
  • วันที่เริ่มกระทู้ วันที่เริ่มกระทู้
ไฟหน้า-ไฟฉุกเฉิน : ใช้แบบไหนถูกหรือผิด?

รถยนต์สมัยนี้มักจะติดไฟสัญญาณแปลกๆ ซึ่งบางทีกฎหมายจราจรที่ค่อนข้างจะโบราณ ก็ไม่ได้กล่าวเอาไว้อย่างชัดเจนว่าอนุญาตให้ใช้สัญญาณอะไรบ้าง ทำให้หลายคนเลือกติดและใช้กันตามอำเภอใจ จนกลายเป็นธรรมเนียมที่หลายคนปฏิบัติต่อๆ กันมา

ความจริงแล้ว ไฟต่างๆ เหล่านี้ เป็นสัญญาณอย่างหนึ่ง และในเรื่องของความปลอดภัยบนท้องถนน ถือว่า "สัญญาณ" นั้นเป็นภาษาของถนน ซึ่งต้องเป็นสากล หมายความว่าไม่ว่าชนชาติใด พูดภาษาใด จะต้องฟังหรืออ่านภาษาของถนนอันเป็นสากลนี้เข้าใจแจ่มชัดเหมือนกันหมด เป็นภาษาเดียวกัน

**ไฟหน้าเจ้าปัญหา-สื่อสารผิดๆ**

ไฟสัญญาณอันดับแรกที่กลายเป็นธรรมเนียมอันไม่เป็นสากล และน่าจะเกิดอันตรายก็คือ ไฟหน้าใหญ่ ที่ผู้ขับขี่ยวดยานชอบเปิดกัน แว็บๆ ให้หลายคนสงสัยว่ามันหมายความว่าอะไรกันแน่ ในประเทศไทยเรานั้น แปลกันเองได้ความว่า "เอ็งอย่ามาข้าจะไป" หรือ "ผมไปก่อนนะ" หรือ "อั๊วใหญ่กว่าไปก่อน" อะไรทำนองนั้น ก็พอจะเข้าใจกันในประเทศไทยเราว่าหมายความว่าอย่างนั้น ธรรมเนียมนี้ก็ค่อยๆ วิวัฒนาการขึ้นไปเรื่อยๆ จนบัดนี้บนท้องถนนหลวงเข้าใจกันได้อีกความหมายหนึ่งว่า เมื่อรถที่วิ่งสวนมาบนถนนหลวงให้สัญญาณไฟหน้า แว็บๆ ล่ะก็ ให้เตรียมระวังว่าอย่าขับเร็วเกินกฎหมายกำหนด อย่าเดินรถในช่องทางขวา อย่าแซงทางซ้าย ฯลฯ เพราะข้างหน้ามีหน่วยตำรวจทางหลวงคอยดักจับอยู่ สัญญาณนี้เลยกลายเป็นสัญญาณประสานสามัคคีกันในหมู่ผู้ใช้รถบนถนนหลวงไปอีกความหมายหนึ่ง

ส่วนในต่างประเทศบางแห่ง เช่น ในยุโรปและประเทศอังกฤษ ไฟแว็บหน้าที่เปิดกันแว็บๆ นั้น สัญญาณนี้แปลได้ว่า "เชิญคุณไปได้ ผมให้ทางคุณ" ดังนั้น พวกฝรั่งพวกนี้มาขับรถในเมืองไทย เห็นพี่ไทยเปิดไฟไห้แว็บๆ ก็นึกว่าเหมือนบ้านตัวก็ออกพรวดไปเลย จึงมักจะถูกชนซี่โครงหักไปหลายราย นี่ก็คืออันตรายอีกอย่างหนึ่งที่เป็นภาษาสากล แต่อ่านแปลให้ผิดเพี้ยนไปตามวัฒนธรรมของแต่ท้องถิ่นแต่ละประเทศ

**แท้จริงแล้วไฟหน้านี้ใช้ทำอะไรและในภาษาสากลหมายความว่าอย่างไร**

ไฟแว็บหน้าใหญ่นั้น จริงๆ แล้วแปลว่า "ระวัง" หรือ "ผมอยู่ตรงนี้" เพื่อเตือนให้ผู้ใช้รถใช้ถนนได้ระมัดระวังว่ามีรถอีกคันอยู่ตรงนี้ หรืออีกนัยหนึ่งสัญญาณนี้ใช้แทนสัญญาณแตร ในกรณีที่ใช้แตรไม่ได้ เช่นในเวลากลางคืน กฎหมายห้ามใช้แตร หรือ ในสถานที่ที่มีเครื่องหมายห้ามใช้แตร เพราะจะรบกวนบุคคลอื่น เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน สถานที่ราชการ หรือกรณีที่เป็นกลางวัน จะใช้เตือนรถที่หันหน้าเข้าหา ใช้ไฟแว้บเตือนให้ระวังจะดีกว่าเสียงแตร เพราะแสงนั้นเดินทางได้เร็วกว่าเสียหลายเท่าตัวนัก

นอกจากนั้นยังมีสัญญาณไฟฉุกเฉินที่วัฒนธรรมผันแปร จนเกิดอุบัติถึงแก่ชีวิตในทางหลวงหลายรายแล้ว คือสัญญาณไฟฉุกเฉินนั้น รถสมัยนี้จะติดมาให้ทุกคัน เป็นสัญญาณไฟเหลืองกะพริบทั้งหน้าหลังซ้ายขวารวม 4 ด้าน ตามวัฒนธรรมบ้านเรา หากรถถูกลากจูงก็จะเปิดไฟฉุกเฉินนี้ทันที หรือถ้าผ่านสี่แยกจะไปทางตรงส่วนใหญ่ก็จะเปิดไฟฉุกเฉินนี้ทันที จุดนี้สร้างอันตรายอย่างมากบนทางหลวง เพราะการให้สัญญาณที่ผิดและไม่เป็นสากล

นั่นเพราะว่าผู้ที่สวนทาง หรือผู้ที่ตามหลัง คงจะเดาได้ว่ารถคันที่ให้สัญญาณนี้คงจะไปตรงแต่รถที่ผ่านสี่แยกทางด้านข้างจะอ่านสัญญาณที่ผิดทันที เพราะจะเห็นสัญญาณเพียงด้านข้าง ข้างหนึ่งข้างใดแค่เพียงด้านเดียว ทำให้เข้าใจว่ารถคันที่ให้สัญญาณฉุกเฉินนี้จะเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา แล้วแต่รถคู่กรณีจะอยู่ทางใด เมื่ออ่านผิด รถคันที่อ่านผิดก็จะออกรถไปในทางตรงทันที ก็เกิดชนกันกลางสี่แยกถึงบาดเจ็บล้มตายไปมากจึงขอให้นักขับรถทั้งหลาย พึงระวังในการใช้ไฟสัญญาณฉุกเฉินนี้ให้มาก

**ไฟสัญญาณฉุกเฉินนี้ใช้อย่างไรจึงจะถูกต้อง**

ชื่อก็บอกว่าเกิดเหตุฉุกเฉิน คือหมายความว่า รถคันเกิดเหตุนั้นไปไม่ได้เพื่อให้รถคันอื่นๆ ทราบว่ารถเราเสียไปไม่ได้ต้องจอดขวางทางอยู่ หรือต้องจอดอยู่เฉยๆ หรือรอความช่วยเหลือ หรือจอดเพื่อดูแลซ่อมแซมอยู่ก็เปิดไฟฉุกเฉินไว้เพื่อให้รถคันอื่นได้รับทราบ หรือขณะที่ขับอยู่บนถนนหลวงมีเหตุที่ต้องจอด เพราะมีสิ่งกีดขวางถนนอยู่จนไม่สามารถเคลื่อนรถได้ ก็ให้เปิดไฟฉุกเฉินนั้น เพื่อให้รถตามหลังมาทราบว่าขณะนี้รถเราจอดอยู่นิ่งๆ บนท้องถนน ความปลอดภัยก็จะเกิดขึ้นแก่ตัวเราผู้ขับขี่ และแก่บุคคลอื่นที่ตามเรามา จะได้อ่านสัญญาณนี้ออกเป็นภาษาเดียวกัน

กล่าวโดยสรุปก็คือ ไฟสัญญาณฉุกเฉินนี้ จะใช้ต่อเมื่อรถนั้นได้จอดอยู่กับที่เท่านั้น ห้ามไปใช้วิ่งบนท้องถนนแล้วเปิดไฟฉุกเฉิน บางกรณีที่เห็นบ่อยๆ ก็คือ เมื่อรับคนเจ็บป่วยต้องการรีบนำไปส่งโรงพยาบาล ด้วยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็เปิดไฟฉุกเฉินแล้ววิ่ง เพื่อจะได้ถึงโรงพยาบาลเร็วๆ แต่มักปรากฎว่าทั้งคนขับคนเจ็บและญาติ ไม่ค่อยจะถึงโรงพยาบาลส่วนมากจะถึงเพียงสี่แยกใดสี่แยกหนึ่งเท่านั้น

ขับรถหากระมัดระวัง ใช้กฎแห่งความปลอดภัยโดยถูกต้อง ทั้งเทคนิคการขับและสัญญาณให้เป็นสากลโดยแท้ ท่านก็จะเป็นผู้ขับรถอย่างปลอดภัยตลอดไป

ที่มา : บริษัท เชลล์แห่งประเทศ ไทย จำกัด
 


10 สัญญาณเตือนภัยของรถคุณ

คนใช้รถทุกวันนี้ บางคนอาจจะแค่ขับไปทำงานแล้วกลับบ้าน บางคนก็ขับไปไกลๆถึงต่างจังหวัด มีหลายคนที่ขับอย่างเดียว โดยที่ไม่สนใจหรือเอาใจใส่รถของตัวเองว่ามีสิ่งผิดปกติอะไรบ้าง ทั้งที่รถทุกคันควรได้รับการดูแลและตรวจเช็คก่อนออกเดินทางทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยในชีวิต "ผู้จัดการ มอเตอร์ริ่ง" จึงแนะนำวิธีตรวจเช็ครถของคุณเบื้องต้น กับ 10 สัญญาณเตือนที่จะบ่งบอกได้ว่ารถของคุณนั้นอาการน่าเป็นห่วง

1. สัญญาณเตือน
เราสามารถรับสัญญาณบอกอาการผิดปกติของรถได้ โดยใช้ประสาททั้ง 5 คือ การเห็น การฟังเสียง การได้กลิ่น การจับต้องชิ้นส่วนนั้น ๆ และการลองขับดู ถ้าสังเกตพบสิ่งผิดปกติต่อไปนี้ ให้รีบทำการตรวจเช็คและซ่อมแซมโดยเร็ว ก่อนที่จะเกิดความเสียหายต่อไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ มากขึ้นกว่าเดิม


2. เครื่องยนต์
เครื่องยนต์คือหัวใจของรถ ถ้าเครื่องยนต์มีอาการดังนี้
- เครื่องร้อนจัดเกินไป ขับไปได้ไม่เท่าไร ความร้อนก็ขึ้นสูงเสียแล้ว
- เครื่องเย็นเกินไป แม้จะขับมาระยะทางไกลพอสมควรแล้ว เข็มวัดอุณหภูมิยังไม่กระดิก
- มีเสียงดังผิดปกติจากเครื่องยนต์
ควรนำเข้าตรวจสภาพที่ศูนย์บริการเฉพาะยี่ห้อ


3. ยาง
การสึกหรอของดอกยางแบบต่าง ๆ บอกเราได้ว่ายางผิดปกติไปอย่างไร
- ดอกยางตรงกลางล้อ สึกหรอมากกว่าขอบ แสดงว่าเติมลมแข็งเกินไป
- ดอกยางขอบล้อ สึกหรอมากกว่าตรงกลาง แสดงว่าเติมลมอ่อนเกินไป
- ดอกยางสึกหรอข้างใดข้างหนึ่ง แสดงว่ามุมแนวตั้งของยางไม่ตรง
- ดอกยางเป็นบั้ง ๆ แสดงว่าแนวของยางไม่ขนานกับแนวเคลื่อนที่ของรถ
นำรถเข้าอู่เพื่อตั้งศูนย์ล้อ หรือปรับแรงดันลมยางใหม่

4. คลัตซ์
คลัตซ์ที่มีปัญหา จะทำให้ควบคุมเกียร์ไม่ได้ อย่าละเลยอาการเหล่านี้
- คลัตซ์ลื่น หรือเข้าคลัตซ์ไม่สนิท หรือเหยียบแป้นคลัตซ์แล้ว แต่ยังเข้าเกียร์ได้ยาก
- คลัตซ์มีเสียงดัง เมื่อเหยียบแป้นคลัตซ์
- แป้นคลัตซ์สั่นขึ้น ๆ ลง ๆ ขณะกำลังขับ
ควรนำรถเข้าอู่ซ่อมช่วงล่าง หรือศูนย์บริการเฉพาะยี่ห้อ


5. เกียร์
เกียร์จะทำหน้าที่เปลี่ยนแรงบิดของเครื่องยนต์ให้เหมาะสมกับความเร็ว สัญญาณบอกเหตุว่าเกียร์มีปัญหาคือ
- มีเสียงดังทั้งในขณะอยู่ที่เกียร์ว่าง หรือเข้าเกียร์ใดเกียร์หนึ่งอยู่
- เปลี่ยนเกียร์ยาก มีอาการติดขัด หรือต้องขยับอยู่นาน
- มีเสียงดังขณะเข้าเกียร์ ทั้ง ๆที่เหยียบคลัตซ์แล้ว
- ห้องเกียร์มีน้ำมันหล่อลื่นไหลออกมา
ควรนำรถเข้าอู่ตรวจสอบห้องเกียร์


6.พวงมาลัย
พวงมาลัยที่มีปัญหาเหล่านี้ จะทำให้อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ยางเฟืองท้าย ชำรุดตามไปด้วย
- พวงมาลัยหนัก หรือต้องใช้แรงมากผิดปกติในการบังคับเลี้ยว
- พวงมาลัยหลวมเกินไป โดยมีระยะฟรีเกิน 1 นิ้ว
- พวงมาลัยสั่นในขณะขับ
ควรนำเข้าศูนย์บริการเฉพาะยี่ห้อ


7. เบรก
ถ้าพบว่าเบรกมีอาการผิดปกติ ต้องรีบแก้ไขทันที เพราะเบรกชำรุด นำมาซึ่งอุบัติภัยได้ง่ายที่สุด
- เบรกลื่น หยุดรถไม่อยู่ แม้จะไม่ได้ลุยน้ำ
- เบรกแล้วรถปัดไปข้างใดข้างหนึ่ง
- แป้นเบรกยังจมลึกลงไปทั้ง ๆ ที่ถอนเท้าออกมาแล้ว
ควรนำรถเข้าอู่ซ่อมเบรกทันที

8. ไฟชาร์จ
ไฟชาร์จ ควรจะปรากฏขึ้นที่แผงหน้าปัดทุกครั้งที่เราสตาร์ทเครื่อง และเมื่อสตาร์ทติดแล้ว ครู่หนึ่งก็จะดับลง แต่ถ้าไฟชาร์จไม่สว่าง หรือสว่างแล้วไม่ยอมดับ อาจเกิดจากไดชาร์จผิดปกติหรือสาเหตุอื่น ๆ ก็ได้ ที่แน่ ๆ คือไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ รีบนำรถเข้าอู่ไดชาร์จหรือระบบไฟ


9. หลอดไฟ
หลอดไฟขาดบ่อย ๆ หรือต้องเติมน้ำกลั่นในหม้อแบตเตอรี่บ่อยเกินไป แสดงว่าอุปกรณ์ที่เราเรียกว่า
 
"บวกราคาอะไหล่" การโกงของอู่ ที่ยากแก้ไข

การซ่อมรถตามอู่ทั่วไป ส่วนใหญ่จะใช้อะไหล่ทดแทนเทียมจากร้านอะไหล่และให้อู่จัดซื้อ แล้วมาเก็บเงินพร้อมค่าแรง มีกลโกงของอู่กับการบวกค่าอะไหล่เกินจริง หลายคนพอจะทราบ แต่ทำใจจ่ายเงินได้ แต่มีบางคนเท่านั้นที่ต้องโวย เพราะถูกบวกเกินเป็นเท่าหรือหลายเท่าตัว แวดวงอู่ซ่อมรถในไทย กับการบวกค่าอะไหล่ กลายเป็นเรื่องปกติ ทั้งที่ไม่ปกติและควรขจัดให้หมดไป แต่ในความเป็นจริงก็พอจะสรุปได้ว่า ไม่มีวันหมด และยากแก้ไข อ่านเรื่องราวและเหตุผลที่ทำให้เป็นเช่นนั้น

++การให้อู่ซื้ออะไหล่ให้ เป็นสาเหตุสำคัญ++

เจ้าของรถส่วนใหญ่ ไม่มีความรู้เรื่องรถลึกพอจะจัดซื้ออะไหล่ให้อู่ได้ หรือถึงจะได้ แต่มักไม่มีเวลาเดินทางไป-มาเพื่อซื้ออะไหล่ อู่เองก็ขาดความคล่องตัวและเสียเวลาในการทำงาน ถ้าเมื่อถอดชิ้นส่วนออกมาดูแน่แล้วว่าเสีย แต่ต้องรอลูกค้าซื้ออะไหล่ให้ การอู่จัดซื้อให้จะสะดวกกว่า เพราะมีการซื้อ-ขายกับร้านอะไหล่กันมานานแล้ว บางครั้งโทรศัพท์สั่งก็ได้ และอู่ก็มีความเชี่ยวชาญในการเลือกอะไหล่ (ถ้าสุจริตใจ)

นับเป็นเรื่องปกติที่การซ่อมรถในอู่กว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนลูกค้าจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของอู่ในการจัดซื้ออะไหล่ จึงเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการบวกราคาค่าอะไหล่อย่างง่ายดาย ใบเรียกเก็บเงินค่าอะไหล่กับลูกค้า มี 2 แบบ คือ ใบเสร็จจากร้านอะไหล่ หรือใบเสร็จค่าอะไหล่รวมค่าแรงที่ออกโดยอู่ ง่ายทั้ง 2 แบบที่จะลงราคาอะไหล่เกินจริง เพราะอู่ก็คุ้นเคยอยู่กับร้านอะไหล่ๆ เองก็ทราบวงจรการโกงนี้อยู่แล้ว

++ความโลภ และลดตัวเลขค่าแรง++

เงิน ใครๆ ก็อยากได้ ยิ่งโกงง่ายก็ยิ่งทำให้คนดีกลายเป็นคนโกงได้ง่ายตามไปด้วย ทางอู่เห็นว่าการจัดซื้ออะไหล่ให้ ควรมีค่าจัดซื้อหรือค่าเสียเวลาบ้าง แต่ในเมื่อไม่สามารถแยกรายการเก็บเงินกับลูกค้าได้ จึงรวบรัดบวกเข้าไปในค่าอะไหล่ แต่ก่อนบวกกันห้าสิบบาทร้อยบาท หรือห้าเปอร์เซ็นต์สิบเปอร์เซ็นต์ต่อชิ้น ก็สมเหตุสมผลแล้ว เพราะอาชีพช่าง คือ ขายแรงงาน รับเงินจากค่าแรงค่าฝีมือ

บวกเล็กบวกน้อยมาเรื่อยๆ เมื่อลองเพิ่มการบวก ลูกค้าก็จับไม่ได้ หรือไม่สนใจจะจับผิด บวกกับความโลภ ต่อมาอู่ก็บวกค่าอะไหล่ตามอำเภอใจ ไม่มีเปอร์เซ็นต์แน่นอน (บางอู่บวกมาก-น้อยตามความอยากใช้เงินในช่วงเวลานั้น) โดยจะเดาดูว่าอะไหล่ชิ้นนั้นซื้อมาในราคาถูกมากไหม และคิดต่อไปว่าคนส่วนใหญ่จะคิดว่าเป็นชิ้นที่มีราคาแพงหรือไม่ ถ้าซื้อมาถูก แล้วใครๆ ชอบมองว่าชิ้นนี้น่าจะแพง ก็จะบวกราคามาก แต่ถ้าซื้อมาแพงและดูเป็นอะไหล่พื้นๆ ก็จะบวกราคาแค่เล็กน้อย

หากเป็นรถยี่ห้อแพงดูหรู เช่น เบนซ์ ถ้าบังเอิญว่าซื้ออะไหล่มาราคาถูก ก็จะบวกราคาเข้าไปเต็มเหยียด เพราะลูกค้าเองก็คิดว่าอะไหล่เบนซ์จะต้องแพง ถ้าบวกน้อยแล้วราคายังต่ำ ลูกค้าอาจจะโวยวายได้ว่าซื้ออะไหล่คุณภาพต่ำมาให้ โดยสรุปก็คือ การบวกค่าอะไหล่น่าจะเพิ่มแค่เล็กน้อย ถือเป็นค่าอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า แต่เมื่อไม่มีใครจับได้ผสมกับความโลภ ก็จะบวกกันมากขึ้นจนสูงเท่าที่ลูกค้าจะไม่สงสัย

บางอู่บวกค่าอะไหล่ไว้มาก จึงใช้วิธีดึงดูดลูกค้าด้วยการคิดค่าแรงไม่แพง หรือต่ำกว่าปกติเล็กน้อยด้วยซ้ำ เช่น จริงๆ ควรคิดค่าแรง 1,500 บาท ก็คิดค่าแรงแค่1,000 บาท แต่ได้กำไรจากการบวกค่าอะไหล่อีกเป็นพันบาท ลูกค้าส่วนใหญ่เห็นค่าแรงถูกๆ ก็ชอบ ทำให้บางอู่ที่คิดค่าแรงตามจริง แต่บวกค่าอะไหล่น้อยหรือไม่บวกเลย ถูกลูกค้ามองว่าคิดค่าแรงแพง ไม่น่าเข้าไปทำ จึงทำให้หลายอู่ที่ซื่อสัตย์ต้องทำตาม คือ บวกค่าอะไหล่ไว้เพียบ แล้วจูงใจด้วยค่าแรงถูก อีกประเด็นสำคัญที่ทำให้เกิดการบวกอะไหล่ก็คือ ความง่ายในการโกงแค่เขียนตัวเลขเท่านั้น


++ อู่ไม่รู้สึกผิด ไม่กลัวถูกจับได้++

เจ้าของอู่จะคิดเข้าข้างตัวเองว่า อู่ไหนก็ทำ จึงไม่รู้สึกผิด และคิดเข้าข้างตัวเองอีกว่า การบวกค่าอะไหล่เป็นการชดเชยการคิดค่าแรงถูกไม่กลัวถูกจับได้ เพราะมีลูกค้าน้อยคนมากที่สงสัยและต้องเสียเวลาไปเช็คราคาอะไหล่ ซึ่งร้านอะไหล่ส่วนใหญ่ก็มักไม่อำนวยความสะดวก ไม่อยากเสียเวลา ส่วนใหญ่จะชะล่าใจและทำใจคิดว่าอู่บวกค่าอะไหล่ไม่มาก ถือว่าเป็นค่าจัดหาเพิ่มความสะดวก ถ้าลูกค้าที่เข้มงวดกับเรื่องนี้จริงๆ มักจะตั้งเงื่อนไขแต่แรกว่าจะซื้ออะไหล่เอง (ซึ่งมีน้อยอู่ที่ชอบลูกค้าแบบนี้)

++อย่าคิดว่าจะบวกแค่10-20 %++

ตามที่บอกไว้ข้างต้น คือ ถ้าทางอู่มีความโลภ ก็จะบวกเต็มที่ เน้นแค่ไม่ให้แพงจนลูกค้าสะดุ้ง เอะใจจนเกิดเรื่องทะเลาะกัน หรือลูกค้าไปสืบเสาะราคาจริง ความแน่นอนจึงไม่มี บางชิ้นจึงบวกแค่ไม่กี่สิบบาท (แต่รวมกันแล้วหลายร้อย) คิดเป็น 10-20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่บางชิ้นอาจจะถูกบวกกว่าเท่าตัว หรือ 3 เท่าตัวก็มี (พิมพ์ไม่ผิด 3 เท่าตัว) เช่น ซื้อมา 120 บาท ลงรายการรับเงินจากลูกค้า 380 บาท โดยเฉพาะรถที่คนเชื่อกันว่าราคาอะไหล่แพงหรือเป็นรถหรู

ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วมีอะไหล่จากซัพพลายเออยี่ห้อดังขายในราคาถูกเช่น เบนซ์ บีเอ็มฯ ฮอนด้า โดยเฉพาะเบนซ์นั้น อู่เห็นว่าลูกค้ามักจะมีเงินและตัวลูกค้าเองก็มักไม่มีความรู้เรื่องรถและฝังใจว่ารถตนเองหรู อะไหล่ก็ต้องแพงเป็นธรรมดา ในขณะที่ราคาอะไหล่เบนซ์นอกศูนย์ฯ ตามร้านทั่วไปถือว่าถูกมากเมื่อเทียบกับระดับตัวรถ อู่จึงมีช่องบวกราคาได้ 2-3 เท่าตัว ถ้ าใครใช้เบนซ์แล้วไม่เคยซื้ออะไหล่เอง ลองไปถามราคาจากร้านอะไหล่เบนซ์ทั่วไป เมื่อทราบราคาจริงแล้วจะสุดแค้นว่าทำไมบางอู่ถึงบวกราคาอะไหล่กันมากอย่างนี้

++ยากแก้ไขและลบล้าง การบวกอะไหล่ของอู่ไทย++

ด้วยหลายเหตุผล เพราะเจ้าของรถ ไม่มีความรู้มากพอจะซื้ออะไหล่ได้ดี หรือไม่มีเวลาว่างพออู่ขาดความคล่องตัวและเสียเวลารออะไหล่ ถ้าลูกค้าจัดซื้อเอง หลายอู่ไม่อยากซ่อมรถให้ ถ้าลูกค้าซื้ออะไหล่เอง เพราะจะได้กำไรน้อยกว่าเดิมมาก ค่าแรงก็คิดเพิ่มไม่ได้ ราคาอะไหล่ ถึงจะชิ้นเดียวกันยี่ห้อเดียวกัน แต่ต่างร้านก็อาจไม่เท่ากัน

คำถามที่ตามมา คือ จะให้ทำอย่างไร ถ้าเลือกจะซ่อมรถตามอู่ แต่ไม่อยากถูกบวกค่าอะไหล่ คำตอบ คือ พยายามเลือกอู่ที่พิสูจน์คร่าวๆ แล้วว่า บวกค่าอะไหล่ไม่มาก ก็คงมีคำถามตามมาอีกว่า จะเลือกจะพิสูจน์ได้อย่างไร ไม่ง่ายครับ

เพราะต้องเอารายการไปเปรียบเทียบราคากับร้านอะไหล่ ซึ่งร้านฯ ก็มักไม่เสียเวลาทำให้ เพราะไม่ได้ประโยชน์อะไรและอาจเป็นการสร้างศัตรู หากลูกค้าเอาชื่อร้านอะไหล่ไปอ้างตอนเถียงกับอู่ หรือการเทียบก็อาจไม่ชัดเจน ถ้าเป็นอะไหล่ทดแทนหรือเทียม ที่มีให้เลือกหลายยี่ห้อ ในใบรายการจากอู่ก็มักไม่มีรายละเอียดมากไปกว่าการระบุว่าเป็นอะไหล่ชิ้นใด

เกริ่นตั้งแต่หัวเรื่องว่า การบวกค่าอะไหล่ เป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ในเมืองไทย และน่าสงสารลูกค้าอย่างมากที่หลายอู่บวกราคาอะไหล่มากถึง 2-4 เท่ากันบ่อยๆ (เกิดขึ้นจริงและไม่น้อย) และไม่เกิดเรื่อง แต่ลูกค้าจะซื้ออะไหล่เองก็ยุ่งและทำไม่เป็น ถ้าอู่จะคิดค่าแรงแพงตามจริงก็ไม่ยอม ผิดที่อู่เป็นหลักที่โลภมาก และผิดที่ลูกค้าบางส่วนที่สบายใจเมื่อเห็นเรียกเก็บเงินด้วยค่าแรงถูกๆ และไม่มีองค์กรใดควบคุมได้ แม้แต่ สคบ. เพราะตัวอะไหล่เอง มีราคาแตกต่างกันในแต่ละร้าน และอู่จะถูกตรวจสอบเมื่อลูกค้าสะกิดใจในราคาเท่านั้น อู่ที่ไม่หน้ามืดก็มักจะมีความรอบคอบในการโกงอยู่เสมอในการบวกราคาอะไหล่ไม่ให้ลูกค้าเอะใจ

บทความนี้ไม่ได้บอกว่าทุกอู่จะโกงอย่างนี้ และไม่ได้หวังจะแก้ไขได้ เพราะมีหลายตัวแปรข้างต้นที่ทำให้การบวกอะไหล่ยากจะหมดไปจากเมืองไทย
 

ไฟล์แนบ

  • Image.jpg
    Image.jpg
    8.7 KB · อ่าน: 41
สารพันเทคนิค"การเบรก"

ดูเหมือนว่าการขับรถกับการเบรกเป็นเรื่องง่าย แค่กดแป้นเบรก ทิ้งระยะห่างให้เหมาะสม แต่ในความเป็นจริง มีสารพันเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการเบรกที่จะทำให้การขับรถปลอดภัยขึ้น

ถ้ามีเวลาเหลือควรเหลือบตามองรถคันที่ตามมาด้วยว่า เขาน่าจะเบรกทันหรือไม่ ถ้าดูเหมือนจะไม่ทัน เราก็เบรกเบานิดให้ชิดรถคันหน้าอีกหน่อยก็ยังดี การถูกชนท้าย เราไม่ผิด แต่เสียเวลาและรถพัง การเบรก ถ้ากดแป้นเบรกแต่เนิ่นๆ ก็สามารถใช้ไฟเบรกเตือนผู้ขับรถคันตามมาได้ โดยแตะเบรกให้ไฟเบรกสว่างขึ้น ถอนเท้าสักนิดให้ไฟเบรกดับแล้วกดซ้ำเพื่อให้ไฟเบรกกระพริบเป็นการกระตุ้นเตือน การตรวจสอบไฟเบรกคนเดียว ทำได้โดยจอดให้ท้ายรถชิดกำแพงตอนมืด กดแป้นเบรก แค่นี้ก็ตรวจว่าหลอดไฟเบรกขาดหรือไม่ ด้วยตัวเองได้แล้ว

การติดตั้งระบบเสริมให้ไฟเบรกกระพริบได้ เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ เพราะจะสร้างความสับสนขึ้นได้ ไฟเบรกไม่ได้สว่างหรือกะพริบตามการกดแป้นเบรกจริงๆ ในคราวคับขันกับการเบรกที่ได้ระยะทางสั้นและปลอดภัย คือ เบรกจนล้อเกือบล็อก (ถ้ามีเอบีเอสก็ต้องเบรกจนเอบีเอสเกือบทำงาน) ทำได้โดยหัดทำบนถนนกว้างๆ และไม่มีรถคันอื่นใกล้ๆ (เอบีเอส คือ ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ดังนั้นในครั้งที่เบรกแล้วล้อไม่ล็อก ก็ไม่เกี่ยวอะไรกัน)

ระบบจะทำงานเมื่อล้อเริ่มล็อก โดยจะคลายการจับของผ้าเบรกแล้วกดซ้ำสลับกันถี่ๆ หลายครั้งต่อ 1 วินาที และจะมีการสะท้อนถี่ๆ ที่แป้นเบรกพร้อมกับอาจจะมีเสียงกึงกังถี่ๆ ตามการจับ-ปล่อย ให้ได้ยิน จึงไม่ต้องตกใจ หากเอบีเอสทำงาน เอบีเอสไม่ได้ทำให้รถเบรกดีหรือมีระยะเบรกสั้นลง เพราะประสิทธิภาพการเบรกตามปกติที่ล้อไม่ล็อก ต้องขึ้นอยู่กับระบบเบรกพื้นฐาน ไม่เกี่ยวกับเอบีเอสเลย เอบีเอสจะช่วยเมื่อมีการเบรกกะทันหันหรือบนถนนลื่นเท่านั้น เพราะถ้าล้อล็อกขณะที่รถยังไม่หยุดนิ่ง จะทำให้ไม่สามารถบังคับทิศทางด้วยพวงมาลัย รถจะไถลไปทางไหน ก็ต้องไป โอกาสชนย่อมสูงครับ ถ้าเอบีเอสได้ทำงาน ระยะเบรกอาจจะยาวขึ้นก็เป็นไปได้
ไม่ใช่มีแล้วเบรกจะดีหรือระยะสั้นลง
 

ไฟล์แนบ

  • Image11.jpg
    Image11.jpg
    9.4 KB · อ่าน: 45
เปรียบเทียบการทำงานของเอบีเอสแบบง่ายๆ ว่าคนกำลังวิ่ง หากจะหยุดเร็วๆ แบบฉับพลัน ถ้าไม่มีเอบีเอสแล้วพื้นแห้ง ก็เท่ากับหยุดซอยเท้าเกือบจะทันที พื้นรองเท้าก็ครูดกับพื้นไปไม่ไกล แต่ถ้าเป็นพื้นน้ำแข็งลื่นๆ การหยุดซอยเท้าในทันที ตัวจะยังพุ่งไป ทั้งที่เท้าหยุดลงแล้ว ก็จะลื่นไถลไปไกลแบบเคว้งคว้าง ถ้ามีเอบีเอส ก็จะเหมือนมีการค่อยๆ ชะลอการซอยเท้าสักพักแล้วจึงหยุดนิ่ง แม้จะหยุดบนน้ำแข็งก็จะไม่ปัดเป๋ แต่ถ้าจะหยุดพื้นเรียบและฝืด การชะลอการซอยเท้าให้ช้าลง ค่อยๆ ช้าลง อาจใช้ระยะมากกว่าการหยุดทันทีและปล่อยให้พื้นรองเท้าครูดไปสั้นๆ การขับรถที่มีเอบีเอสก็อย่าชะล่าใจ เพราะช่วยได้ในบางสถานการณ์เท่านั้น การเบรกในสภาพถนนเมืองไทยกว่า 95% เอบีเอสไม่ได้ทำงาน

แต่การที่มีเอบีเอส ย่อมดีกว่าไม่มี ถ้ามีโอกาสเลือกซื้อรถที่มี ก็ไม่ควรมองข้าม เพราะเอบีเอสไม่ได้ช่วยตอนเบรกแรงๆ เท่านั้น เบรกเกือบแรง แต่ถนนลื่น ล้อก็ล็อกและเอบีเอสก็ช่วยได้ ถนนที่ลื่น ไม่ได้เกิดจากฝนตกเท่านั้น ถ้ามีฝุ่นทรายมาก ถนนก็ลื่นได้ การป้องกันล้อล็อก ไม่ได้ช่วยเฉพาะถนนลื่นๆ ตลอดทั้งพื้นเท่านั้น

แต่การลื่นเฉพาะล้อ ไม่ครบทั้ง 4 ล้อ หากมีการเบรกแรงสักหน่อย ล้อก็มีโอกาสล็อกเฉพาะในล้อที่ลื่น แล้วรถก็หมุน ! เช่น การลงไหล่ทางเฉพาะ 2 ล้อด้านซ้าย ถ้าไม่มีเอบีเอส แล้วกดเบรกแรงๆ รถจะปัดเป๋ เพราะล้อด้านซ้ายจะล็อกตัวหยุดหมุน เอบีเอส ช่วยให้ล้อไม่ล็อก และช่วยไม่ให้รถปัดเป๋ได้ แต่ระยะเบรกอาจยาวได้ในบางกรณี จึงควรเบรกพร้อมกับการหาทิศทางหักหลบ ถ้าจำเป็นต้องหลบ ถ้าต้องเบรกแบบหนักๆ สำหรับรถที่มีเอบีเอส ให้กดเบรกแช่ลงไปเลย เพราะการถอนเท้าเพื่อย้ำเบรกใหม่ เอบีเอสจะตัดการทำงานและกว่าจะกลับมาทำงานก็อีกหลายเสี้ยววินาที

ถ้าไฟเตือนเอบีเอสไม่ยอมดับหลังการบิดกุญแจไว้ 3-5 วินาที หรือสว่างขึ้นขณะขับ แสดงว่าว่าเอบีเอสมีความบกพร่อง ให้ทดลองเบรกบนถนนว่างๆ ว่า น้ำหนักการกดแป้นเบรกและการเบรกยังปกติหรือไม่ ส่วนใหญ่แล้วการที่เอบีเอสบกพร่องจะเป็นแค่ไม่มีการป้องกันล้อล็อก แต่ระบบเบรกพื้นฐานยังใช้งานได้ เป็นเสมือนเป็นรถที่ไม่มีเอบีเอส แต่ยังมีเบรก สามารถขับต่อไปได้ด้วยความระมัดระวัง และนำรถไปซ่อมเอบีเอสต่อไป

การมองไปข้างหน้ากับการเบรกเกี่ยวข้องกัน ยิ่งขับเร็วยิ่งต้องมองไปข้างหน้าในจุดที่ไกลขึ้น เพราะระยะเบรกจะยาวขึ้น ไม่ใช่เพราะความเร็วที่มากจะทำให้เบรกต้องทำงานหนักขึ้น แต่เป็นเพราะแต่ละเสี้ยววินาทีที่ผ่านไป รถได้ผ่านระยะทางมากขึ้นเรื่อย เราใช้หน่วยการวัดที่คุ้นเคยเป็นกิโลเมตร/ชั่วโมง จึงไม่ค่อยรู้ว่าความเร็วที่ใช้นั้นเร็วขนาดไหน เพราะชั่วโมงดูแล้วนานต้องเทียบเป็นวินาที

เปรียบเทียบเป็นหน่วยเมตร/วินาที จะชัดเจนกว่า ที่ความเร็ว 100 กม./ชม. เท่ากับ 28 เมตร/ 1 วินาที ถ้านึกว่า 28 เมตรไกลแค่ไหนไม่ออก นึกถึงสนามฟุตบอลตามยาว จากเสาประตูหนึ่งไปยังอีกฟาก เท่ากับ 100 เมตร 100 กม./ชม. = 28 เมตร/วินาที 1 สนามฟุตบอลตามยาว ใช้เวลารถแล่นผ่าน 3 วินาทีกว่าๆ เท่านั้นที่ความเร็ว 150 กม./ชม. = 42 เมตร/วินาที 1 สนามฟุตบอลตามยาว ใช้เวลารถแล่นผ่านเกือบๆ 2.5 วินาทีเท่านั้นที่ความเร็ว 200 กม./ชม. = 56 เมตร/วินาที 1 สนามฟุตบอลตามยาว ใช้เวลารถแล่นผ่านเกือบๆ 2 วินาทีเท่านั้นระยะทาง / วินาทีที่รถแล่นได้ นอกจากจะโยงไปถึงเรื่องการเบรก ยังอยากจะบอกว่าเวลาขับรถเร็วนั้นๆ และอันตรายขนาดไหน ถ้า 150 กม./ชม. ใช้เวลา 1 วินาทีกับระยะทาง 42 เมตร

สมมุติว่าเราเห็นสิ่งกีดขวางแล้วต้องเบรก หากการตอบสนองของสมองและเท้าขวา ต้องใช้เวลากว่าจะเริ่มกดแป้นเบรกครึ่งวินาที ก็เท่ากับว่ารถแล่นไปอีก 21 เมตรแล้ว ทั้งที่เบรกยังไม่ได้ทำงาน นี่ยังไม่นับว่าผ้าเบรกจะใช้เวลาและระยะทางอีกกี่วินาทีในการหยุด สมมุติต้องใช้ระยะเบรกอีก 30 เมตร ก็รวมเป็น 51 เมตรตั้งแต่ตาเริ่มเห็น


ดังนั้นยิ่งขับเร็วยิ่งต้องมองไกล นั่นก็เป็นที่มาของการมองทะลุกระจกรถคันหน้าด้วย เพราะจะได้ประเมินสถานการณ์ได้ล่วงหน้า การกดแป้นเบรกนับตั้งแต่เริ่มมองเห็น คนส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 0.3-0.5 วินาที

รถที่ไม่มีเอบีเอสกับการเบรกบนถนนลื่น หรือเบรกกะทันหัน ก็ต้องเบรกไม่แรงจนล้อล็อก ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก แต่ถ้าทำได้ ก็จะดี คือ ตั้งสติ เบรกลงไป ถ้าล้อล็อกก็ให้ถอนแป้นเบรกแล้วกดซ้ำๆ หรือเรียกว่าย้ำเบรก ซึ่งยังไงก็ไม่มีความถี่เท่ากับเอบีเอสที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์ควบคุม แต่ก็ยังดีกว่าตะลึงแล้วกดเบรกแช่ เพราะอย่างนั้นล้อจะล็อกหรือรถอาจปัดเป๋ ถ้าว่างก็หาถนนโล่งกว้าง กดเบรกแล้วดูว่ารถที่ขับนั้นกดเบรกแรงแค่ไหนล้อถึงจะเริ่มล็อก ทำซ้ำๆ จนจำแรงกดได้ นั่น คือการเบรกที่ดี การเบรกเพื่อลดความเร็ว คำแนะนำการเบรกที่ง่ายและถูกต้อง แต่อาจจะขัดกับความรู้และการปฏิบัติดั้งเดิมของหลายคน ว่าการเบรกที่ดีต้องเชนจ์เกียร์ แต่ปฏิบัติง่าย คือ เบรกเพียงอย่างเดียว ไม่ต้องยุ่งกับการลดเกียร์ต่ำ หรือพูดแสลงว่า ไม่ต้องเชนจ์เกียร์ช่วย เพราะระบบเบรกก็ทำงานได้เพียงพออยู่แล้ว
 

ไฟล์แนบ

  • Image12.jpg
    Image12.jpg
    12.2 KB · อ่าน: 46
ในหลักการขับรถอย่างปลอดภัยในต่างประเทศแห่งหนึ่ง บอกว่า BRAKE TO SLOW / GEAR TO GO แปลตรงตัว เบรกเพื่อให้ช้า จะไปต่อก็ด้วยเกียร์ที่เหมาะสม การลดเกียร์ต่ำเพื่อใช้เอนจิ้นเบรก หรือใช้เครื่องยนต์ช่วงหน่วงบนทางเรียบ มีประโยชน์น้อยมากและไม่จำเป็นต้องทำ เพราะจะทำให้เสียสมาธิการกดเบรก ระบบเกียร์และเครื่องยนต์สึกหรอมากขึ้น แต่ช่วยในการเบรกได้นิดเดียว สามารถทดลองทำดูว่า ถ้าขับรถอยู่ที่เกียร์สูงแล้วลดเกียร์ต่ำลงอย่างเดียว รถจะถูกหน่วงความเร็วลงน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการกดเบรกอย่างเดียว ที่ทำให้แทบจะหยุดกึ๊กเลย การเบรกพร้อมกับการเชนจ์เกียร์ช่วยเบรก นอกจากแทบจะเปล่าประโยชน์ตามที่บอกไว้ข้างต้นแล้ว ยังทำให้รถมีการถ่ายน้ำหนักหน้า-หลังไป-มา แบบกระดกไปกระดกมาอีกด้วย เบรก มีไว้เพื่อหยุดหรือชะลอ โดยไม่ต้องใช้เกียร์ช่วย ในรถเกียร์ธรรมดา หากจะลดเกียร์ต่ำ ก็เพื่อเตรียมปล่อยคลัตช์เมื่อเลิกเบรกแล้วจะเร่งต่อแล้ว ไม่ใช้การลดเกียร์เพื่อช่วยเบรกในการขับปกติ

การเบรกเพื่อจอด ไม่ต้องยุ่งกับเกียร์เลยครับ ก่อนจอดค้างอยู่เกียร์ไหนก็เกียร์นั้น ในรถเกียร์ธรรมดา แนะนำให้เบรกโดยไม่ต้องยุ่งกับการเชนจ์เกียร์และไม่ต้องแตะคลัตช์ เมื่อรถเกือบหยุดสนิทแล้วค่อยเริ่มเหยียบคลัตช์ลงไปและเหยียบให้สุด เมื่อหยุดแล้วค่อยปลดเป็นเกียร์ว่าง นอกจากการเชนจ์เกียร์ต่ำจะไม่ค่อยได้ประโยชน์แล้ว การเหยียบคลัตช์ลงไปพร้อมๆ กับการเบรก ก็เป็นเสมือนการปลดเกียร์ว่างแล้วเบรก ซึ่งจะทำให้รถไม่มีแรงหน่วงจากเครื่องยนต์ เหยียบเบรกเพื่อจอด ก็เบรกอย่างเดียว เมื่อจะจอดสนิทก็ค่อยเหยียบคลัตช์

ส่วนรถเกียร์อัตโนมัติกับการเบรกเพื่อจอดก็คล้ายกัน เบรกอย่างเดียวไม่ต้องยุ่งกับการลดเกียร์ใดๆ และก็ไม่ควรปลดเป็นเกียร์ว่าง เพราะนอกจากรถจะมีแรงเฉื่อยมากขึ้นแล้ว ยังไม่เป็นผลดีต่อเกียร์ หากรถยังไม่หยุดสนิทแล้วต้องผลักกลับมาที่เกียร์ D-เดินหน้า ชุดคลัตช์ในเกียร์จะทำงานหนักกว่าการออกตัวจากจุดหยุดนิ่ง การเบรกพร้อมกับการเปลี่ยนเลน หรือเปลี่ยนเลนเสร็จแล้วเบรกทันที อันตรายต่อท้ายรถของคุณ


++ เทคนิคการเบรกอย่างปลอดภัย ไม่ยุ่งยากถ้าเรียนรู้และทำความเข้าใจ ++
 

ไฟล์แนบ

  • Image13.jpg
    Image13.jpg
    20.4 KB · อ่าน: 40
ปฏิบัติการ 3 ขั้น เพื่อประหยัดน้ำมัน

นายชวลิต พิชาลัย ผู้อำนวยการสำนักวิเคราะห์แผนพลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ขณะนี้ภาวะราคาน้ำมันมีการผันผวนตลอดเวลา อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้รัฐและผู้ใช้รถต้องแบกรับภาระราคาน้ำมันที่แพงขึ้นอีก

ดังนั้นหนทางที่จะทำให้ผู้ใช้รถจ่ายเงินค่าน้ำมันได้ลดน้อยลง ก็คือการประหยัดน้ำมัน โดยใช้ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด สนพ.จึงมีแนวทางการปฏิบัติ 3 ขั้น มาแนะนำเพื่อช่วยให้ผู้ใช้รถประหยัดน้ำมันได้ ดังนี้


++ปฏิบัติการขั้นที่ 1 "ขาดรถไม่ได้"++

การปฏิบัติขั้นที่ 1 สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องใช้รถทุกวัน มีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
 
++ปฏิบัติการขั้นที่ 2 "ลดใช้รถ"++

การปฏิบัติการขั้นที่ 2 สำหรับบ้านที่มีรถหลาย ๆ คัน หรือ เพื่อนบ้านที่เดินทางไปทำงานเส้นทางเดียวกัน หรือที่หมายใกล้กันมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
 
ตัดป้ายทะเบียน+ ใส่กรอบกว้าง...ผิดไหม ?

การนำป้ายทะเบียนจริงของกรมการขนส่งทางบก ที่มีตัวย่อ ขส มุมล่าง ตัดให้เตี้ยแล้วใส่กรอบยาวที่มีสีขาว 2 ริมนอก ยังโชว์ตัวย่อ ขส ชัดเจนว่าเป็นป้ายฯ จริง เป็นแฟชั่นที่ระบาดในช่วง
2-3 ปีนี้ มีทั้งรับจ้างทำ ทำแบบแนบเนียน งานหยาบ หรือขายแต่กรอบให้นำมาใส่กับป้ายทะเบียนเอง ทำกันเกร่อ บางคนรู้ว่าผิดกฎหมาย แต่อยากสวยจึงทำและลุ้นว่าจะถูกจับหรือไม่ บาง
คนไม่รู้ว่าผิด เพรายังมีตัวย่อ ขส อีกทั้งคนรับจ้างใส่กรอบหรือขาย ส่วนใหญ่ก็บอกว่าไม่ผิดกฎหมาย ลูกค้าจะได้ตัดสินใจเสียเงิน อ่านคำตอบโดยตรงว่า ป้ายทะเบียนตัดใส่กรอบยาว...ผิด
ไหม ? และทิ้งท้ายด้วยคำตอบของผ่ายประชาสัมพันธ์ จากกรมการขนส่งทางบก


ป้ายทะเบียนยาว = การแก้ไขหรือการแต่งรถ
ป้ายทะเบียนรถของแต่ละประเทศทั่วโลก มีความแตกต่างกัน แต่แยกได้เป็น 2 แบบหลัก คือ แบบแคบ (สั้น) เหมือนของไทย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และแบบกว้าง (ยาว) แบบหลาย
ประเทศในทวีปยุโรป รถหลายรุ่นหลายยี่ห้อมีการผลิตและจำหน่ายในหลายประเทศ จึงต้องผลิตกันชนหรือฝากระโปรงให้สามารถติดป้ายทะเบียนให้ได้ทุกแบบ ผู้ผลิตบางรายพิถีพิถันแยก
การผลิตช่องหรือหลุมติดป้ายฯ เป็น 2 แบบ แยกกันเลยตามแต่ประเทศที่จำหน่าย ซึ่งมีความยุ่งยากและสิ้นเปลืองต้นทุนมากกว่าอีกวิธีหนึ่ง คือ ทำเป็นช่องใส่ป้ายกว้างไว้ก่อน จะขายรถใน
ประเทศใดก็สามารถใส่ป้ายทะเบียนได้ จะเป็นป้ายทะเบียนสั้นหรือยาวก็ใส่ได้ทั้งหมด

ถ้ารถที่มีช่องใส่ป้ายทะเบียนกว้าง ถูกในไปขายในประเทศที่เป็นป้ายฯ แคบ เช่นไทย ก็จะมีช่องว่าซ้าย-ขวาเหลือโล่งๆ อยู่ข้างละเกือบครึ่งคืบ เรื่องที่ไม่น่าจะเป็นปัญหาก็คือ บางคนมอง
ว่าไม่สวย เพราะมีช่องว่างเหลืออยู่ริมซ้าย-ขวาของป้ายฯ ในขณะที่หลายคนไม่ได้มองว่าเป็นปัญหา สามารถ ติดป้ายฯ ได้แน่นหนาเป็นพอ จะมีช่องว่างเหลือก็ไม่เห็นเป็นอะไร
ปัญหาสำหรับคนรักสวยรักงามกับช่องว่างที่เหลืออยู่ริมซ้าย-ขวาของป้ายฯ มีความพยายามแก้ไขกันมาหลายรูปแบบ บางคนใจกล้าทำป้ายทะเบียนแบบกว้าง (ยาว) ขึ้นใหม่ คล้ายของทวีปยุโรป พอดีกับขนาดของช่องที่ตัวรถ ใช้แทนโดยตั้งใจไม่ติดป้ายฯ ของทางราชการ ยอมโดนปรับหรือติดสินบนเมื่อถูกจับ ข้อหาไม่ติดป้ายทะเบียนของราชการ (ไม่ใช่ข้อหาป้ายฯ ปลอม
เพราะไม่ได้ทำเลียนแบบและมีตราของทางราชการ) แต่ก็มีคนกล้าทำไม่มาก เพราะสวยก็จริง แต่พร้อมถูกจับกุมได้ทุกเมื่อ ใช้รถอย่างไม่มีความสุข แม้จะปรับหรือติดสินบนไม่แพง แต่น่าเบื่อถ้าโดนจับบ่อยๆ

ในเมื่อกฎหมายไทยระบุให้รถต้องติดป้ายทะเบียนของทางราชการที่มีตัวย่อ ขส อยู่มุมล่าง (ขส = กรมการขนส่งทางบก) แต่มีความต้องการใช้ป้ายทะเบียนกว้าง จึงมีคนคิดดัดแปลง
ให้ป้ายฯ ขส ให้กลายเป็นป้ายฯ กว้าง และยังแสดงตัวย่อ ขส ไว้อย่างชัดเจน โดยทำกรอบป้ายพลาสติกอะครีลิก กว้างเท่ากับช่องกว้างที่ตัวรถ ที่ผิวด้านริมซ้าย-ขวาจะพ่นหรือติดสติกเกอร์สี
ขาวมุกแบบป้ายฯ แล้วเว้นช่องกลางให้ใส เพื่อใส่ป้ายฯ ขส จากด้านหลัง แล้วปิดด้านหลังและซีลกันน้ำเข้า
ผลออกมาจึงมองดูคล้ายว่าเป็นป้ายทะเบียนกว้างทั้งแผ่น แต่ก็ได้แค่คล้าย เพราะสีขาวมุกของป้ายและกรอบ มักไม่กลืนกัน ทั้งกรณีที่สีขาวมุกคนละเบอร์กัน สีป้ายฯ เก่าขาวอมเหลืองแต่
ที่กรอบขาวใหม่เอี่ยม หรือสีคล้ายกัน แต่ก็อยู่คนละชั้นกัน สีขาวบนกรอบอยู่ผิวนอก แต่สีขาวบนป้ายฯ อยู่หลังพลาสติกใส ลึกลงไป 3-5 มิลลิเมตร แม้ไม่ได้สวยมากแบบการทำป้ายฯ กว้างขึ้น
ใหม่ทั้งอัน แต่หลายคนก็คิดว่า สบายใจที่ไม่ผิดกฎหมาย เพราะมองผ่านช่องใสของกรอบ ก็เห็นป้ายฯ ที่มีตัวย่อ ขส อย่างชัดเจน

ในความเป็นจริง ถ้าจะไม่ให้ผิดกฎหมาย ต้องไม่มีการตัดป้ายทะเบียน เพราะราชการระบุขนาดไว้อย่างชัดเจนว่า ป้ายฯ ต้องมีขนาดกี่เซนติเมตรคูณกี่เซนติเมตร แต่การทำกรอบป้ายฯ กว้างส่วนใหญ่ ต้องมีการตัดป้ายฯ เดิมให้เตี้ยลง ไม่งั้นจะไม่สวย ป้ายฯ จะทั้งสูงทั้งกว้างดูเทอะทะ จึงมีการตัดขอบบน-ล่าง หรือตัดทั้งบน-ล่างพร้อมตัดย่นช่วงกลาง เพื่อให้เตี้ยลงมากๆ
เมื่อทำเสร็จป้ายฯ และกรอบจะเป็นทรงเตี้ยแต่กว้าง ดูสวยงาม และยังมีตัวย่อ ขส อยู่มุมล่าง ในขณะที่ชื่อจังหวัดที่มีสระอุ ตัวสระอุจะมองไม่เห็นหรือหายเป็น กลายเป็นกรงเทพมหานคร ไม่ใช่กรุงเทพมหานคร
การทำกรอบป้ายทะเบียนกว้าง แท้จริงจึงเป็นการแก้ไขที่ช่องบนตัวรถกว้างเกินไป ไม่ใช่การตกแต่งรถแต่อย่างไร รถรุ่นใดเป็นช่องแคบพอดีกับป้ายฯ ก็ไม่ต้องเสียใจที่ไม่ได้ใส่กรอบป้ายฯ กว้างใครอยากทำแบบต้องมีการตัดป้ายฯ ก็ต้องยอมรับเมื่อถูกจับ และก่อนจะทำก็ลองดูให้แน่ใจว่า จริงๆ แล้วสีขาวของป้ายฯ กับกรอบนั้นกลมกลืนกันจริงหรือไม่ ไม่ใช่คนละขาวกัน แทนที่
จะสวยกลับดูกระดำกระด่าง


สรุป ตัดป้ายฯ = ผิดกฎหมาย
หลายคนคิดว่าไม่ผิดกฎหมาย ก็แค่ตัดป้ายฯ จริงแล้วใส่กรอบ แต่แท้จริงแล้วผิด แม้จะเหลือตัวย่อ ขส ให้เห็น เพราะมีการตัดเปลี่ยนขนาด ตำรวจสามารถจับได้ทุกเมื่อ ถ้าไม่จับ คือ
อนุโลม แต่ถ้าจับก็เป็นการทำตามกฎหมายปกติ ไม่ได้กลั่นแกล้งอะไร ถ้าขึ้นศาล เจ้าของรถก็แพ้แน่ๆ หมดสิทธิ์ชนะคดี เพราะกฎหมายระบุไว้ชัดเจนถึงขนาดของป้ายทะเบียน ถ้ามีการตัด
เปลี่ยนขนาด ทั้งตัดแค่ขอบบน-ล่าง หรือตัดทั้งบนล่างพร้อมหั่นช่วงกลางแยกเป็น 2 ชิ้น เพื่อย่นให้เตี้ย ล้วนผิดกฎหมาย มีบทลงโทษเป็นค่าปรับชัดเจน
 

ไฟล์แนบ

  • Image15.jpg
    Image15.jpg
    10 KB · อ่าน: 37
ทำไมรถชน....ไฟไหม้บ่อย ?

ระยะหลังมานี้ เมื่อมีข่าวรถชน ทั้งชนกับรถหรือชนกับวัตถุอื่น บ่อยครั้งที่เกิดไฟไหม้ ด้วยความบ่อยที่มีมากกว่าแต่ก่อน ทำให้หลายคนสงสัยว่า ทำไมรถรุ่นใหม่ๆ ถึงไฟไหม้ง่ายขึ้น ทั้งที่เทคโนโลยีทุกด้านก้าวหน้ากว่ารถรุ่นเก่าๆ มาก


พื้นฐานของรถยุคใหม่ดี

ผู้ผลิตรถทุกรายล้วนพยายามหลีกเลี่ยงและป้องกันไม่ให้รถเกิดไฟไหม้ได้ง่าย เพื่อปกป้องทั้งชีวิตคนและชื่อเสียงของตนเอง ซึ่งจะส่งผลต่อยอดขาย เพราะคงไม่มีใครอยากซื้อรถรุ่นที่เสี่ยงต่อไฟไหม้ง่ายแน่ๆ แน่นอนว่าความพยายามนั้น คือ การพัฒนาเทคโนโลยีและระบบต่างๆ ที่ดีและรัดกุมขึ้น เพื่อให้เกิดไฟไหม้ในรถรุ่นใหม่ได้ยากขึ้นกว่ารถรุ่นเก่า

แต่ก็แน่นอนเช่นเดียวกันที่ทั้งหมดเป็นเพียงแค่ลดโอกาสการเกิดไฟไหม้รถ ให้มีเปอร์เซ็นต์ที่จะเกิดน้อยลง ใกล้ 0 เปอร์เซ็นต์ที่สุด แต่ไม่เคยมีผู้ผลิตรถรายใดกล้ายืนยันว่า รถของตนมีไม่มีโอกาสเกิดไฟไหม้หรือปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ รถใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ถ้าน้ำมันเจอกับไฟและอากาศก็กลายเป็นไฟไหม้ (เช่นเดียวกับการนำน้ำมันส่งเข้าไปเผาไหม้ในเครื่องยนต์) พื้นฐานหลักในการพัฒนาก็คือ การออกแบบเลือกตำแหน่งติดตั้งท่อทางเดินน้ำมันให้เสี่ยงน้อยที่สุดต่อการถูกชนจนรั่ว, มีชิ้นส่วนอื่นขวางไว้หากรถเกิดการยุบตัวหลังการชน และเลือกใช้วัสดุท่อน้ำมันที่ทนทานรั่วไหลได้ยาก แต่ไม่ว่าจะเป็นท่อยางหรือท่อโลหะ ถ้าถูกกระแทกแรงเกินขีดจำกัดก็ย่อมรั่วได้ทั้งนั้น

การหลีกเลี่ยงไฟไหม้หลังเกิดอุบัติเหตุ ผู้ผลิตล้วนใช้วิธีจำลองสถานการณ์ของลักษณะการชนขึ้นมาทดสอบให้ใกล้เคียงแล ะครอบคลุมมากที่สุด เช่น ชนด้านหน้า ชนด้านท้าย ชนด้านข้าง ม้วนด้านข้างพลิกคว่ำ ฯลฯ ซึ่งไม่มีทางที่จะครอบคลุมทุกลักษณะการชนจริงที่มีสารพัดได้ อย่างมากก็แค่ใกล้เคียง และบางลักษณะก็ไม่มีการทดสอบ เพราะขึ้นชื่อว่าอุบัติเหตุแล้วย่อมไม่มีลักษณะตายตัว อย่างมากก็เป็นการเก็บสถิติว่าลักษณะใดเกิดบ่อย แล้วก็มีลักษณะที่ไม่เคยพบเกิดขึ้นใหม่เสมอๆ

นอกจากรูปแบบในการทดสอบที่ไม่มีทางครอบคลุมทุกลักษณะของอุบัติเหตุจริง แล้วยังเกี่ยวข้องกับความเร็วในวินาทีที่ชนอีกด้วย ในการทดสอบตามมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ล้วนกำหนดความเร็วอยู่ในช่วง 50-65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพราะวิจัยและเก็บข้อมูลมาแล้วว่าเป็นความเร็ว ณ วินาทีที่ปะทะซึ่งเกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่ แม้ปกติจะขับรถเร็วกว่านี้มาก แต่เกือบทั้งหมดของการชน ผู้ขับจะมีการเบรกก่อน จนวินาทีที่ปะทะความเร็วลดลงเหลือไม่เกิน 50-65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงกลายเป็นการทดสอบชนด้วยช่วงความเร็วนั้นกันทั้งโลก

หลายคนสงสัยว่า ทำไมในเมื่อรถยุคใหม่ขับกันด้วยความเร็วกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเป็นเรื่องปกติ แล้วทำไมการทดสอบชนถึงใช้ความเร็วแค่นั้น คำตอบก็คือเหตุผลข้างต้น และถ้าจะให้รถถูกผลิตขึ้นมาเพื่อรองรับการชนด้วยความเร็วสูงๆ ก็ต้องยอมให้ตัวถังมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมาก จนส่งผลให้อัตราเร่งอืด ถ้าจะคงสมรรถนะไว้ก็ต้องเพิ่มกำลังเครื่องยนต์และเผาผลาญน้ำมันอันเป็นทรัพยากรของโลกมากขึ้นกว่านี้

รวมถึงอาจจะต้องมีโครงโรลบาร์ท่อโลหะสานเกะกะแบบห้องโดยสารของรถแข่ง ที่ต้องรองรับการชนในวินาทีทีปะทะเกินกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงให้ได้ ทั้งรูปแบบการชนที่หลากหลาย ซึ่งอาจไม่เหมือนในการทดสอบ และความเร็ว ณ วินาทีปะทะที่เร็วกว่าการทดสอบ นับเป็นเหตุผลที่สำคัญเมื่อรถเกิดอุบัติเหตุจริง แล้วเกิดไฟไหม้ในบางเหตุการณ์นั่นเอง


ผู้บริโภคจะทำอย่างไร ?

ในเมื่อไม่มีทางที่จะทำให้รถปลอดจากไฟไหม้ได้ หรือไม่ถึงขั้นโอกาสเกิดเป็น 0 เปอร์เซ็นต์ ในแง่มุมของผู้บริโภคจึงมีหน้าที่ขับรถด้วยความไม่ประมาท และทำใจ ! คำว่า... ทำใจ ! ผมไม่ได้เข้าข้างบริษัทรถหรอกครับ แต่เป็นเพราะผมวิเคราะห์ในเชิงวิศวกรรมตามเนื้อหาข้างต้นว่า ยังไงก็ไม่มีทางทำให้รถมีโอกาสเกิดไฟไหม้เป็น 0 เปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าจะเป็นรถรุ่นใดปีใด และไม่ว่าจะผ่านไปอีกกี่ปี ในเมื่อรถยังใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ถ้าชนแรงมากและมีรูปแบบของอุบัติเหตุที่แปลกไปจากการทดสอบ ก็ไม่มีใครรับประกันความปลอดภัยได้

รถเป็นวัตถุที่มีขีดจำกัดในหลายด้าน อย่างเช่น ไม่ว่าจะพัฒนาให้รถมีโครงสร้างที่ปลอดภัยเพียงไร ราคาเป็นสิบๆ ล้าน หรือแม้แต่รถแข่งที่เตรียมพร้อมไว้เต็มพิกัด ถ้าชนแรงมากๆ ก็มีโอกาสตายได้ เช่นเดียวกับกรณีไฟไหม้ แม้ผู้ผลิตรถจะพยายามลดโอกาสเกิด ด้วยหลากหลายพัฒนาการทางเทคโนโลยี เช่น ใช้โครงสร้างตัวถังที่แข็งแกร่ง ซึมซับแรงกระแทกได้ดี ถังน้ำมันผลิตจากวัสดุที่แตกยาก ท่อทางเดินน้ำมันหลบและมีชิ้นส่วนอื่นช่วยป้องกันแรงกระแทก มีการตัดการส่งน้ำมันทันทีที่เครื่องยนต์ดับหรือรถพลิกคว่ำ แต่ทั้งหมดก็เป็นเพียงความสำเร็จในการลดโอกาสเกิดไฟไหม้ให้ใกล้ เปอร์เซ็นต์ที่สุด และก็ยังไม่เห็นผู้ผลิตรถรายใดกล้าออกมายืนยันว่า รถของตนปลอดต่อไฟไหม้ในทุกกรณีของอุบัติเหตุ

เมื่อไรที่เกิดอุบัติเหตุแล้วเกิดไฟไหม้รถ ถ้ามีโอกาสควรแจ้งให้บริษัทรถทราบเพื่อตรวจสอบว่า การชนนั้นรุนแรงเกินกว่าการทดสอบ หรือไฟไหม้เพราะความผิดปกติของการออกแบบและผลิต แม้ว่าผล การตรวจสอบหลังไฟไหม้ ส่วนใหญ่ผู้ผลิตรถจะปัดความรับผิดชอบในกรณีของรถเก่าว่าขาดการดูแลหรือท่อน้ำมันเปื่อย หรือบอกปัดว่า ชนแรงเกินไป รวมถึงไม่สามารถตรวจสอบได้เพราะไฟไหม้จนกลายเป็นซากเกรียมไปหมดแล้ว แต่ก็ยังดีกว่าเราไม่ได้แจ้งให้ตรวจสอบ
ผู้ผลิตรถยุคใหม่ล้วนพยายามลดความเสี่ยงต่อไฟไหม้ แต่ก็ไม่ลดโอกาสเกิดจนเป็น 0 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นอย่าชะล่าใจแม้จะขับรถฝรั่งคันโตราคาหลายล้านบาท เพราะถ้าชนแรงๆ อะไรก็เกิดขึ้นได้ ทั้งตัวถังจะยุบเข้ามากระแทกจนตาย หรือไฟไหม้ก็ล้วนเป็นไปได้ทั้งนั้น !
 

ไฟล์แนบ

  • Image14.jpg
    Image14.jpg
    20.2 KB · อ่าน: 39
"กระจกชอบน้ำ"เทคโนโยลีใหม่ที่ควรรู้จัก

ในช่วงฤดูฝนอุบัติเหตุทางถนนมักเกิดได้ง่ายกว่าในช่วงปกติ เพราะนอกจากพื้นถนนที่ลื่นทำให้ยากแก่การควบคุมแล้ว เม็ดฝนที่เกาะเป็นหยดน้ำบนผิวกระจกยังบดบังทัศนะวิสัยในการมองเห็นของผู้ขับขี่ ยิ่งเฉพาะกระจกข้างรถยนต์แล้วยังมีปัญหาในการลดการเกาะของหยดน้ำมากทีเดียว


แต่ล่าสุดทีมวิจัยกลุ่มฟิลม์บางแสง(optical thin film) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช. ได้พัฒนา
 

ไฟล์แนบ

  • Image33.jpg
    Image33.jpg
    25.8 KB · อ่าน: 41
รถมือสอง : ซื้อง่ายแต่เลือกยาก

เมื่อคุณคิดจะซื้อรถมือสอง ข้อดีของรถมือสอง คือ ราคาถูก แต่ท่านควรตรวจสอบสภาพรถอย่างละเอียด เพราะรถที่ถูกใช้งานมาแล้วล้วนมีความเสี่ยงต่อสภาพความสึกเหรอของเครื่องยนต์ หากจะซื้อรถมือสองควรตรวจสอบอะไรบ้าง


1. สุมดประวัติประจำรถ
มักไม่ค่อยมี เพราะเจ้าของรถไม่พิถีพิถัน แต่ถ้ามีก็ต้องถือว่ายอดเยี่ยม เพราะสมุดประวัติประจำรถทำให้รู้ว่าเขาตรวจซ่อมอะไรมาบ้าง ตรวจทุกระยะประจำหรือเปล่า

2. เจ้าของรถ
คุณควรดูเจ้าของรถคันเดิมว่าเขาเป็นใครใช้รถอย่างไรดูแลรถหรือไม่ มีคนกล่าวว่า ไม่ควรซื้อรถต่อจากวัยรุ่น ผู้หญิง และคนชรา เพราะว่าทั้งสามประเภทนี้ ใช้รถอย่างเดียวไม่ค่อยดูแลรถที่ใช้อยู่

3. มือที่เท่าไหร่
ก็คือรถคันนี้มีคนเป็นเจ้าของมามากน้อยเพียงใด ถ้าผ่านมาแล้วหลายมือก็ควรไม่ซื้อ เพราะรถอาจจะมีปัญหาได้

4. ตัวเลขระยะทางการใช้รถ
ในการซื้อรถคุณควรดูเลขตัวไมล์โดยปกติการใช้รถไม่ควรจะมากกว่าสามหมื่นกิโลเมตรต่อปี หากมากไปกว่านี้ถือว่ามากอาจทำให้เครื่องยนต์ที่ใช้งานหนัก

5. สภาพภายใน
หมายถีงเบาะนั่ง ระบบไฟฟ้าต่างๆ ต้องใช้ได้ อย่างไรก็ตาม สภาพดีมาก ดีน้อย ย่อมแล้วแต่ผู้ใช้และการดูแลรักษา

6. สภาพภายนอก
ควรดูสภาพตัวถังมีผุพัง สีถลอกปอกเปิก กันชนบุบ ตัวถังงอ ประตูตก บ้างหรือไม่

7. ทำสีมาหรือเปล่า
รถที่ต้องทำสีใหม่ คือ รถที่เก่ามากอายุควรจะเกิน 15 ปีขี้นไป หากทำสีก่อนหน้านั้นก็เท่ากับว่ารถไม่ได้รับการดูแล ในการทดสอบว่าไปทำสีมาหรือเปล่า ก็ลองเคาะเบาๆ ด้วยสันมือ ถ้าเสียงโปร่งก็สีเดิม ถ้าเสียงทึบบ้างโปร่งบ้าง ก็ทำบางส่วน ถ้าทึบหมดก็ทำทั้งคันรถทำสีใหม่สีจะไม่ทน อาจซีด หรือด้านหรือโปร่ง ภายในสองสามปีเป็นอย่างมาก

8. ประวัติรถ
หากสามารถรู้ประวัติการใช้รถของเจ้าของเดิมมาบ้างก็จะดี เพราะจะได้รู้ว่าเจ้าของรถคนเก่าเคยนำรถไปใช้อย่างไร เช่น ไปชนคนตายมาก่อนหรือเปล่า เคยนำรถไปใช้ทำในสิ่งที่ผิดกฎหมายหรือเปล่า เคยประสบอุบัติเหตุร้ายแรงจนน่ากลัวหรือเปล่า ส่งเหล่านี้เราต้องสืบหาเอาเอง

9. ซื้อรถจากเจ้าของดีกว่าซื้อจากเต้นท์รถหรือพ่อค้าคนกลาง
ถ้าซื้อรถจากพ่อคนกลาง พ่อค้าคนกลางอาจโอนเป็นชื่อของตนเองหรือโอนลอยไว้ พวกนี้จะเอาของดีๆ ออกจากตัวรถก่อนจะขาย ก็ได้ เช่น เครื่องเสียง อุปกรณ์ความปลอดภัย อุปกรณ์ประกอบรถอื่นๆ ที่พอจะนำไปขายแยกได้ ส่วนเต๊นท์รถนั้นก็คือพ่อค้าคนกลางเหมือนกันแต่เจ้าเล่ห์มากกว่า และมักจะขายราคาแพงกว่าท้องตลาดประมาณ 25,000-50,000 บาทต่อคัน เวลาจะซื้อรถคุณควรดูให้มั่นใจเสียก่อน ก่อนจะตัดสินใจซื้อ

10. หากซื้อรถจากเต้นท์จะต้องนำรถออกทันที
คุณอย่าไปวางเงินแล้ววางใจ ไม่อย่างนั้น เครื่องเสียง ล้อแม็กซ์ ยาง เครื่องยนต์ และอื่น ของคุณอาจจะถูกเปลี่ยนไป โดยที่คุณเองก็อาจทำอะไรก็ไม่ได้

11. ต้องรีบโอนรถให้เรียบร้อย
ถ้าคุณซื้อรถจากเจ้าของแล้วควรนำรถออกทันที แต่ถ้าซื้อรถจากเต๊นท์จะต้องทำสัญญาซื้อขายให้ดี ขอใบเสร็จรับเงินให้เรียบร้อย ถ้านัดไปโอนทะเบียบภายหลังจะต้องกำหนดเวลาการโอนในสัญญาซื้อขายอย่างแน่นอน
 

ไฟล์แนบ

  • Image34.jpg
    Image34.jpg
    38.6 KB · อ่าน: 38
GPS ของเล่น หรือ จำเป็น


Navigator หรือ GPS ไม่ว่าจะเรียกแบบใด ขอให้เข้าใจกันเป็นภาษาไทยง่ายๆ ว่าคือ ระบบแผนที่นำทาง ซึ่งในปัจจุบันเราเริ่มเห็นคนหันมาใช้งานกันมากขึ้น รวมถึงเริ่มมีผู้จำหน่ายมากมายพร้อมกับการอวดอ้างสรรพคุณการใช้งานได้อย่างล้นฟ้า ทั้งที่ความจริง เรารู้หรือไม่ว่า ประโยชน์ของการใช้งานมันเป็นอย่างไร

จึงขอนำเสนอเรื่องราวเกร็ดความรู้บางส่วน (เพราะความรู้จริงมีเยอะมากมายเหลือคณานับ) เกี่ยวกับเจ้าเครื่องมือนำทาง แล้วดูว่าสุดท้ายมันจะเป็นแค่ของเล่นหรือจำเป็นต้องมีไว้ใช้


GPS คืออะไร

GPS ย่อมาจากคำว่า Global Positioning System คือระบบนำทางโดยอาศัยการระบุพิกัดตำแหน่งต่างๆ ที่อยู่บนโลกจากสัญญาณดาวเทียม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ประโยชน์จากระบบ Global Navigation Satellite System หรือดาวเทียมสำรวจซึ่งโคจรอยู่รอบโลก

จุดกำเนิดของเจ้า จีพีเอสเกิดจากความบังเอิญของนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกาได้แอบติดตามการทำงานของดาวเทียมสปุตนิก ของโซเวียต ตั้งแต่เมื่อปี 1957 แล้วพบ การสะท้อนกลับของคลื่นไมโครเวฟ ระหว่างดาวเทียมและพื้นผิวโลก แน่นอนเมื่อเรารู้ตำแหน่งบนพื้นโลก เราก็สามารถระบุตำแหน่งของดาวเทียมบนอวกาศได้ ดังนั้นในทางกลับกันดาวเทียมก็สามารถระบุตำแหน่งต่างๆ บนพื้นโลกได้เช่นกัน เมื่อมันโคจรผ่านตำแหน่งนั้น

เมื่อรู้เช่นนี้จึงพัฒนาต่อมาเป็นระบบนำทางในชื่อ จีพีเอส โดยมีกองทัพเรืออเมริกานำไปใช้ทดลองนำทางเรือรบของตัวเองเป็นครั้งแรก แล้วพัฒนามาสู่การใช้งานแบบสาธารณะ


ทำงานอย่างไร

การทำงานของระบบจีพีเอส นั้นแสนง่ายดาย โดยเราขอทำความเข้าใจก่อนว่าจีพีเอส แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ฮาร์ดแวร์ หรือตัวเครื่องจีพีเอส และ ซอฟแวร์ หรือระบบปฏิบัติการ (เหมือนคอมพิวเตอร์)

ตัวเครื่องจะทำหน้าที่เป็นเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม ส่วนระบบปฏิบัติการจะแสดงผลให้ทราบ คือเมื่อเราได้เจ้าตัวนำทาง GPS มา แค่เปิดเครื่องแล้วทำตามคำแนะนำของคู่มือ หรือจะถามจากพนักงานขายก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด โดยแต่ละรุ่นจะมีฟังก์ชั่นการทำงานยาก-ง่าย ซับซ้อนแตกต่างกัน

ประโยชน์ของเจ้าจีพีเอส คือ ความสามารถในการระบุตำแหน่งที่ตั้งต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ เช่นตำแหน่งที่อยู่ปัจจุบันของเรา พร้อมทั้งแสดงแผนที่หรือนำทางไปยังจุดหมาย อย่างรวดเร็วโดยไม่หลงทาง แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับซอฟแวร์ด้วยว่า มีข้อมูลอัพเดตเพียงไร เนื่องจากมีถนนตัดใหม่เกิดขึ้นอยู่เป็นระยะๆ

นอกจากความสามารถในการระบุตำแหน่งแล้ว อนาคตระบบจีพีเอส ยังจะสามารถบอกถึงสภาพการจราจรและแนะนำเส้นทางที่โล่งให้แก่เราได้ อีกทั้งในทางทฤษฎีระบบจีพีเอสยังสามารถช่วยเราติดตามรถ หากเกิดกรณีถูกลักขโมยไป เพราะมันจะสามารถระบุตำแหน่งที่อยู่ได้อย่างชัดเจน (ให้ลองนึกถึงเวลาเครื่องบินตกแล้วมีการติดตาม หรือนาฬิกาบางยี่ห้อที่มีการนำระบบจีพีเอส นี้ติดตั้งไว้สำหรับกรณีขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน)
 

ไฟล์แนบ

  • Image19.jpg
    Image19.jpg
    22.8 KB · อ่าน: 43
มีกี่แบบ

ปัจจุบันตลาดของเจ้า จีพีเอส นั้นมีผู้ผลิตอยู่หลากหลายยี่ห้อ ซึ่งต้องแยกเป็น 2 ส่วนด้วยเช่นกันคือ ฮาร์ดแวร์ และซอฟแวร์

สำหรับฮาร์ดแวร์ มีหลายรูปแบบซึ่งพอแบ่งหลักๆ ได้เป็น 2 ชนิด แบบพอร์ตเทเบิ้ล คือพกพาไปไหนมาไหนได้ ซึ่งจะมีทั้งอยู่ในรูปแบบใช้งาน จีพีเอส อย่างเดียว เช่นยี่ห้อ การ์มิน(Garmin) ผู้นำตลาดในเมืองไทย ระดับราคาตั้งแต่ 1 หมื่น-2 หมื่นกว่าบาท หรือ แบบพีดีเอ (PDA) ใช้งานได้หลากหลายทั้งโทรศัพท์ เก็บข้อมูล อาทิ ยี่ห้อ อาซุส (Asus) ราคาประมาณ 2 หมื่นบาท เป็นต้น

และอีกชนิดเป็น แบบ 2DIN ติดตั้งสำเร็จในรถ พร้อมระบบมัลติมิเดียครบครัน วิทยุ-ซีดี-ดีวีดี เช่น ยี่ห้อ ไพรโอริตี้ และอัลไพน์ ราคาประมาณ 4 หมื่นกว่าบาท หรือติดตั้งสำเร็จรูปมากับรถยนต์ เช่นโตโยต้า คัมรี่ และฮอนด้า แอคคอร์ด รุ่นเนวิเกเตอร์ เป็น

ส่วนซอฟแวร์ มีผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการแผนที่ในเมืองไทยอยู่ 2 เจ้าหลัก บริษัท ซอฟต์แม็บ(Soft map) และบริษัท อีเอสอาร์ไอ (ESRI) ซึ่งจะขึ้นอยู่กับแต่ละฮาร์ดแวร์เป็นผู้เลือกใช้ โดยเมื่อซื้อแล้วเราสามารถเข้าไปอัพเดตข้อมูลแผนที่ใหม่ๆ ได้ทุกปี หรือตามแต่เราต้องการ

ทั้งนี้อาจจะฟรีหรือต้องมีเสียค่าบริการบ้างประมาณครั้งละ 1-2 พันบาท แล้วแต่ข้อตกลงระหว่างกันของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ โดยก่อนซื้อเราสามารถสอบถามกับผู้จำหน่ายได้โดยตรงถึงการบริการตรงจุดนี้

ด้านความนิยมสอบถามจากผู้ใช้หลายท่าน ซอฟแวร์ ของ ESRI จะดูง่าย,ชัดเจนและมีรายละเอียดมากกว่า รวมถึงรูปแบบการแสดงผลหลากหลาย พร้อมทั้งเวอร์ชั่นถนนตัดใหม่อัพเดตล่าสุดตามความเป็นจริง จากการเดินสำรวจตลาดพบว่า ฮาร์ดแวร์ที่ใช้ซอฟแวร์ของ ESRI จะมีราคาสูงกว่าพอสมควร
 

ไฟล์แนบ

  • Image13.jpg
    Image13.jpg
    19.1 KB · อ่าน: 41
จำเป็นไหม

เห็นประโยชน์หลายหลากของเจ้าระบบจีพีเอส แล้วหลายท่านคงนึกว่า มันต้องจำเป็นแน่นอน แต่จากการทดลองใช้ ทำให้เราพบว่า หากเป็นเส้นทางคุ้นเคยหรือรู้อยู่แล้ว เจ้าจีพีเอสไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด ซึ่งจะตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิงหากเรากำลังจะเดินทางไปในจุดที่ไม่เคยไปมาก่อน เจ้าจีพีเอสจะมีประโยชน์อย่างมาก และจะขาดไม่ได้หากเป็นการเดินทางในถนนเปลี่ยวหรือกลางค่ำกลางคืน ไม่อาจสอบถามใครได้ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับซอฟแวร์อัพเดตข้อมูลถนนใหม่ๆ ครบถ้วนด้วย
 

ไฟล์แนบ

  • Image12.jpg
    Image12.jpg
    18.3 KB · อ่าน: 40
พารถ(สุดที่รัก)ไปติดฟิล์มกรองแสง(ตอนที่1)

เป็นที่รู้กันดีว่าฤดูกาลต่างๆในบ้านเรานั้น แปรปรวนเสียยิ่งกว่าการเมืองและเศรษฐกิจ เดี๋ยวหนาวเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวฝนตกถึงแม้ว่าในช่วงเดือนนี้จะเพิ่งเริ่มต้นฤดูร้อนแต่ทุกท่านต้องเตรียมใจไว้เลยว่าแต่ละปีนั้นอุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะการกระทำของมนุษย์กว่า 90 % ทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการตัดต้นไม้ การเผาป่า กิจการอุตสาหกรรมต่างๆ ฯลฯ และไม่ว่าอากาศจะเป็นเช่นไรคนเราก็ต้องดำเนินชีวิตอยู่ภายนอกวันละหลายชั่วโมง ยิ่งเวลาที่ต้องอยู่ในรถยนต์พร้อมอากาศร้อนๆแล้วอาจจะทำให้เกิดความเครียด อารมณ์เสียขึ้นมาได้ง่ายๆ เรียกได้ว่าทรมานจิตใจเลยทีเดียว ยิ่งบรรดาคุณผู้หญิงที่รักสวยรักงามด้วยแล้วแสงแดดที่ส่องผ่านกรจะมานั้นทำให้ผิวเสียได้ง่ายๆจนถึงขั้นเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังเลยทีเดียว

ดังนั้นวิธีการทำให้เราอยู่ในรถได้อย่างสบายกายคือ การใช้ความเย็นจากเครื่องปรับอากาศ ซึ่งก็คงต้องมีประสิทธิภาพดีๆ ไว้สู้กับความร้อน แต่ก็ต้องเสริมด้วยวิธีป้องกันความร้อนจากภายนอก ไม่ให้เข้าสู่ภายใน ก็คือการติดฟิล์มกรองแสงหรือฟิล์มกันความร้อนนั่นเอง ซึ่งในเมืองร้อนอย่างเรา รถกว่า 90% ต้องติดฟิล์มกรองแสง กันทั้งนั้น

แต่คุณรู้หรือไม่ว่าการติดฟิล์มกรองแสงนั้นก่อนอื่นต้องมาทำความรู้จักกับหน้าที่ของมันและคุณประโยชน์ที่เราจะได้รับ ซึ่งจะอธิบายให้คุณเข้าใจพร้อมถึงวิธีการเลือกฟิล์มกรองแสงที่มีคุณภาพด้วยตัวคุณเอง


**รู้จักฟิล์มกรองแสง**

ฟิล์มกรองแสง คือ ฟิล์มพลาสติก ซึ่งส่วนใหญ่ทำมาจากโพลิเอสเทอร์ เหนียว มีความบาง เรียบ ไร้รอยย่น และสามารถแนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกับกระจกที่นำฟิล์มไปติด ซึ่งยึดติดอยู่บนกระจกได้ด้วยกาวที่มีความใส ไม่ทำให้ภาพที่มองผ่านฟิล์มบิดเบือน (distortion) โดยปกติแล้วฟิล์มกรองแสงทำหน้าที่ในการลดหรือกรองแสงสว่างที่ผ่านเข้ามาทางกระจก ดังนั้น ฟิล์มกรองแสงทั่วไปจึงมีการย้อมสีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะการกรองแสงสว่างเท่านั้น แต่ฟิล์มกรองแสงที่มีคุณภาพดีกว่าฟิล์มกรองแสงทั่วไปจะต้องสามารถลดความร้อนและรังสีอัลตราไวโอเลตที่เป็นสาเหตุของการซีดจางของสี และบ่อเกิดของปัญหาทางสุขภาพได้ด้วย
 

ไฟล์แนบ

  • Image20.jpg
    Image20.jpg
    17.5 KB · อ่าน: 40
ประเภทของฟิล์มกรองแสง

1 ฟิล์มย้อมสี (Dyed Film) เป็นฟิล์มที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นต่ำ โดยจะนำสีมาย้อมที่กาวโพลีเอสเตอร์ มีคุณสมบัติในการกรองแสงได้ แต่สามารถลดความร้อนได้น้อย กาวที่ใช้ไม่มีคุณภาพ ราคาถูก อายุการใช้งานสั้นไม่เกิน 3 ปี เมื่อเสื่อมสภาพสีจะจางลง เปลี่ยนเป็นสีม่วง โป่งพอง กาวจะเสี่ยมทำให้รบกวนทัศนวิสัย ส่วนใหญ่ใช้เป็นฟิล์มแถม

ฟิล์มย้อมสีนี้ยังมีผู้บริโภคที่เข้าใจผิดอยู่ว่าติดแล้วสามารถลดความร้อนได้ โดยเฉพาะผู้ที่เลือกสีเข้ม (ฟิล์ม 80% หรือแสงส่องผ่านได้ประมาณ 5-10%) เพราะความเข้มของฟิล์มจะทำให้รู้สึกสบาย แต่สีของฟิล์มที่เข้มมากยิ่งจะดูดซับพลังงานความร้อนไว้แล้วค่อยๆส่งผ่านมาในอาคารหรือรถยนต์ทำให้ร้อนขึ้น

2 ฟิล์มเคลือบละอองโลหะ (Metallized Film) เป็นฟิล์มที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง โดยใช้วิธีทางวิทยาสาศตร์นำเอาอนุภาคของโลหะมาเคลือบไว้บนแผ่นโพลีเอสเตอร์ ทำให้สามารถสะท้อนพลังงานความร้อนได้ดียิ่งขึ้น จึงสามารถลดความร้อนได้ดีกว่าฟิล์มย้อมสีมาก อายุการใช้งานนานกว่าประมาณ 5 - 7ปี กาวและโพลีเอสเตอร์มีคุณภาพดีกว่า ราคาสูงกว่า

3 ฟิล์มเคลือบอนุภาคโลหะ (Metal Sputtering Film) ใช้การเหนี่ยวนำของประจุไฟฟ้าในสุญญากาศให้อนุภาคโลหะไปเกาะติดบนแผ่นโพลีเอสเตอร์ ทำให้ได้ฟิล์มที่มีความคงทนมาก ลดความร้อนได้มากพอกันกับที่2 ประมาณ 50-70% ฟิล์มประเภทนี้เหมาะสมกับการใช้ติดตั้งกระจกอาคารมากที่สุด มีราคาค่อนข้างสูง

**แสงอาทิตย์ที่ต้องรู้จัก**

แสงอาทิตย์ (Solar Radiation) จะประกอบด้วยพลังงานในรูปแบบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดจากการนำพาของคลื่นรังสีความร้อน(Convection) ผ่านมาในตัวกลางอากาศเข้ามากระทบกับรังสีต่างๆ เมื่อมากระทบกับผิวหนังของเราจึงรู้สึกร้อน แสงแดดและความร้อนเป็นพลังงานที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ฟิวชั่น(Fusion) ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของนิวเคลียสอะตอม ไฮโดรเจนเป็นนิวเคลียสที่มีน้ำหนักมากขึ้น ทำให้เกิดการแตกตัวของอะตอมจนคลายพลังงานออกมาเป็นพลังงานแสงอาทิตย์(Solar Energy) จึงเดินทางมาสู่บรรยากาศโลกในลักษณะคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(Spectrum) โดยจะมีความยาวคลื่น(Wavelength) ที่แตกต่างกัน ส่วนที่มาถึงโลก แบ่งตามความยาวคลื่น ได้ 3 กลุ่ม

1) แสงสว่างที่มองเห็นด้วยตาเปล่า(Visible Light) กลุ่มนี้จะมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วงที่สายตามนุษย์มองเห็นได้คือ 370-780 นาโนเมตร มองรวมๆเราจะเห็นเป็นสีขาว แต่ถ้าใช้อุปกรณ์หรือตัวกลางบางอย่างที่กระจายคลื่นแสงได้ เช่น ปริซึมจะเห็นเป็น 7 สี หรือที่เรียกว่า Rainbow นั่นเอง ในแสงกลุ่มนี้จะมีสัดส่วนในแสงอาทินย์เท่ากับ 44%

2) แสงที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า (Invisible Light) กลุ่มที่มีความยาวคลื่นยาวกว่าที่ตาเรามองเห็นได้ คือยาวกว่า 780 นาโมเมตรขึ้นไป เราเรียกแสงในกลุ่มนี้ว่ารังสี อินฟาเรด(Infrared Rays) กลุ่มนี้เป็นตัวการสำคัญหลักที่ทำให้เกิดความร้อน ทำให้วัตถุมีสี ซีดจางและแตกกรอบได้ โดยจะมีสัดส่วนอยู่ในแสงอาทิตย์เท่ากับ 53%

3) แสงที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ชนิดความยาวคลื่นสั้นกว่าที่ตาเรามองเห็นได้ คือจะสั้นกว่า 370 นาโมเมตร เราเรียกแสงกลุ่มนี้ว่า รังสีอุลตร้าไวโอแลต(Untra Violet Rays) หรือ UV กลุ่มนี้เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สีของวัตถุซีดจาง,กรอบแห้ง,ผิวหนังหมองคล้ำ
เหี่ยวย่น และทำให้สายตาเกิดต้อกระจก มะเร็งผิวหนัง โดยจะมีสัดส่วนอยู่ในแสงอาทิตย์เท่ากับ 3%

รังสี UV มีส่วนประกอบ 3 ส่วนคือ UV-A UV-B และ UV-C แตกต่างกันที่ความยาวคลื่น โดย UV-A จะมีความยาวคลื่นมากที่สุดในกลุ่มเรียงขึ้นไปตามลำดับ UV-C จะสั้นที่สุด แต่ UV-C จะมีอันตรายมากที่สุด มนุษย์เราโชคดีที่ยังมีโอโซนของโลกในชั้นบรรยากาศดูดซับไว้ทั้งหมด ถัดมา UV-B เป็นต้นเหตุของมะเร็งผิวหนังแต่สามารถป้องกันได้ด้วยวัสดุป้องกันแสงทั่วไป เช่น กระจกหน้าต่าง เสื้อผ้า เป็นต้น พูดง่ายๆว่า อย่าให้แสงแดดถูกผิวหนังโดยตรงจะดีที่สุด ส่วน UV-A สามารถป้องกันด้วยฟิล์มกรองแสงได้เกือบ 100%
 

ไฟล์แนบ

  • Image21.jpg
    Image21.jpg
    33.7 KB · อ่าน: 42
**แสงแดดเข้ามาในรถได้อย่างไร**

แสงแดดเดินทางมาบนผิวโลกโดยการแผ่รังสี (Radiation) โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง ใดๆพามา เมื่อมาถึงก็จะถ่ายเทความร้อนไปได้ 2 ทางคือ เดินทางจากสิ่งที่มีอุณหภูมิสูงกว่าไป ยังที่ๆมีอุณหภูมิต่ำกว่าคือ การนำความร้อน(Conduction) ในส่วนนี้จะเป็นคุณสมบัติพิเศษ ของรังสีอินฟาเรด โดยพลังงานความร้อนจะถ่ายเทผ่านมาทางโมเลกุลของตัวกลางวัสดุต่างๆ ความร้อนก็จะวิ่งจากที่ๆมีอุณหภูมิสูงไปยังที่ๆมีอุณหภูมิต่ำกว่า อีกทางก็คือ การพาความร้อน(Convection) โดยการส่งความร้อนผ่านตัวกลางที่เป็นอากาศภายในรถเมื่อรังสีอินฟาเรดสัมผัสกับผิวกระจกรถ ทำให้กระจกได้รับความร้อน

เมื่อกระจกรถร้อนก็จะถ่ายเทความร้อนที่เกิดขึ้นให้กับอากาศภายใน ซึ่งภายในรถมีอุณหภูมิ ต่ำกว่าผิวกระจกรถ ดังนั้นการป้องกันไม่ให้คลื่นความร้อนวิ่งเข้ามาสู่ภายใน จนทำให้ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ภายในรถมีสีซีดจาง แตกกรอบง่าย อายุการใช้งานลดลง และที่สำคัญผู้ที่อยู่ในรถคือมนุษย์เกิดความรู้สึกร้อนและทรมานจากแสงแดด การที่จะหาสิ่งที่มาป้องกันแสงแดดที่ดีก็คือ การหันมาใช้ "ฟิล์มกรองแสง" นั่นเอง


ครั้งต่อไปเราจะมาแนะนำหน้าที่และประโยช์ของฟิล์มกันความร้อน รวมถึงการเลือกซื้อฟิล์มเบื้องต้นมาฝากกัน........


ที่มา : Window Film Magazine และ ฮานิตะ ฟิล์ม
 
พารถ(สุดที่รัก)ไปติดฟิล์มกรองแสง(ตอนที่ 2)

หลังจากอาทิตย์ที่แล้วพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับฟิล์มกรองแสง และการทำงานของแสงที่ส่องผ่านมายังรถของคุณแล้ว คราวนี้เราจะไปดูถึงหน้าที่และประโยชน์ของฟิล์มกรองแสง ที่สำคัญก็คือวิธีการเลือกซื้อฟิล์มที่ถูกต้องเพื่อให้คุณผู้อ่านตัดสินใจได้ง่ายขึ้นและไม่ถูกหลอกกดราคาจากร้านค้าอีกต่อไป


**ฟิล์มลดความร้อนทำหน้าที่อย่างไร**

ฟิล์มลดความร้อนทำหน้าที่ในการควบคุมการถ่ายเทความร้อนที่เกิดขึ้นกับกระจกจากพลังงานแสงอาทิตย์โดย
1. พยายามทำให้กระจกมีความสามารถสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากขึ้น
2. พยายามทำให้กระจกมีการดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์น้อย
3. พยายามทำให้พลังงานแสงอาทิตย์ถูกส่งผ่านกระจกเข้ามาน้อยลง

**ประโยชน์ของการติดฟิล์มลดความร้อน**

1. ช่วยลดแสงจ้า ให้ความรู้สึกสบายตาในยามขับขี่ และช่วยลดความเครียดของดวงตาในภาวะที่แดดจัดๆ หรือแม้แต่ตอนเช้าที่แสงแดดอ่อนๆแต่ก็ส่องเข้าตานั้น แสงแดดก็ยังเป็นปัญหาสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการขับรถทุกคน เพราะการมองผ่านกระจกออกไปยังถนนที่แสงแดดจัดนั้นเป็นสาเหตุให้ดวงตาเกิดความเครียด เมื่อยล้า สายตาเสีย ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ ส่วนผู้ที่ขับขี่รถยนต์ที่ติดฟิล์มกรองแสงนั้นก็จะเป็นการช่วยลดแสงจ้าทำให้ทัศนวิสัย หรือการมองเห็นในขณะขับรถมีประสิทธิภาพเต็มที่ รู้สึกสบายตา และไม่เกิดความเมื่อยล้า

2. การช่วยลดความร้อนจากแสงแดด เพราะประเทศไทยตั้งอยู่ในแถบใกล้เขตเส้นศูนย์สูตร

3. ป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเลต ( UV ) จากแสงแดด ซึ่งเป็นตัวการอย่างมากที่ทำให้ผิวเป็นฝ้า ตกกระ และยิ่งไปกว่านั้น แสงแดดยังเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคมะเร็งผิวหนังอีกด้วย การติดฟิล์มกรองแสงรถยนต์ชนิดที่มีคุณภาพจะช่วยป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเลตได้มากกว่า 99%

ช่วยถนอมผิวและสุขภาพของผู้โดยสารภายในรถยนต์ ยิ่งไปกว่านั้น รังสี UV ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้วัสดุภายในรถยนต์ซีดจางและเสื่อมคุณภาพ ดังนั้น การติดฟิล์มกรองแสงจะช่วยชลอการซีดจางของวัสดุอุปกรณ์ตกแต่งภายในรถยนต์ เป็นการรักษาและยืดอายุการใช้งาน ซึ่งถือเป็นการช่วยป้องกันความเสียหายของวัสดุภายในรถไว้ตั้งแต่ต้นเหตุ สภาพภูมิอากาศโดยรวมจะมีอุณหภูมิสูง แม้กระทั่งในช่วงหน้าหนาวถึงอุณหภูมิจะไม่สูงมากนัก แต่แสงแดดก็ยังแรงอยู่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ต้องใช้รถใช้ถนนเป็นระยะเวลานานๆ ก็มีโอกาสได้รับความร้อนจากแสงแดดมากกว่าปกติ

4. ช่วยลดอันตรายจากการแตกกระจายของกระจกรถยนต์ในเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ หากรถเกิดการเฉี่ยวชนจนกระทั่งกระจกแตกร้าว รถที่ติดฟิล์มรถยนต์ที่ได้คุณภาพ ผลิตจากโพลีเอสเทอร์ชั้นเยี่ยม และกาวพิเศษ จะสามารถช่วยยึดเกาะเศษกระจกที่แตกไว้ด้วยกันไม่ให้ร่วงหล่นมาบาดโดนส่วนต่างๆ ของร่างกายหรือทำอันตรายต่อผู้โดยสารในรถ

5. เพิ่มความสวยงามให้กับตัวรถและอาคารบ้านเรือน ทั้งนี้เพื่อให้ได้ประโยชน์จากฟิล์มกรองแสงอย่างคุ้มค่าและครบถ้วนดังที่กล่าวมาข้างต้น ผู้บริโภคจำเป็นจะต้องทราบข้อมูลต่างๆให้ชัดเจนและถูกต้องเป็นจริง เพื่อนำมาพิจารณาก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อฟิล์มกรองแสงรถยนต์ เนื่องจากในประเทศไทยมีฟิล์มกรองแสงอยู่มากมายหลายยี่ห้อ หลายรุ่นด้วยกัน5. เพิ่มความเป็นส่วนตัวภายในห้องโดยสาร

6. เพิ่มทัศนวิสัยที่ดีขณะขับขี่แม้ในยามค่ำคืน

7. ปกป้องวัสดุ , อุปกรณ์และเฟอร์นิเจอร์ ภายในรถ

8. ประหยัดไฟฟ้าและพลังงาน ช่วยให้เครื่องปรับอากาศ ไม่ต้องทำงานหนักช่วยยืดอายุการใช้งาน
 

ไฟล์แนบ

  • Image22.jpg
    Image22.jpg
    38 KB · อ่าน: 45

กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see
ด้านบน