กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see

ทำประกัน 2+,3+ ราคาเริ่มต้นที่ 6,500 บาท จ่ายสด ฟรี พรบ

  • เริ่มกระทู้โดย เริ่มกระทู้โดย kook001
  • วันที่เริ่มกระทู้ วันที่เริ่มกระทู้
**ข้อแนะนำในการเลือกซื้อและติดตั้งฟิล์มลดความร้อน**

เนื่องจากปัจจุบันมีฟิล์มกรองแสงนับสิบแบรนด์อยู่ในตลาด ซึ่งทุกแบรนด์ต่างก็โฆษณาว่าเป็นสินค้านำเข้าจากประเทศแถบยุโรปและสหรัฐอเมริกา สามารถลดความร้อนได้สูง ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตได้เกือบ 100 % บางรายรับประกันตลอดอายุการใช้งานเป็นต้น สิ่งเหล่านี้ถ้าฟิล์มแบรนด์นั้นมีคุณสมบัติอย่างที่โฆษณาจริง ผู้บริโภคจะได้รับผลประโยชน์และความพอใจที่ตรงตามความต้องการของตนเอง และคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่เสียไป ปัญหาคือจะทราบได้อย่างไรว่าข้อความที่โฆษณาเป็นจริงหรือไม่? เราจึงขอเสนอแนะวิธีการในการเลือกซื้อฟิล์มกรองแสง โดยแบ่งเป็น 4 หัวข้อใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้

1.มาตรฐานของโรงงานผู้ผลิตฟิล์ม
2.คุณสมบัติเฉพาะของฟิล์ม ( FILM SPECIFICATION )
3. บริษัทฯผู้นำเข้า
4. ราคา
5.การทดสอบฟิล์มด้วยตัวเอง
6.เลือกร้านติดตั้ง...ฝีมือช่างต้องชำนาญ


1. มาตรฐานของโรงงานผู้ผลิตฟิล์ม

ตลาดฟิล์มกรองแสงในบ้านเรานั้นมีมูลค่าที่เป็นที่น่าสนใจของผู้ลงทุนทั้งในวงการและนอกวงการมาก ทำให้มีการแข่งขันกันสูง ผู้บริโภคจะพบว่ามีฟิล์มมากมายแบรนด์ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ดังนั้นเมื่อท่านต้องการฟิล์มที่มีคุณภาพมาตรฐาน สิ่งที่ท่านต้องพิจารณาอันดับแรกคือมาตรฐานของโรงงานผู้ผลิตฟิล์ม ท่านทราบหรือไม่ว่า ฟิล์มส่วนใหญ่ที่อ้างว่านำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกานั้น มาจากประเทศไต้หวัน เกาหลี สิงคโปร์ ใกล้ๆเรานี่เอง แล้วเราจะดูมาตรฐานของโรงงานผู้ผลิตฟิล์มดูได้จากที่ไหน?

คำตอบก็คือจากโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ของฟิล์มแบรนด์นั้นๆโดยตรง แต่จะใช้ได้เฉพาะกับฟิล์มที่แจ้งชื่อโรงงานที่ตนนำเข้าเท่านั้น เพราะผู้บริโภคสามารถตรวจสอบกลับไปที่ WEBSITE ของโรงงานได้เลยว่ามีอยู่จริงหรือไม่ ผู้นำเข้าเป็นตัวแทนจำหน่ายจริงไหม สินค้ามีมาตรฐานอะไรบ้าง ค่าการทดสอบต่างๆใช้มาตรฐานอะไรวัด (เช่น ASTM E 903
 

ไฟล์แนบ

  • Image23.jpg
    Image23.jpg
    23.4 KB · อ่าน: 59


2.คุณสมบัติเฉพาะของฟิล์ม ( FILM SPECIFICATION )สำหรับผู้บริโภคทั่วไป จะพิจารณาจากคุณสมบัติหลักๆ 4 ตัว ดังนี้

-ปริมาณแสงส่องผ่านได้ ( VISIBLE LIGHT TRANSMITTED )
-ความสามารถในการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต ( ULTRA VIOLET BLOCK )
-ความสามารถในการสะท้อนกลับของแสง ( VISIBLE LIGHT REFLECTED )
-ความสามารถในการลดความร้อน ( TOTAL SOLAR ENERGY REJECTED )

ปริมาณแสงส่องผ่านได้ คือปริมาณของแสงที่ส่องผ่านกระจกที่ติดฟิล์ม วัดที่ความยาวคลื่น 550 นาโนเมตร ซึ่งเป็นความยาวคลื่นที่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆได้ชัดเจนที่สุด โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบกับปริมาณแสงทั้งหมดก่อนส่องผ่านกระจกที่ติดฟิล์ม ฟิล์มที่มีค่าปริมาณแสงส่องผ่านน้อยจะเป็นฟิล์มที่มีความเข้มมากกว่าฟิล์มที่มีปริมาณแสงส่องผ่านมาก คือตัวเลขยิ่งมากยิ่งใสนั่นเอง

ผู้บริโภคจะต้องพิจารณาว่ามีความต้องการติดฟิล์มที่มีความใสมากน้อยเพียงไรที่เหมาะสมกับตนเอง โดยส่วนใหญ่จะแนะนำให้ติดบานหน้าใสกว่าด้านข้าง เพื่อให้ทัศนวิสัยในการขับขี่ที่ดีกว่า การเลือกฟิล์มเข้มมากน้อยจะขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างเช่นความชอบ, อายุผู้ขับขี่, ลักษณะการใช้งาน เป็นต้น ความสามารถในการป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเลต คือปริมาณรังสีอัลตราไวโอเลตที่ถูกป้องกันไว้ไม้ให้ผ่านเข้ามา โดยคิดเป็นโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบกับปริมาณรังสีทั้งหมดในแสงแดด

โดยส่วนใหญ่ฟิล์มจะสามารถป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตได้ดีอยู่แล้ว คุณสมบัติในข้อนี้จึงไม่มีความแตกต่างกันมากนักในแต่ละแบรนด์ความสามารถในการสะท้อนกลับของแสง ได้ คือปริมาณของแสงที่ถูกสะท้อนกลับเมื่อกระทบกับกระจกที่ติดฟิล์ม โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบกับปริมาณแสงทั้งหมดก่อนส่องผ่านกระจกที่ติดฟิล์ม หรือค่าการสะท้อนแสงของฟิล์มนั่นเอง การเลือกฟิล์มที่มีค่าการสะท้อนมากก็จะมีผลกระทบต่อผู้อื่นมาก ดังนั้นจึงควรเลือกใช้ให้เหมาะสม ทั้งนี้อัตราการสะท้อนกลับของแสงไม่ควรเกิน 35 % สำหรับฟิล์มรถยนต์ ความสามารถในการลดความร้อน คือปริมาณพลังงานความร้อนที่ถูกป้องกันไว้ไม้ให้ผ่านกระจก โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบกับพลังงานความร้อนทั้งหมดในแสงแดด

คุณสมบัติตัวนี้เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคชาวไทยต้องการมากที่สุด เพราะบ้านเรามีภูมิอากาศร้อนเกือบทั้งปี ตัวเลขยิ่งมากก็ยิ่งลดความร้อนได้สูง สิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคสับสนมากที่สุดในปัจจุบันคือการแสดงค่าการลดความร้อนที่สูงมาก แต่ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นจริงหรือไม่ หรือใช้ค่าการลดความร้อนจากอินฟราเรดมาแสดง ซึ่งรังสีอินฟราเรดเป็นส่วนประกอบเพียง 53 % ของพลังงานแสงอาทิตย์ ( ดูความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ ) ดังนั้นจึงไม่ใช่ตัวเลขที่แสดงถึงการลดความร้อนจากแสงแดดที่แท้จริง รวมถึงการทดสอบโดยใช้สปอตไลท์เช่นกัน ไม่สามารถให้ค่าที่ถูกต้องได้เพราะความร้อนจากสปอตไลท์เป็นพลังงานจากรังสีอินฟราเรดอย่างเดียว
 

ไฟล์แนบ

  • Image24.jpg
    Image24.jpg
    20.9 KB · อ่าน: 55
3. บริษัทฯผู้นำเข้า

ปัจจัยที่ต้องพิจารณาถึงบริษัทฯผู้นำเข้าเพื่อประกอบการตัดสินใจคือ
-มีความตั้งใจจริงที่จะนำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพ และมีความจริงใจกับผู้บริโภคแค่ไหนพิจารณาได้จากการนำเสนอข้อมูลของตัวสินค้าว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบได้หรือไม่ แล้วท่านจะทราบว่าแบรนด์นั้นมีคุณภาพหรือไม่อย่างไร
-มีประสบการณ์ในธุรกิจนี้แค่ไหน เนื่องจากฟิล์มเป็นสินค้าที่มีระยะเวลารับประกันนาน ดังนั้นจึงควรเลือกบริษัทฯที่อยู่ในธุรกิจมาเป็นเวลานานพอสมควร เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าท่านจะได้รับการดูแลตลอดระยะเวลารับประกันของ
แบรนด์นั้น
-ทำตลาดในแบรนด์เดียวกับผู้ผลิตหรือเปล่า เนื่องจากปัจจุบันมากกว่า 90 % ของผู้ทำธุรกิจฟิล์มจะตั้งแบรนด์ขึ้นเอง ( LOCAL BRAND )
ทั้งนี้ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร การเลือกใช้ฟิล์มที่นำเสนอในแบรนด์เดียวกับผู้ผลิตจะเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคได้มากกว่าทั้งในด้านความสม่ำเสมอของคุณภาพสินค้า และการรับประกัน


4.ราคา

ปัจจัยเรื่องราคาถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผู้บริโภคต้องพิจารณาว่าราคาที่นำเสนอคุ้มค่ากับคุณประโยชน์ที่ได้รับหรือไม่ อย่างเช่นคุณควรศึกษาสเปกของฟิล์มชนิดที่คุณต้องการแล้วมาดูว่ามียี่ห้อใดบ้างที่ตรงกับความต้องการของคุณ แล้วนำมาเปรียบเทียบราคาดูเลือกที่ราคาเหมาะสมและมีคุณภาพไม่ใช่เลือกที่ราคาถูกที่สุด ราคาต้องสมเหตุสมผล เหมาะสมกับคุณภาพในระดับที่ยอมรับได้ ไม่ใช่ต้องแพงเพียงเพราะมีชื่อเสียงมานานหรือเพราะโฆษณาเกินจริง ทำให้ตั้งราคาแพง หรือสูงขึ้นอีก ไม่สมคุณภาพที่โฆษณาไว้ โดยส่วนมากฟิล์มเคลือบโลหะ ทั้งชนิด Sputtered และ Metallized จะมีราคาสูงกว่าฟิล์มเคลือบสีประมาณ 1-2 เท่าตัว ที่สำคัญคือต้องดูงบประมาณในกระเป๋าของคุณเองด้วย แล้วทีนี้หน้าร้อนเราก็พารถ(ที่รัก)ไปติดฟิล์มกันได้เลย


5.การทดสอบฟิล์มด้วยตัวเอง

ผู้บริโภคควรพิจารณาโฆษณาของฟิล์มกรองแสงต่าง ๆ ให้ดีก่อนเลือกติดตั้ง ต้องเป็นโฆษณาที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่มีการโฆษณาชวนเชื่อเกินจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง % การลดความร้อน และคุณสมบัติต่าง ๆ ของฟิล์มกรองแสง % การลดความร้อนที่ถูกต้องนั้นต้องเป็น % การลดความร้อนจากแสงแดด นอกจากนี้ยังควรพิจารณาถึงวิธีการทดสอบคุณภาพของฟิล์มกรองแสงด้วยว่าเชื่อถือได้หรือไม่ เช่น ไม่ควรทดสอบฟิล์มด้วยแสงสปอตไลท์ไม่ว่าจะโดยการให้ผู้บริโภคใช้มืออัง หรือยืนท่ามกลางแสงสปอตไลท์


ทั้งนี้เพราะเวลาเราขับรถจริง ๆ นั้น เราขับรถภายใต้แสงแดด มิใช่แสงสปอตไลท์ และแหล่งกำเนิดแสงทั้งสองชนิดนี้ก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง และบางครั้งยังมีกรณีว่าฟิล์มที่ใช้เวลาทดสอบกับฟิล์มที่นำมาติดตั้งให้นั้น เป็นคนละชนิดกัน หรือใช้ฟิล์มติดตั้งซ้อนทับกันสองชั้นในการทดสอบ จุดนี้ผู้บริโภคต้องพึงระวัง และพิจารณาให้รอบคอบ
 

ไฟล์แนบ

  • Image25.jpg
    Image25.jpg
    26.7 KB · อ่าน: 54
6.เลือกร้านติดตั้ง...ฝีมือช่างต้องชำนาญ

ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายก็มีส่วนสำคัญที่ต้องพิจารณาประกอบ ทุกวันนี้ฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์จะขายผ่านร้านประดับยนต์ ร้านติดตั้งเครื่องเสียง ซึ่งร้านเหล่านี้จะมีทั้งที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้จำหน่ายโดยตรง กับไม่ได้รับการแต่งตั้ง ร้านที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งจะนำฟิล์มเข้ามาจำหน่ายเอง ซึ่งก็เสี่ยงต่อฟิล์มคุณภาพต่ำ บางแห่งก็เสนอฟิล์มแบบมียี่ห้อ ให้ดู พอตอนติดตั้งแอบไปเอาฟิล์มอะไรไม่รู้มาติดรถ อย่างนี้ก็มี

เราสามารถพิจารณาได้ว่าร้านใดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายหรือไม่ โดยสังเกตจากป้ายหน้าร้าน หรือใบที่ได้รับการแต่งตั้ง หรือใบรับประกันสินค้า หรือถ้าต้องการความมั่นใจโทรศัพท์สอบถามจากผู้นำเข้าโดยตรง และควรเลือกร้านที่มีห้องสำหรับการติดฟิล์มโดยเฉพาะ เนื่องจากฝุ่นคือศัตรูตัวร้ายกาจของการติดฟิล์ม


การติดฟิล์มกรองแสงรถยนต์หากได้ฟิล์มคุณภาพ แต่หากช่างที่ติดตั้งไม่มีฝีมือก็ไร้ประโยชน์ การติดฟิล์มกรองแสงนั้น นอกจากคุณภาพของฟิล์มแล้ว หากต้องการให้ฟิล์มอยู่คงทนนานต้องขึ้นอยู่ที่ฝีมือของช่างคนนั้นด้วยช่างที่ติดฟิล์มจะต้องมีฝีมือในการกรีดฟิล์ม เพราะหากมือไม่ดีพอ เวลาที่กรีดฟิล์มลงสู่กระจกจะทำให้ฟิล์มนั้นไม่เสมอกัน โดยเฉพาะตรงขอบกระจก และถ้าเลวร้ายไปกว่านั้น บางครั้งอาจกรีดโดนกระจกรถยนต์ และทำให้เป็นรอยได้

อาทิตย์ต่อไปเราจะนำเสนอการดูแลรักษาฟิล์มหลังจากการติดตั้ง หลายท่านอาจจะไม่เคยใส่ใจหรือละเลย เพราะฉะนั้น ห้ามพลาด!!

ข้อมูล : บริษัท ฟิล์มกรองแสงอุตสาหกรรม จำกัด , ฮานิตะ ฟิล์ม , Window Film Magazine
 

ไฟล์แนบ

  • Image26.jpg
    Image26.jpg
    26.4 KB · อ่าน: 54
พารถ(สุดที่รัก)ไปติดฟิล์มกรองแสง(ตอนจบ)

สุดท้ายหลังจากเรานำรถไปติดตั้งฟิล์มมาเรียบร้อยแล้ว ใช่ว่าทุกอย่างจะไม่ต้องจัดการอะไรอีกแล้ว เพราะฟิล์มก็ไม่ต่างอะไรจากรถเมื่อติดตั้งแล้วก็ต้อมีการดูแลรักษากันด้วย มิเช่นนั้นอาจจะทำให้อายุการใช้งานเสื่อมลง


**วิธีการดูแลฟิล์มกรองแสงหลังติดตั้ง**

โดยทั่วไปวิธีการติดตั้งฟิล์มกรองแสงจะต้องใช้น้ำผสมกับแชมพูแบบอ่อนๆ ฉีดลงไปบนด้านแผ่นกาวของฟิล์มและกระจกที่จะติดตั้งเพื่อช่วยให้ขยับฟิล์มให้เข้าที่แล้วจึงรีดน้ำและอากาศออกด้วยเครื่องมือชนิดต่างๆ ดังนั้นภายหลังจะพบว่าจะมีคราบน้ำขัง , กระจกมัว หรือเป็นฝ้าที่กระจก ก่อนที่อาการเหล่านี้จะหายไปเอง ภายในเวลา 1-4 สัปดาห์

เมื่อฟิล์มแห้งสนิทและกาวทำงานอย่างเต็มที่แล้วในการยึดติดกระจก ควรปฎิบัติดังนี้

1.ห้ามเลื่อนกระจกขึ้น - ลงเป็นเวลา 7 วัน หลังจากติดตั้งฟิล์ม เพื่อให้ฟิล์มอยู่ตัว

2. ระยะเวลาในการอยู่ตัวของฟิล์มจะใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดของฟิล์มที่ติดตั้ง อุณหภูมิและความชื้นในอากาศ คราบความชื้นที่อยู่ระหว่างกระจกกับฟิล์ม อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างนี้แต่จะแห้งและหายหมดไปเอง
 

ไฟล์แนบ

  • Image27.jpg
    Image27.jpg
    27.6 KB · อ่าน: 56
3. งดใช้ระบบละลายฝ้าที่กระจกหลังเป็นเวลา 30 วัน หลังจากติดตั้งฟิล์มเพราะจะทำให้ฟิล์มเกิดการเสียหายได้

4. ห้ามใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ , ผ้าหยาบ , ขนแปรง , สก็อตไบร์ท หรือวัสดุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ฟิล์มได้

5. ห้ามเช็ดล้างด้วยน้ำยาล้างกระจกที่มีส่วนผสมของสารแอมโมเนียเช็ดทำความสะอาดฟิล์มโดยเด็ดขาด

6. หากต้องการทำความสะอาดฟิล์ม ให้ใช้ผ้านุ่น และน้ำหรือน้ำสบู่อ่อนๆ เช็ดทำความสะอาดฟิล์ม ซึ่งจะช่วยทำให้เนื้อฟิล์มใสและรักษาเนื้อฟิล์มได้ดี

7. ก่อนเช็ดทำความสะอาดทุกครั้ง ควรตรวจสอบเสมอว่าในผ้าหรือทิชชูใดๆที่ใช้ ไม่มีผงฝุ่นหรือเม็ดทรายในผ้า เพราะจะทำให้คุณสมบัติของสารเคลือบฟิล์มเสียหายหรือลดคุณภาพได้

8. ควรจอดรถตากแดดหลังจากติดตั้งฟิล์ม เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 15-21 วันเพราะจะช่วยให้กาวในเนื้อฟิล์มแห้งเร็วขึ้น

เพียงเท่านี้ก็จะทำให้เราแน่ใจได้ว่า เราได้ฟิล์มติดรถยนต์ที่มีคุณภาพ และทราบการดูแลรักษากระจกรถอย่างถูกวิธี เพราะในการดูแลเอาใจใส่ฟิล์มติดรถยนต์ที่ติดตั้งมาใหม่อย่างถูกวิธีนั้น จะทำให้ฟิล์มที่เราติดตั้งมานั้นอยู่คู่กับรถไปได้ทนทานนาน 7-10 ปีทีเดียว
 

ไฟล์แนบ

  • Image28.jpg
    Image28.jpg
    28.7 KB · อ่าน: 55
มาดูแลรถ...ลดโลกร้อนกันเถอะ!!

ตอนนี้กระแส "ภาวะโลกร้อน" กำลังมาแรงทีเดียว เห็นได้จากหลากหลายสาเหตุที่ล้วนเกิดจากฝีมือของมนุษย์อย่างเราๆทั้งสิ้น จนมีการเรียกร้องให้มาช่วยกันลดปัญหาด้วยวิธีการต่างๆ ตั้งแต่ง่ายๆอย่างการใช้ถุงผ้าไปซื้อของแทนใช้ถุงพลาสติก จนกระทั่งการรณรงค์ให้ช่วยกันใช้พลังงานอย่างถูกวิธีและประหยัด แต่สำหรับประเทศไทยแล้วถือว่าเป็นเรื่องที่ลำบากพอสมควรเนื่องจากวิถีการดำเนินชีวิตของเรา โดยเฉพาะในกรุงเทพด้วยแล้วถือว่าเป็นเมืองที่ปล่อยก๊าซพิษสูงทีเดียว ก๊าซที่ว่านี้ก็คือก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ จากรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถบบรทุก ฯลฯ อีกทั้งยังเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาอากาศเป็นพิษและเสียงรบกวนได้ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพอนามัย ซึ่งคนที่อาศัยอยู่ต้องสูดหายใจเข้าไปทุกวันอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นเราควรมาทำความรู้จักกับสิ่งที่ออกมาจากท่อไอเสีย และวิธีที่จะช่วยลดมลพิษจากรถของท่านกันดีกว่า

การทำงานของเครื่องยนต์นั้น หากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงไม่สมบูรณ์ จะทำให้เกิดสารพิษปล่อยออกมาจากท่อไอเสียอันเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอากาศเป็นพิษ สารพิษเหล่านี้ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ควันดำไฮโดรคาร์บอนอ๊อกไซด์ของไนโตรเจน สารตะกั่ว ฯลฯ

1ควันดำเป็นผงเขม่าขนาดเล็กที่เหลือจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจากรถยนต์ดีเซล เช่น รถปิกอัพดีเซล รถเมล์โดยสาร และรถขนาดใหญ่ทั่ว ๆ ไป

สาเหตุการเกิดควันดำ
-ระบบจ่ายน้ำมันไม่เหมาะสม ทำให้สัดส่วนน้ำมันและอากาศไม่เหมาะสม เกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์
-ไส้กรองอากาศสกปรกและอุดตัน
-เครื่องยนต์เก่าชำรุดขาดการบำรุงรักษา
-บรรทุกน้ำหนักเกินอัตราที่กำหนด

อันตรายจากควันดำ
ควันดำเป็นผลเขม่าเล็กที่สามารถเข้าไปสะสมที่ถุงลมในปอด และควันดำยังประกอบด้วยสารที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งในปอด นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความสกปรก และบดบังการมองเห็นก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางจราจรได้ง่าย
 
2 ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ซึ่งเป็นก๊าซพิษที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ไม่สมบูรณ์ในเครื่องยนต์รถ เช่น รถยนต์ส่วนบุคคล รถแท็กซี่ รถสามล้อเครื่อง

รถจักรยานยนต์ ฯลฯ ก๊าซนี้จะเกิดขึ้นมากในขณะที่รถยนต์เดินเครื่องอยู่กับที่ เนื่องจากการจราจรติดขัด


สาเหตุการเกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
-มีการปรับแต่งเครื่องยนต์เกี่ยวกับระบบจ่ายไฟ และจ่ายน้ำมันที่ไม่เหมาะสม
-ไส้กรองอากาศอุดตัน
-ใช้น้ำมันผิดประเภท เช่น ใช้น้ำมันธรรมดากับเครื่องยนต์ที่กำหนด ให้ใช้น้ำมันเบนซินพิเศษ
-บรรทุกน้ำหนักเกินอัตราที่กำหนด
-ลักษณะการขับขี่ที่มีการเร่งเครื่องยนต์โดยไม่จำเป็น


อันตรายจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
เมื่อหายใจเข้าไปก๊าซนี้จะทำปฏิกิริยากับ ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง กลายเป็นคาร์บ๊อกซี่ฮีโมโกลบิน ทำให้การลำเลียงอ๊อกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ ถ้ามีก๊าซนี้

ในอากาศที่เราหายใจเพียง 60 ส่วนในล้านส่วน จะทำให้เกิดอาการ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หมดสติ ในกรณีที่มีก๊าซนี้เกิน 5,000 ส่วนในล้านส่วนของอากาศที่เราหายใจจะทำให้เกิดอันตราย

ถึงตายได้


การป้องกันและลดสารพิษจากรถยนต์

การที่จะป้องกันไม่ให้รถยนต์ของท่านปล่อยสารพิษสู่สิ่งแวดล้อม ผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ขับขี่รถจะต้องหมั่นบำรุงรักษาสภาพของเครื่องยนต์ มีการปรับแต่งเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ

รวมถึงลักษณะการขับขี่ ซึ่งมีข้อแนะนำดังนี้


-ใช้น้ำมันไร้สารตะกั่วสำหรับรถเครื่องยนต์เบนซิน หรือน้ำมันดีเซลกลั่นอุณหภูมิต่ำสำหรับรถเครื่องยนต์ดีเซล
-เปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามกำหนดเวลา
-หมั่นตรวจดูระบบกรองอากาศ ถ้าอุดตันมีฝุ่นจับมากให้ทำความสะอาดหรือเปลี่ยนใหม่
-หลีกเลี่ยงการบรรทุกเกินอัตรากำลังรถ
-ควรออกรถให้นิ่มนวลและไม่เร่งเครื่องเกินความจำเป็น
-ติดตั้งอุปกรณ์กรองไอเสีย (Catalytic Converter) เพื่อช่วยให้ไอเสียที่ปล่อยออกมามีมลพิษน้อยลงได้
 
สำหรับรถที่ใช้น้ำมันดีเซลควรตรวจสอบเครื่องยนต์เป็นพิเศษ ดังนี้

-ตรวจสอบกำลังอัดของเครื่องยนต์ ถ้าต่ำกว่าปกติจะต้องซ่อมโดยเปลี่ยนแหวนลูกสูบ หรือคว้านกระบอกสูบ
-ปรับแรงดันที่หัวฉีดให้ตรงตามกำหนดและหัวฉีดต้องฉีดน้ำมันเป็นละออง ถ้าหัวฉีดปรับแรงดันไม่ได้หรือฉีดน้ำมันไม่เป็นละออง ให้เปลี่ยนชุดหัวฉีดใหม่
ตั้งปั๊มหัวฉีดที่มีความเร็วรอบต่าง ๆ ให้จ่ายน้ำมันตามกำหนด ถ้าหากว่าปรับตั้งไม่ได้เนื่องจากลูกปั๊มสึกหรอมากให้เปลี่ยนลูกปั๊มแต่ละชุดใหม่

สำหรับรถที่ใช้น้ำมันเบนซินควรตรวจสอบเครื่องยนต์เป็นพิเศษ ดังนี้

-ปรับคาร์บูเรเตอร์ โดยปกติจะปรับสกรูเดินเบาเพิ่มขึ้น แต่สำหรับรถที่ใช้ระบบหัวฉีดน้ำมันอัตโนมัติจะต้องปรับแต่งโดยช่างผู้ชำนาญงานเท่านั้น
-ตรวจสอบกำลังอัดของเครื่องยนต์และระบบไฟ จุดระเบิดอาจแก่เกินไป ควรลดลงให้เหมาะสม


ที่มา : รวบรวมจากฝ่ายสุขาภิบาลทั่วไป กองอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
 
ปลอมทะเบียน

จริงๆทะเบียนไม่ได้ปลอม แต่เกิดจากการสวมทะเบียน โดยมิจฉาชีพจะแจ้งหายแล้วทำเล่มใหม่ขึ้นมาแทน ขณะที่ฉบับจริง(ของเจ้าของจริง)ยังคงอยู่ ซึ่งเจ้าของรถที่ถือสมุดจดทะเบียนทั้งคู่ จะรู้ตัวก็ต่อเมื่อมีการเสียภาษีประจำปี...ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดตรวจสอบถึงตัวเลขรถเถื่อนที่มีในตลาด แต่อธิบดีกรมการขนส่งทางบกกำลังร่วมมือกับตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลปัญหาอย่างใกล้ชิด


โครงการเลื่อนล้อต่อภาษี

โครงการรูปแบบใหม่เพื่อให้ประชาชนขับรถเข้ามาเสียภาษีประจำปี สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน(เก๋ง) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน(รถตู้) รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล(ปิกอัพ) และรถจักรยานยนต์ ณ จุดบริการภายนอกสำนักงาน กรมการขนส่งทางบก (จตุจักร)โดยไม่ต้องลงจากรถ ทั้งนี้ได้ขยายบริการไปอีก 4 จังหวัดที่ สำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น นนทบุรี และอยู่ระหว่างดำเนินการอีกหนึ่งแห่งที่ สุราษฎร์ธานี


รถวิ่งจริงบนถนน

จากสถิติจำนวนรถจดทะเบียนสะสมถึงสิ้นปี 2549 มีทั้งสิ้น 24,807,297 คัน ในจำนวนนี้เป็นรถจักรยานยนต์ 15,650,267 คัน เหลือเป็นรถยนต์ประมาณ 9,157,030 คัน แต่วิ่งจริงอยู่บนท้องถนนประมาณ 80% หรือประมาณ 7,325,624 คัน


ร้องเรียนผ่านสายด่วน 1584

กรมการขนส่งทางบก จัดตั้งศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ เมื่อปี พ.ศ.2545 โดยประชาชนที่พบเห็นหรือได้รับความเดือดร้อนจากการให้บริการของรถโดยสารสาธารณะ สามารถร้องเรียนได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1584 ตลอด 24 ชั่วโมง
 
รู้เส้นทาง.....เลี่ยงรถติดช่วงปีใหม่

ในช่วงเทศกาลสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสงกรานต์ หรือวันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ผู้คนต่างเดินทางออกต่างจังหวัดมากมาย จนเกิดปัญหาการจราจรคับคั่ง รถติดยาวเหยียดนับสิบนับร้อยกิโลเมตร โดยเฉพาะเส้นทางหลักออกไปสู่แต่ละภูมิภาคของไทย ผลจากการจราจรที่คับคั่งในช่วงเทศกาลสำคัญเหล่านี้ นอกจากทำให้เสียเวลาเดินทางแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งให้เกิดอุบัติตลอดเส้นทาง ตั้งแต่ได้รับบาดเจ็บไปจนถึงกับเสียชีวิต เฉลี่ยแล้วนับร้อยราย สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินปีละหลายแสนล้านบาท

เหตุนี้กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บชน.) และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จึงได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบเส้นทางหลีกเลี่ยง จากกรุงเทพฯ ไปยังภูมิภาคต่างๆ ซึ่งจะมีประชาชนเดินทางไปต่างจังหวัดมาก เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและลดปัญหาการจราจรคับคั่ง ในช่วงเทศกาลวันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2553 นี้ โดยเส้นทางหลีกเลี่ยงจากกรุงเทพมหานครไปยังภูมิภาคต่างๆ มีดังนี้ ......


1. ภาคเหนือ
1.1 จากต่างระดับฉิมพลี ใช้เส้นทางตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข 304) ผ่านแยกรัตนาธิเบศร์-บางบัวทอง-สุพรรณบุรี-อ.วิเศษไชยชาญ-สามแยก อ.โพธิ์ทอง-เลี้ยวขวาเข้าตัวเมืองอ่างทอง ออกถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 32) ที่ กม.101-102
1.2 จากต่างระดับฉิมพลี ใช้เส้นทางตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี เลี้ยวขวาเข้าถนนวงแหวนตะวันตก (ทางหลวงหมายเลข 37) ที่ กม. 25+451 บรรจบถนนพหลโยธิน ที่ กม. 52 (ต่างระดับบางประอิน)
1.3 จากสี่แยกหลักสี่ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนแจ้งวัฒนะ ถึงห้าแยกปากเกร็ดเลี้ยวขวาเข้าถนนติวานนท์ไป จ. ปทุมธานี (ทางหลวงหมายเลข 306) หรือเลี้ยวขวาเข้าหมู่บ้านเมืองทองธานีบรรจบทางหลวงหมายเลข 306 มุ่งหน้า จ. ปทุมธานี เลี้ยวขวาเข้าปทุมธานี-บางไทร (ทางหลวงหมายเลข 37) กม.87-88
1.4 จากสี่แยกหลักสี่เข้าถนนแจ้งวัฒนะขึ้นทางด่วนแจ้งวัฒนะลงเชียงลากถนนพหลโยธิน
1.5 มาจากถนนรามอินทราไปภาคเหนือ ให้ใช้ถนนแจ้งวัฒนะ-ติวานนท์ (ตามข้อ 1.3)
 

ไฟล์แนบ

  • Image32.jpg
    Image32.jpg
    28.2 KB · อ่าน: 58
2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2.1 จากต่างระดับฉิมพลี ใช้เส้นทางตลิ่งชัน-บางบัวทอง (ทางหลวงหมายเลข 304) ผ่านแยกบางบัวทองเลี้ยวขวาเข้าถนนวงแหวนตะวันตก (ทางหลวงหมายเลข 37) ที่ กม.25-451 ตรงไปบรรจบถนนพหลโยธินที่ต่างระดับบางประอิน ที่ กม. 25 ตรงไป จ.สระบุรี
2.2 จากห้าแยกปากเกร็ดใช้เส้นทางขวาเข้าถนนปทุมธานี-บางไทร (ทางหลวงหมายเลข 306) ผ่านแยกคลองรังสิต-นิคมอุตสาหกรรมบางกระดี่ เลี้ยวขวาเข้าถนนปทุมธานี-บางไทร (ทางหลวงหมายเลข 347) ที่ กม.27 (วิทยาลัยเทคโนปทุมธานี) บรรจบวงแหวนตะวันตก (ทางหลวงหมายเลข 37) ที่ กม. 5 เลี้ยวขวาบรรจบถนนพหลโยธิน ที่ต่างระดับบางประอิน กม.52 มุ่งหน้า จ.สระบุรี
2.3 จากถนนรามอินทรา กม. 5 (ถนนวัชรพล) ตรงไปบรรจบถนนลำลูกกา (ทางหลวงหมายเลข 3312) เลี้ยวซ้าย 300 เมตร เลี้ยวขวาเลียบคลองสี่ ตรงไปบรรจบถนนรังสิต-นครนายก (ทางหลวงหมายเลข 305) ที่ กม. 8
2.4 จากถนนรามอินทรา หรือถนนรามกำแหง (ถนนสุขาภิบาล 3หรือถนนเสรีไทย)(ถนนสุขาภิบาล)หรือถนนนวมินทร์(สุขาภิบาล 1) ขึ้นถนนวงแหวนรอบนอกตะวันตกไปบางประอิน
2.5 เส้นทางเลี่ยงสะพานต่างระดับสระบุรีไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนพหลโยธิน-ขวาแยกหินกอง-ซ้าย อ. บ้านนา -ออก ถนนมิตรภาพ ช่วง อ. แก่งคอย- ขวาไป จ.สระบุรี


3. ภาคตะวันออก
3.1 จากทางด่วนบางนา ไปตามถนนสุขุมวิทขาออกตลอดสายผ่านสำโรงเหนือ ผ่าน อ. เมืองสมุทรปราการเข้าคลองด่าน บางบ่อ ตรงไปบางประกง ไปสู่ จ.ฉะเชิงเทรา หรือ จ. ชลบุรี
3.2 จากบางกะปิ แยกลำสาลีเข้าสู่ถนนศรีนครินทร์ขาออก มาบรรจบสุขุมวิทที่สามแยกการไฟฟ้า จ.สมุทรปราการ เลี้ยวซ้าย ใช้ถนนสุขุมวิทสายเก่าไปสู่ จ.ชลบุรี
3.3 จากทางด่วนบางนา ใช้ถนนบางนา-ตราด ตลอดสาย
3.4 จากถนนพระราม 9 หรือถนนศรีนครินทร์ เข้าทางพิเศษ (มอเตอร์เวย์) ไปสู่ จ.ชลบุรี
 
4. ภาคใต้
4.1 ถนนสิรินธรและถนนบรมราชชนนี ตรงไปตามถนนพุทธมณฑลมุ่งสู่ จ.นครปฐม
4.2 จากสี่แยกบางเขน ข้ามสะพานพระนั่งเกล้าไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ถึงสามแยกบางใหญ่ เลี้ยวซ้ายไปตามถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี ข้ามสะพานต่างระดับเลี้ยวขวาไปตามถนนพุทธมณฑลจนไปบรรจบกับถนนเพชรเกษม หรือตรงไปใช้เส้นทาง วงแหวนรอบนอกไปบรรจบถนนเพชรเกษมที่บางแค แล้วเลี้ยวซ้ายไป จ.นครปฐม
4.3 ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ลงถนนพระราม 2 (ถนนธนบุรี-ปากท่อ) เพื่อเดินทางสู่ภาคใต้


ข้อมูลเพิ่มเติมในการเตรียมรถยนต์ให้พร้อมก่อนออกเดินทาง

เริ่มต้นด้วยการหมั่นตรวจสอบยาง และ ยางอะไหล่ให้อยู่ในสภาพพร้อมเดินทางเสมอเบรก ต้องอยู่ในสภาพสมบรูณ์พร้อมใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ควรตรวจเช็คน้ำมันเบรก จานเบรก ปั๊มลม ถ้าน้ำมันเบรกพร่องผิดปกติ ให้นำรถเข้าศูนย์บริการทันที หม้อน้ำ ควรตรวจสอบน้ำในหม้อน้ำให้อยู่ในระดับมาตรฐานเสมอ หม้อน้ำแบตเตอรี่ ระดับน้ำกลั่นในหม้อน้ำต้องอยู่ในระดับที่กำหนดและควรมีน้ำกลั่นสำรองเก็บไว้ด้วย กระจก ปรับมองข้างทั้ง 2 ด้าน และกระจกมองหลังให้อยู่ในสภาพที่มองเห็นชัดเจน

น้ำมันเครื่อง ควรมีสำรองติดรถไว้ โดยหมั่นตรวจสอบสม่ำเสมอและเติมให้ถึงขีดมาตรฐาน น้ำมันเชื้อเพลิง ควรเติมให้เพียงพอสำหรับการเดินทางแต่ละครั้ง เครื่องมือประจำรถและอะไหล่ต่างๆ ต้องมีพร้อมติดรถไว้ยามจำเป็น นอกจากนี้ ก่อนนำรถออกใช้งาน ควรตรวจวัดลมยางอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยทุก 2 สัปดาห์ หรือทุกครั้งก่อนการเดินทางไกลให้มีความดันลมยางที่เหมาะสม (ควรทำเมื่อยางอยู่ในอุณหภูมิปกติ) และควรตรวจสอบความดันลมยางของอะไหล่อย่าปล่อยให้ความดันลมยางมากหรือน้อยเกินไป เพราะจะทำให้ส่วนต่างๆ ของยางร้อนกว่าปกติ จนเสื่อมคุณสมบัติลง
 

ไฟล์แนบ

  • Image33.jpg
    Image33.jpg
    8.7 KB · อ่าน: 57
แก๊สโซฮอล์ 91 VS เบนซิน 91

ยังคงเป็นข้อสงสัยอันดับต้นๆ ในแวดวงยานยนต์เมืองไทยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของน้ำมันก๊าซโซฮอล์ ซึ่งกำลังจะมาแทนที่น้ำมันเบนซิน ด้วยการประกาศ(แกมบังคับ)ของรัฐบาล ที่จะยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซินชนิด 95 คงเหลือแต่เพียงเบนซิน 91 เท่านั้นที่ยังคงจำหน่ายอยู่

เมื่อเอ่ยถึงเบนซิน 91 ก็จะต้องนึกถึงน้ำมันที่อาจจะมาแทนที่เบนซิน 91 ในอนาคต เหมือนที่กำลังเกิดกับเบนซิน 95 นั่นก็คือ แก๊สโซฮอล์ 91 ซึ่งปัจจุบันมีเพียง
 
รถชน!!!.....อย่าตกใจ-ทำอย่างไรดี

อุบัติเหตุบนท้องถนน มีให้เห็นได้เสมอทุกวัน โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสารพัดตลอดทั้งปีของบ้านเรา มีทั้งบาดเจ็บเล็กน้อย กระทั่งเสียชีวิต อีกกรณีก็คือพวกที่ชอบ "ชนแล้วหนี" มีให้เห็นตามข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์แทบทุกวัน ซึ่งฟังแล้วทำให้รู้สึกว่าคนสมัยนี้ขาดความรับผิดชอบและประมาทกันมาก เมื่อเกิดเหตุการณ์ก็มักจะตกใจจนไม่มีสติไม่รู้จะทำอย่างไรดี ที่สำคัญอุบัติเหตุบนท้องถนนยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของคนไทยด้วย แต่เมื่อห้ามกันไม่ได้หากจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้น ตัวคุณไม่ว่าจะเป็นผู้ขับ ผู้โดยสาร หรือผู้พบเห็นเหตุการณ์ก็ตามลองมาดูแนวทางปฏิบัติที่นำมาให้อ่านกัน


1 ถ้าเป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์

ควรช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ ตามสมควรและเราจะต้องแสดงตัวเป็นพลเมืองดีโดยยินดีที่จะเป็นพยานในคดีให้ สมมุติว่าเราเห็นคนคันหนึ่งชนคนแล้วหนีสิ่งที่เราควรทำก็คือพยายามจดจำทะเบียนรถ ชื่อยี่ห้อ สีรถแล้วรีบแจ้งตำรวจทราบ เพื่อติดตามจับกุมต่อไป มีบางคนถึงกับขับรถตามไปคนประเภทนี้ควรได้รับการยกย่องว่าเป็นคนดีต่อสังคม

2 ถ้าท่านเป็นคนเจ็บเพราะรถชน

สิ่งแรกที่ควรทำก็คือท่านต้องร้องให้คนอื่นช่วย ถ้าท่านยังมีสติอยู่ เพราะว่าคนที่มามุงดูอาจจะไม่ทราบว่าท่านบาดเจ็บร้ายแรงเพียงใดหากท่านยังสามารถพูดได้ก็ขอให้บอกว่าเจ็บที่ตรงส่วนใดเพื่อจะได้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ส่วนเรื่องคดีนั้นเอาไว้พิจารณาทีหลัง หากเราบาดเจ็บเล็กน้อยและไม่มีพยานในที่เกิดเหตุเราควรจดทะเบียนรถไว้ เผื่อไปเรียกร้องค่าเสียหายที่หลัง


3 ถ้าท่านเป็นผู้ขับ

กรณีนี้อย่าหนีเป็นอันขาดเพราะความผิดฐานขับรถประมาทนั้นไม่ใช่เรื่องเจตนา ผู้กระทำผิดไม่ใช่อาชญากร โทษก็ไม่มากมายอะไรควรจะอยู่เพื่อต่อสู้กับความจริง มิฉะนั้นท่านจะต้องหลบหนีนานถึง 15 ปี ถ้าท่านขับรถชนคนเสียชีวิต แต่ถ้าท่านมอบตัวสู้คดีบางทีท่านก็ไม่มีความผิด หรือมีความผิดศาลก็ปรานีลดโทษให้ ถ้าท่านมีน้ำใจ

หน้าที่ของคนขับรถเมื่อเกิดรถชนกันนั้น กฎหมายกำหนดดังนี้
3.1 ต้องหยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควร เช่น ขับรถชนคนก็ต้องหยุดรถช่วยเหลือคนที่ถูกชน นำส่งโรงพยาบาล
3.2 ต้องไปแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันที คือต้องรีบแจ้งตำรวจใกล้เคียงทันที แต่ต้องบอกด้วยว่าเราเป็นคนขับรถอะไร
3.3 แจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล ที่อยู่หมายเลขทะเบียนรถแก่ผู้เสียหาย
3.4 ถ้าเป็นผู้ขับขี่ที่หลบหนีหรือไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กฎหมายให้สันนิษฐานว่าเป็นผู้กระทำผิดและตำรวจมีอำนาจยึดรถไว้จนกว่าจะได้ตัวผู้ขับขี่หรือจนกว่าคดีจะถึงที่สิ้นสุด
3.5 ถ้าคนขับคนใดไม่ปฏิบัติตามกฎข้อ 1, 2 และ 3 แล้วจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท แต่ถ้าคนที่ถูกชนบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิตต้องจำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท
 
4 ถ้ารถท่านมีประกันก็ต้องรีบแจ้งต่อบริษัทประกันทันที

เพราะบริษัทประกันจะมีเจ้าหน้าที่มาตามที่เกิดเหตุ พร้อมกับทำแผนที่เกิดเหตุไว้พร้อมเพื่อเอาไว้สู้คดี

5 ถ้ามีกล้องถ่ายรูปต้องรีบถ่ายรูปรถไว้ทันที

นอกจากนี้ยังต้องถ่ายรายละเอียดต่างๆไว้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นสถานที่เกิดเหตุ ความเสียหายตามจุดต่างๆของรถ รวมถึงรถของคู่กรณี หรือหากว่ามีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุก็ให้ขอรูปจากมูลนิธิที่ทำการเก็บภาพไว้เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อรูปคดีในภายหลัง


6 ควรช่วยเหลือคนเจ็บ หรือค่าทำศพของผู้เสียชีวิต

เรื่องนี้สำคัญมากๆคนขับรถมักไม่ค่อยเห็นประโยชน์ ของการช่วยเหลือเหล่านี้ความจริงเมื่อคุณขับรถชนคนเสียชีวิต หรือบาดเจ็บหรือขับรถโดยประมาทนั้นมีโทษทางอาญฟา


- ทางอาญา คุณอาจจะต้องรับโทษจำคุก

- ทางแพ่ง คุณจะต้องชดเชยค่าเสียหายค่าบาดเจ็บ ค่าทำศพให้กับคู่กรณี หากคุณช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ไม่ชนแล้วหนี ต่อมาเมื่อเรื่องถึงศาล ศาลก็จะเห็นถึงความมีน้ำใจของคุณก็อาจจะรอลงอาญาให้เราโดยไม่จำคุกเรา แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าคุณหนีศาลมักจะให้จำคุกเลยเพราะเห็นว่าคุณเป็นคนแล้งน้ำใจ การตกลงใช้ค่าเสียหายให้คนเจ็บก็มีประโยชน์มาก


ยกตัวอย่างเช่นถ้าไม่พยายามตกลงใช้ค่าเสียหายให้กับคนเจ็บ ตำรวจเขาจะมีระเบียบไว้ว่าไม่ให้คืนของกลางให้แก่ผู้ต้องหาจนกว่าผู้ต้องหาจะพยายามตกลงกับผู้เสียหายและถ้าคุณยอมชดเชยค่าเสียหายและค่าทำศพให้กับผู้เสียหาย คดีแพ่งก็ระงับเพราะถือว่ายอมความคดีแพ่งกันแล้ว จะฟ้องเรียกค่าเสียหายคุณในทางแพ่งไม่ได้อีกแล้ว

ทั้งนี้การใช้รถใช้ถนนร่วมกันให้ดีขึ้นนั้น เราทุกคนควรขับรถอย่างมีสติไม่ประมาทและมีน้ำใจให้แก่กัน เพียงเท่านี้อุบัติเหตุก็จะไม่เกิดขึ้นแล้ว

ข้อมูลจากหนังสือ เชฟวี่ ทอล์ค
 
ทั้งนี้ เทสคาร์ จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เทสคาร์จะไม่แนะนำว่า รถที่นำมาตรวจนั้น ควรซื้อหรือไม่ควรซื้อ เนื่องจากการตัดสินใจเป็นหน้าที่ของผู้บริโภค แต่ผู้บริโภคที่นำรถมาตรวจและตัดสินใจซื้อรถคันดังกล่าว ทางเทสคาร์ รับประกันผลการตรวจเป็นเวลา 2 เดือนหรือ 2,000 กม. (แล้วแต่สิ่งใดจะถึงก่อน) หากสิ่งที่เทสคาร์ตรวจแล้วได้ผลว่าผ่าน กลับเกิดอาการเสียภายในระยะประกัน ลูกค้าสามารถนำรถมาเข้ารับการซ่อมแซมอาการเสียดังกล่าวได้ฟรี (เทสคาร์ ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการซ่อมและจะส่งรถของท่านไปซ่อมยังที่ที่เทสคาร์กำหนด)
 
108 วิธีโจรกรรม "รถยนต์" ที่คุณต้องรู้!!!

ในสถานการณ์บ้านเมืองไม่ค่อยจะสู้ดีนัก บวกกับราคาน้ำมันที่ขึ้นลงยิ่งกว่าหุ้น ทำให้ใครที่คิดจะถอยรถป้ายแดงมาสักคันหนึ่ง คงต้องคิดให้รอบคอบมากกว่าเดิมเป็นสิบเท่าร้อยเท่า

แล้วถ้าใครมั่นใจว่าการออกรถรถคันใหม่ไม่ใช่ปัญหา คงต้องระมัดระวังกันต่อเรื่องการโจรกรรมที่เพิ่มสูงขึ้นทุกวัน ยิ่งเป็นยี่ห้อเป็นสีรถที่ตรงกับ "ใบสั่ง" ด้วยล่ะก็ต่อให้ล็อก 10 ขึ้นตอน

หรือใช้ระบบไฮเทคขนาดไหนก็ไม่มีทางรอดพ้นเงื้อมมือของพวกนักโจรกรรมรถยนต์ไปได้

มีสารพัดวิธีที่พวกหัวขโมยเหล่านี้สรรหามาล่อหลอกให้เจ้าของรถทั้งหลายได้เจ็บใจ ดังนั้นเราจึงต้องรู้ทันก่อนที่จะเสียรู้คนพวกนี้...ข้อมูลบางส่วนที่นำเสนอนั้นมาจากศูนย์ป้องกันและปราบ

ปรามการโจรกรรมรถ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปร.ตร.)

ที่สำคัญเมื่อ "รถหาย" จึงแม้ว่าจะตกใจแทบบ้าคุณก็ควรมีสติไม่ใช่โทรฟ้องพ่อแม่หรือกิ๊ก แต่ให้รีบแจ้งรายละเอียด แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุทราบโดยเร็ว หรือโทรหมายเลขพิเศษ

"1192" ของ(ศปร.ตร.) ตลอด24ชั่วโมง เพื่อความรวดเร็วในการติดตามสกัดจับคนร้าย และเพื่อความรวดเร็วในการกระจายข่าวสาร, ข้อมูลของรถที่ถูกโจรกรรม ไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง

คือ ตำรวจทางหลวง, ตำรวจตระเวนชายแดน, ตำรวจภูธรภาค 1-9, กองบัญชาการตำรวจนครบาล, สถานีตำรวจภูธรตามแนวชายแดน, กองกำลังบูรพา, กองกำลังป้องกันชายแดน จันทบุรีและ

ตราด

**จอดรถต้องระวัง**

การจอดรถไม่ว่าจะจอดในที่ ส่วนบุคคล ที่สาธารณะ แม้จอดทิ้งไว้ ระยะสั้นหรือ นานเพียงใด เพื่อไปทำธุระ หรือทำงาน ก็ตาม ไม่ควร จอดไว้ห่างไกล ควรมีคนเฝ้า ดูแลหรือยาม รปภ.

ก่อนทิ้งรถ ควรไปตรวจสอบ การล็อคกุญแจประตู และใช้ อุปกรณ์ กันขโมย ให้ครบถ้วน อย่าทิ้งทรัพย์สิน สิ่งของมีค่า ไว้ในรถล่อตาคนร้าย

บางครั้งรถไม่หายแต่ของหาย ข้อควรระวังในการจอดที่สำคัญก็คืออย่าจอดรถทิ้งไว้ค้างคืนบนถนน ไม่ว่าจะมีเครื่องป้องกันการโจรกรรมรถชนิดใดก็ตาม และอย่าทิ้งกุญแจรถไว้ที่รถ เมื่อ

จอดรถลงไปทำธุระไม่ว่ากรณีใดก็ตาม
 

กรุณาปิด โปรแกรมบล๊อกโฆษณา เพราะเราอยู่ได้ด้วยโฆษณาที่ท่านเห็น
Please close the adblock program. Because we can live with the ads you see
ด้านบน